กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสร้างสุขภาวะด้วยการกำจัดขยะปรับปรุงสิ่งแวดล้อม ป้องกันโรค ตำบลโคกม่วง ประจำปีงบประมาณ 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง

ชมรมกำนัน ผู้ใหญ่บ้านตำบลโคกม่วง

1.นายเจริญศักดิ์ชูสง
2. นางสาวภณาชูเก็น
3. นางสุพิศ เรืองพุทธ
4. นายกอเร็ต อะยีหวันเหยง
5. นายสมศักดิ์รามทิพย์

ตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โดยทางชมรมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ตำบลโคกม่วงเป็นแกนนำในการขับเคลื่อนกิจกรรมในครั้งนี้ต.โคกม่วงมีพื้นที่ทั้งหมด 42,500 ไร่มีหมู่บ้านทั้งหมด 15 หมู่บ้านมีครัวเรือนทั้งหมด3,510 ครัวเรือนมีประชากรรวม 10,371 คนมีโรงเรียน 5 โรงเรียนมีวัด 4 วัดมีมัสยิด 7มัสยิด มีครัวเรือนที่คัดแยกขยะได้ 822 ครัวเรือนแต่ยังไม่มีความรู้ในการนำขยะมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างเป็นจริง ร้อยละ7.93%ของครัวเรือนทั้งตำบล มีโรงงานน้ำยางพารา 6 โรง พบว่าแต่ละวันมีปริมาณขยะจำนวน 10.5 ตันต่อวัน 291 ตันต่อเดือนขยะที่เกิดขึ้นทั้งตำบลมี 4 ประเภทขยะอินทรีย์ 63%ขยะรีไซเคิล30%ขยะอันตราย4%ขยะทั่วไป3% มีประชาชนอุจจาระร่วง271 รายไข้เลือดออก 28 ราย หอบหืด 37 ราย โรคตาแดง 55 ราย ฉี่หนู 2 ราย ดังนั้น หากมีการจัดการขยะมูลฝอยที่มีประสิทธิภาพ การจัดการขยะอย่างเหมาะสม ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะ มีการนำกลับมาใช้ประโยชน์ โดยมีการสร้างแกนนำให้ความรู้ในการคัดแยกขยะ ทางชมรมกำนัน ผู้ใหญ่บ้านตำบลโคกม่วง จึงมีความต้องการที่จะส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการคัดแยกขยะที่ต้นทางเพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจการลด คัดแยก นำขยะกลับไปใช้ประโยชน์ และเสริมสร้างศักยภาพให้กับแกนนำ เน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการจัดการขยะมูลฝอยอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อจะได้สร้างชุมชนให้เข้มแข็ง และเป็นชุมชนต้นแบบในการจัดการขยะมูลฝอยต่อไป จากการลงพื้นที่สร้างการมีส่วนร่วมการจัดการขยะ ที่ผ่านมายังคงมีปัญหาในเรื่องการจัดการขยะอยู่โดยเฉพาะขยะทั่วไปที่เป็นปัญหาในการจัดกการ จึงเป็นความคิกเห็นร่วมกันว่าด้วยการจัดการขยะให้เป็นศูนย์ ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนตำบลโคกม่วงได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ความสามารถปฏิบัติการการจัดการขยะในครัวเรือนได้ทุกประเภท

กลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับการอบรมมีความรู้ สามารถจัดการขยะทุกประเภทไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐

100.00 50.00
2 เพื่อลดปริมาณขยะของกลุ่มเป้าหมายได้ทั้ง ๑๕ หมู่บ้านและสามารถนำขยะไปใช้ประโยชน์ได้และมีแหล่งกำจัดขยะทั่วไปในชุมชนด้วยเตาเผาขยะอิฐเต็มก้อน

ปริมาณขยะของกลุ่มเป้าหมายในชุมชนลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐

100.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 375
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานตัวแทนจาก 15 หมู่บ้านๆละ 2 คน สำหรับ ครู ก และเรียนรู้การกำจัดขยะด้วยเตาเผาขยะอิฐเต็มก้อน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานตัวแทนจาก 15 หมู่บ้านๆละ 2 คน สำหรับ ครู ก และเรียนรู้การกำจัดขยะด้วยเตาเผาขยะอิฐเต็มก้อน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าวิทยากร 3 ชมๆละ 300 บาท=900 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 30 คน=750 บาท -ค่าป้ายไวนิลโครงการ 400 บาท -ค่าวัสดุอื่นๆ 75 บาท -รวม 2,125 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
28 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ตัวแทนจาก 15 หมู่บ้านๆละ 2 คน เข้าร่วมประชุมเพื่อการขับเคลื่อนงานตามแผนโครงการ เกิด ครู ก และเรียนรู้การกำจัดขยะด้วยเตาเผาขยะอิฐเต็มก้อน สามารถนำไปปฏิบัติในพื้นที่ได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2125.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้ สาธิตการจัดการขยะ สร้างการเรียนรู้ระดับหมู่บ้านให้กับครัวเรือนนำร่อง จำนวน 375 คน โดยครู ก และการจัดการขยะด้วยเตาเผาขยะอิฐเต็มก้อน จำนวน 15 หมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ สาธิตการจัดการขยะ สร้างการเรียนรู้ระดับหมู่บ้านให้กับครัวเรือนนำร่อง จำนวน 375 คน โดยครู ก และการจัดการขยะด้วยเตาเผาขยะอิฐเต็มก้อน จำนวน 15 หมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 375 คน = 9,375 บาท -ค่าวัสดุเตาเผาขยะอิฐเต็มก้อน 20,000 บาท
  • ค่าถังขยะเปียก 7,000
  • รวม 36,375 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดการเรียนรู้ครัวเรือนนำร่อง  จำนวน 375 คน เกิดการจัดการขยะด้วยเตาเผาขยะอิฐเต็มก้อน จำนวน 15 หมู่บ้าน
ทั้ง 15 หมู่บ้านสามารถจัดการขยะได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
36375.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมติดตามประเมินโครงการ ครัวเรือนนำร่องทั้ง 15 หมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมติดตามประเมินโครงการ ครัวเรือนนำร่องทั้ง 15 หมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าเอกสารการเก็บข้อมูล 15 หมู่บ้านๆละ 100 บาท เป็นจำนวนเงิน 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คณะทำงานติดตามประเมินโครงการ ครัวเรือนนำร่องทั้ง 15 หมู่บ้าน เกิดผลลัพธ์จากกการดำเนินโครงการจากการสรุปผลโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 40,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนในตำบลโคกม่วง มีความรู้ในการจัดขยะในครัวเรือนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80% ของกลุ่มเป้าหมาย
2.ลดปริมาณขยะและเสริมสร้างความรู้ในเรื่องการคัดแยกขยะและมีแหล่งทำลายขยะในชุมชนที่ถูกต้องเหมาะสมทุกประเภท
3.มีรูปแบบการจัดการขยะโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดำเนินงาน
4.ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการเกิดโรคจากขยะในชุมชนได้
5.ปริมาณขยะในชุมชนลดลง


>