กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาโงยซิแน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการให้ความรู้ด้านสุขภาพ และขลิบหนังหุ้มอวัยวะเพศชาย ในมุสลิม ตามหลักปลอดเชื้อ ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาโงยซิแน

มัสยิดดารุสซาลาม

นายมูฮำมัด สูแป 0892992964
นายมะซูยี สะบาหานาเล๊าะ
นาย อับดุลเล๊าะ ปูแล
นายอิบรอเฮง สารง
นายอับดุลเลาะ มาแต

ตำบลบาโงยซิแน อำเภอยะหา จังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนเยาวชนชายมุสลิมที่ขลิบปลายหุ้มหนังอวัยวะเพศ ถูกต้องตามหลักการแพทย์(คน)

 

60.00

การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย เป็นแนวปฏิบัติที่ต้องกระทำเพื่อการรักษาความสะอาด รวมทั้งช่วยป้องกันและลดปัญหาการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ จากงานวิจัยพบว่าการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย สามารถลดความเสี่ยงการติดเชื้อHIV ได้ร้อยละ 50-60 เนื่องจากผิวหนังบริเวณนี้ จะมีต่อมซึ่งจะสร้างสารที่เรียกว่า smegmaหรือขี้เปียก หากมีหนังหุ้มไม่สามารถเปิดออกล้างได้ จะทำให้สารดังกล่าวคั่ง ซึ่งจะก่อให้เกิดกลิ่น การติดเชื้อ รวมเกิดมะเร็งที่องคชาติได้ (นพ.อนุพงศ์ ชิตวรากร) นอกจากนี้การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย ผู้ขลิบจะลดโอกาสเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น ซิฟิลิส แผลริมอ่อน และลดความเสี่ยงของมะเร็งองคชาติ และถ้าหากขลิบในเด็กทารก ก็จะลดโอกาสเกิดการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะในเด็กได้ด้วย ผู้หญิงที่เป็นคู่ของผู้ชายที่ขลิบจะลดความเสี่ยงของการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และลดอัตราเสี่ยงการเกิดมะเร็งปากมดลูกด้วย จากบริบทพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ พบว่า การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย หรือ “คีตาล" (ภาษาอาหรับ) หรือ “ทำสุนัต” (ภาษามลายู) มักทำกับหมอบ้าน หรือ “โต๊ะมูเด็ง” จากความเชื่อและประเพณีของชุมชน โดยผู้ปกครองเด็กเชื่อว่า “การทำกับแพทย์จะทำให้อวัยวะเพศไม่แข็งแรง” “การทำกับโต๊ะมูเด็งเป็นประเพณีที่คนเฒ่าคนแก่เคยทำกัน” เป็นต้น ซึ่งที่ผ่านมาพบว่า การทำสุนัตกับโต๊ะมูเด็งมักจะมีเหตุการณ์เลือดออกมาก (bleeding) ทำให้เกิดภาวะช็อคหรือการติดเชื้อ เช่น ติดเชื้อตับอักเสบ เชื้อ HIV จากการใช้เครื่องมือร่วมกันโดยไม่ได้ล้างทำความสะอาดอย่างถูกวิธี ดังนั้น มัสยิดดารุสซาลาม ตำบลบาโงยซิแน ซึ่งเป็นมัสยิดกลางประจำตำบลบาโงยซิแนได้เล็งเห็นความสำคัญของการทำขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายหรือสุนัตในกลุ่มเด็กและเยาวชน โดยแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ที่มีความรู้ ทักษะด้านการขลิบหนังหุ้มปลายแบบปราศจากเชื้อ เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้รับบริการที่ปลอดภัยและมีคุณภาพยิ่งขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนชายมุสลิมขลิบปลายหุ้มหนังอวัยวะเพศ ถูกต้องตามหลักการแพทย์

จำนวนเยาวชนชายมุสลิมที่ขลิบปลายหุ้มหนังอวัยวะเพศ ถูกต้องตามหลักการแพทย์(คน)

60.00 60.00
2 บริการทำการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายแก่เด็กและเยาวชนในพื้นที่ตำบลบาโงยซิแน เพื่อลดภาวะเสี่ยงการติดเชื้อ และภาวะออกเลือดมาก (bleeding)

ลดภาวะเสี่ยงการติดเชื้อ และภาวะออกเลือดมาก (bleeding) ร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมาย

60.00 60.00
3 เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพป้องกันโรคโดยเฉพาะโรคติดเชื้อ

1.ร้อยละ 80 ผู้ปกครอง และเด็ก มีความรู้ ความเข้าใจ ในโรคติดเชื้อ 2.ร้อยละ 100 ผู้ปกครองและเด็ก มีความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลแผลเข้าสุนัตได้ดี

120.00 120.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60
กลุ่มวัยทำงาน 60
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การเตรียมความพร้อม และหากลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
การเตรียมความพร้อม และหากลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมชี้แจงโครงการแก่แกนนำ ทุกหมู่บ้าน จำนวน 30 คน
  2. รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ เพื่อหากลุ่มเป้าหมาย โดยใช้สื่อไวนิลเสียงตามสาย และ เคาะประตูบ้าน
  3. ประสานหาทีมแพทย์ พยาบาล สาธารณสุข เพื่อให้มาดำเนินการทำขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ
  4. รับสมัครผู้เข้าร่วมกิจกรรม
  5. จัดทำแผนปฏิบัติการ

ค่าใช้จ่าย
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมจำนวน 30 คน* 25 บาท* 1 มื้อ เป็นเงิน 750 บาท
- ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์ขนาด 1*3 เมตร จำนวน 6 ผืนๆละ 800 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท
รวม 5,550 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-ได้กลุ่มเป้าหมายในการเข้าร่วมโครงการ จำนวน 60 คน -ผู้รับบริการ ปลอดภัยจากการขลิบขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ และปลอดเชื้อ ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5500.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพ (การป้องกันโรคติดต่อ) แก่เด็กและเยาวชนเป้าหมาย รวมทั้งผู้ปกครองเพื่อให้เกิดความตระหนักในการป้องกันโรค

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพ (การป้องกันโรคติดต่อ) แก่เด็กและเยาวชนเป้าหมาย รวมทั้งผู้ปกครองเพื่อให้เกิดความตระหนักในการป้องกันโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดหาวัสดุ กลุ่มเป้าหมาย และเตรียมสถานที่
2. ประสานหาวิทยากร
3. จัดอบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพ (การป้องกันโรคติดต่อ) แก่เด็กและเยาวชนเป้าหมาย รวมทั้งผู้ปกครองแกนนำเพื่อให้เกิดความตระหนักในการป้องกันโรค จำนวน 120 คน จำนวน 1 วัน
ค่าใช้จ่าย
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท* 120 คน* 2 มื้อ เป็นเงิน 6,000 บาท
-ค่าอาหารกลางวัน 70 บาท* 120 คน* 1 มื้อ เป็นเงิน 8,400 บาท
-ค่าสมนาคุณวิทยากร ชั่วโมง 600 บาท* 4 ชม. เป็นเงิน 2,400 บาท
-ค่าวัสดุในการอบรมและจัดกิจกรรม (ค่าเอกสาร สมุด ปากกา แฟ้ม เป็นต้น) เป็นเงิน 6,000 บาท

รวม 22,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้ปกครอง และเด็ก มีความรู้ ความเข้าใจ ในโรคติดเชื้อร้อยละ 80
2.ผู้ปกครองและเด็ก มีความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลแผลเข้าสุนัตได้ดีร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
22800.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย (Circumcision) ตามหลักปลอดเชื้อ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย (Circumcision) ตามหลักปลอดเชื้อ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย (Circumcision) ตามหลักปลอดเชื้อ
ค่าใช้จ่าย
-ค่าตอบแทนบุคลากรทางสาธารณสุขในการทำขลิบปลายอวัยวะพร้อมอุปกรณ์ (เหมาจ่ายต่อเคส) จำนวน 60 คนๆ 800 บาท เป็นเงิน 48,000 บาท
-ค่าวัสดุผ้าเพื่อใช้เปลี่ยนในการทำหัตถการ จำนวน ุ60 ผืนๆละ 80 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท
รวม 52,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1 มีผู้เข้ารับการขลิบอวัยวะเพศชาย จำนวน 60 คน
2 ลดภาวะเสี่ยงการติดเชื้อ และภาวะออกเลือดมาก (bleeding) ร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
52800.00

กิจกรรมที่ 4 สรุปผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดประชุม เพื่อถอดบทเรียน และสรุปผลการดำเนินงาน
  2. จัดทำรูปเล่มสรุป ส่งกองทุน
    ค่าใช้จ่าย

- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คน* 25 บาท* 2 มื้อ เป็นเงิน 1,500 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 30 คน* 70 บาท เป็นเงิน 2,100 บาท
รวม 3,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการประชุม เพื่อถอดบทเรียน จำนวน 1 ครั้ง
มีรูปเล่มสมบูรณ์ และถ่ายสำเนาส่ง กองทุน ตามเวลา

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 84,700.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

เด็กและเยาวชนมุสลิม ได้รับการเข้าสุนัต (ขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย) สามารถลดภาวะเสี่ยงของการออกเลือด (bleeding) ภาวะแทรกซ้อน และการติดเชื้อ รวมทั้งสร้างความตระหนักแก่ผู้ปกครอง ชุมชน ในการป้องกันโรคติดเชื้อ


>