กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการคัดแยกขยะเพื่อชุมชนสะอาด ปราศจากโรคภัยและการผลิตหัวเชื้อหมักเศษอาหารจากครัวเรือนเพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์ โรงเรียนเทศบาล 6 (วัดเมืองยะลา) (ประเภทที่ 2)

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดแยกขยะเพื่อชุมชนสะอาด ปราศจากโรคภัยและการผลิตหัวเชื้อหมักเศษอาหารจากครัวเรือนเพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์ โรงเรียนเทศบาล 6 (วัดเมืองยะลา) (ประเภทที่ 2)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

โรงเรียนเทศบาล 6 (วัดเมืองยะลา)

โรงเรียนเทศบาล 6 (วัดเมืองยะลา)

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สืบเนื่องจากการที่รัฐบาลได้กำหนดนโยบายเร่งด่วนในการจัดการขยะและจัดทำแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ.2559-2564) ในการจัดการขยะมูลฝอย เพื่อเป็นการสร้างจิตสำนึก และรณรงค์การคัดแยกขยะประเภทขยะมูลฝอยที่ต้นทางให้แก่นักเรียนและเยาวชนในโรงเรียนทุกแห่งในประเทศ ซึ่งขยะมูลฝอย ขยะหรือของเสีย แบ่งเป็น มูลฝอยธรรมดาทั่วไป ได้แก่ มูลฝอยสด เศษอาหาร กระดาษ โฟม พลาสติก ขวด แก้ว โลหะ ฯลฯ และของเสียอันตราย ได้แก่ มูลฝอยติดเชื้อ กากสารเคมี สารเคมีกำจัดแมลง กากน้ำมัน หลอดฟลูออเรสเซนต์ และแบตเตอรี่ใช้แล้ว ซึ่งจะเป็นแหล่งกำเนิดของเสียที่สำคัญ ได้แก่ ชุมชน โรงงานอุตสาหกรรมและพื้นที่เกษตรกรรม ปริมาณขยะมูลฝอยดังกล่าว ส่งผลให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม ขยะที่เกิดขึ้นทำให้เกิดปริมาณมูลฝอยตกค้าง ตามสถานที่ต่าง ๆ หรือมีการนำไปกำจัดโดยวิธีกองบนพื้นซึ่งไม่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม ได้แก่ อากาศเสีย น้ำเสียมูลฝอยตกค้างบนพื้นจะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของหนูและแมลงวันซึ่งเป็นพาหะนำโรคติดต่อทำให้มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน รวมถึงเกิดเหตุรำคาญและความไม่น่าดู จากการเก็บขยะมูลฝอยไม่หมดทำให้เกิดกลิ่นเหม็นรบกวน
โรงเรียนเทศบาล 6 (วัดเมืองยะลา) ได้ดำเนินการคัดแยกขยะภายในบริเวณโรงเรียน มีการจัดการเศษอาหารถูกสุขลักษณะและเกิดประโยชน์รักษาสภาพแวดล้อมและลดโรคที่มาจากขยะและได้ขยายเครือข่ายโดยการให้ความรู้ไปสู่วัดเมืองยะลา ชุมชนหลังวัดเมืองยะลา และชุมชนเวฬุวัน ไปด้วยแล้วในบางส่วนซึ่งก็ยังไม่ทั่วถึงไปในชุมชน และขณะนี้ในส่วนของเศษอาหารจากโรงอาหารของโรงเรียนมีเศษอาหารจากเฉลี่ย 30 กิโลกรัมต่อวัน ใบไม้เฉลี่ย 50 กิโลกรัมต่อวัน และจากตลาดผังเมือง 4โรงเรียนได้ดำเนินการผลิตหัวเชื้อหมักเศษอาหารจากครัวเรือนเพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อใช้ในการปลูกพืชผักสวนครัวหรือใช้ประโยชน์ทางการเกษตร ไม่ต้องใช้ปุ๋ยที่เป็นพิษกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งโรงเรียนเทศบาล 6 (วัดเมืองยะลา) ได้ทำการทดลองและใช้ปลูกผักเป็นแปลงสาธิต ปลูกผักสวนครัวส่งขายโรงอาหารของโรงเรียนเป็นประจำ นักเรียนได้บริโภคผักปลอดสารพิษลดโรคจากสารเคมี เพื่อให้การคัดแยกขยะ
โรงเรียนเทศบาล 6 (วัดเมืองยะลา) จึงจัดทำโครงการคัดแยกขยะเพื่อชุมชนสะอาด ปราศจากโรคภัยและการผลิตหัวเชื้อหมักเศษอาหารจากครัวเรือนเพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ชุมชนหลังวัดเมืองยะลา และชุมชนเวฬุวัน มีความรู้เกี่ยวกับขยะประเภทต่างๆ ปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากขยะ วิธีการลดปริมาณขยะ การคัดแยก การนำกลับมาใช้ใหม่การกำจัดขยะอย่างถูกวิธี รวมทั้งขยะในชุมชนมีปริมาณลดลง จากการที่นักเรียน ผู้ปกครองและประชาชนนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติคัดแยกขยะจากต้นทางและร่วมกิจกรรมในโครงการคัดแยกขยะเพื่อชุมชนสะอาด ปราศจากโรคภัย และสามารถนำหัวเชื้อหมักเศษอาหารจากครัวเรือนเพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้ในครัวเรือนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้นักเรียน ผู้ปกครองและประชาชนในชุมชนรู้จักวิธีการคัดแยกขยะประเภทต่าง ๆ ได้ การผลิตและใช้ หัวเชื้อหมักเศษอาหาร

ข้อที่ 1 ร้อยละ 100 ของนักเรียน ผู้ปกครอง และประชาชนได้รู้จักวิธีการคัดแยกขยะประเภทต่างๆ และการผลิตและใช้หัวเชื้อหมักเศษอาหารได้

0.00
2 2. เพื่อสร้างความตระหนักให้นักเรียน ผู้ปกครองและประชาชนรู้จักการสร้างสภาพแวดล้อมในชุมชนที่ดี และปราศจากโรคระบาด

ข้อที่ 2 ชุมชนมีนโยบายหรือมาตรการด้านการจัดการขยะที่ถูกต้อง รู้จักการสร้างสภาพแวดล้อมในชุมชนที่ดี และปราศจากโรคระบาด

0.00
3 3. เพื่อปลูกฝังสร้างจิตสำนึกในการลดขยะจากครัวเรือน

 

0.00
4 4. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียน ผู้ปกครองและประชาชนในชุมชนมีสุขภาพ อนามัยที่ดี จากการบริหารจัดการขยะที่ดีของชุมชน และการปลูกผักปลอดสารพิษในครัวเรือนจากปุ๋ยอินทรีย์

ข้อที่ 3 ร้อยละ 80  ของผู้ปกครองและประชาชนที่มีพฤติกรรมแยกขยะและการใช้หัวเชื้อหมักเศษอาหารที่ถูกต้อง (ครัวเรือน)

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 160
กลุ่มวัยทำงาน 100
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะและการผลิตหัวเชื้อหมักเศษอาหารจากครัวเรือนเพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์แก่นักเรียน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะและการผลิตหัวเชื้อหมักเศษอาหารจากครัวเรือนเพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์แก่นักเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
27400.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะและใช้หัวเชื้อหมักเศษอาหารจากครัวเรือนเพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์แก่ผู้ปกครอง และประชาชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะและใช้หัวเชื้อหมักเศษอาหารจากครัวเรือนเพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์แก่ผู้ปกครอง และประชาชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
28846.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3 สรุปผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 สรุปผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 56,746.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียน ผู้ปกครองและประชาชนในชุมชนรู้จักวิธีการคัดแยกขยะประเภทต่างๆ และการใช้ประโยชน์จากเศษอาหารในครัวเรือน
2. นักเรียน ผู้ปกครองและประชาชนมีความตระหนักรู้จักการสร้างสภาพแวดล้อมในชุมชนที่ดี และปราศจากโรคระบาด
3. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียน ผู้ปกครองและประชาชนในชุมชนมีสุขภาพ อนามัยที่ดี จากการบริหารจัดการขยะที่ดีของชุมชน และส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษในครัวเรือนจากปุ๋ยอินทรีย์


>