กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนสตอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชุมชนควนสตอร่วมใจต้านภัยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(ความดันโลหิตสูงและเบาหวาน)ปีงบประมาณ2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนสตอ

อสม.โรงพยาบาลควนโดน

1.นายยาหมาย หลีเยาว์
2.นายฮาหนร ปะดุกา
3.นายดาแนล หมาดมาสัน
4.นายชาฝีอี หลีมานัน
5.นางปทุมวดี หลีเยาว์
6.นางสะยะ เหมสลาหมาด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันประเทศไทยทีการเปลี่ยนแปลง ทั้งด้านความเจริญทางเทคโนโลยี วัตถุ สังคม การเมืองและเศรษฐกิจ รวมไปถึงลักษณะของประชากรและภาวะสุขภาพ วิทยาการทางการแพทย์เจริญขึ้นสามารถให้การรักษาโรคได้มากขึ้น ทำให้ปัจจุบันประเทศไทยเปลี่ยนเป็นสังคมของผู้สูงอายุและเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเพิ่มขึ้น(จากข้อมูลสถิติรายงานการปาวยของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์พบว่าในปี 2563 มีผู้ป่วยโรคระบบไหลเวียนเลือดเพิ่มขึ้น 1.71 เท่า และโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น 1.45 เท่าของปี 2551)และการเปลี่ยนแปลงทางสังคมยังส่งผลกระทบต่อปัญหาการดำเนินชีวิตและภาวะสุขภาพในระยะยาวการคัดกรองภาวะสุขภาพประชาชน เป็นการค้นหา เฝ้าระวังป้องกันโรค ลดภาวะแทรกซ้อนของโรคเรื้อรังต่างๆ เช่นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือดโรคไขมัน เป็นต้น รวมทั้งเป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดโรคเรื้อรังเบื้องต้น จากข้อมูลผู้ป่วยด้วยโรคเรื้อรังในเขตตำบลควนสตอ ปี 2562 พบว่ามีผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 335 ราย ผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 159 รย แนวโน้มว่าจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกปี ถ้าไม่ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะสุขภาพและได้รักษาที่ถูกต้องเหมาะสมสุขภาพดีเริ่มต้นที่นี่ เริ่มต้นที่การตระหนักรู้สถานะสุขภาพของตนเอง ซึ่งถือเป็น สิ่งสำคัญจะทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยง ลดการเกิดโรค ตั้งแต่เริ่มแรก เช่น หากคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูงแล้วพบว่า อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ก็จะสามารถป้องกันการป่วยเป็นโรคหรือลดระดับการรุนแรงของโรคดังกล่าวให้ลดลงได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เป็น ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคการดำเนินงานของ อสม. สร้างสุขภาพ รู้ตน ณุ้เสี่ยง ลดโรค ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เป็นแนวทางในการปฏิบัติการสร้างสุขภาพที่ดี เริ่มตั้งแต่การที่ อสม. รู้สถานะสุขภาพของตนเอง และประชาชนในเขตรับผิดชอบ ซึ่งทำได้ง่ายๆ ด้วยการหมั่นสังเกตุการเปลี่ยนแปลงของร่างกายโดยการวัดต่างๆ ที่วัดได้ง่ายก่อนได้แก่ น้ำหนัก ส่วนสูง รอบเอว และการวัดระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือด รวมทั้งสังเกต พฤติกรรมเสี่ยง 7 ประเด็น จากนั้นมีกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3อ2ส.(อาหรา ออกกำลังกาย อารมณ์ ไม่สูบบุหรี่ และไม่ดื่มสุรา) ด้วยความมุ่งมั่น ตั้งใจ มีเจตนารมณ์ที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อสร้างสุขภาพที่ดีขึ้น โดยอาศัยการมีส่วนร่วมและความร่วมมือของคนในครอบครัวและชุมชน ด้วยการชักชวนกันมาออกกำลังกาย รับประทานอาหราที่มีประโยชน์มีกิจกรรมสันทนาการ ผ่อนคลาย อารมณ์ ไม่เครียด รวมทั้งให้กำลังใจแก่ผู้ที่อดบุหรี่ หรือ งดดื่มสุรา เป็นต้น และการส่งเสริมสนับสนุน ให้อสม. ต้นแบบและองค์กร อสม. ต้นแบบในการสร้างสุขภาพเพื่อเป็นต้นแบบที่ดีให้แก่ประชาชน ในชุมชนต่อไป ชมรม อสม.โรงพยาบาลควนโดนจึงได้จัดทำโครงการชุมชนควนสตอร่วมใจต้านภัยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(ความดันโลหิตสูงและเบาหวาน) ปี 2564

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยง/ป่วยจากการตรวจคัดกรองและเฝ้าระวังภาวะสุขภาพของประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปต่อโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวาน

ร้อยละผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ร้อยละผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 500
กลุ่มผู้สูงอายุ 268
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการชุมชนควนสตอร่วมใจ ต้านภัยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (ความดันโลหิตสูง,เบาหวาน)ปี 2564

ชื่อกิจกรรม
โครงการชุมชนควนสตอร่วมใจ ต้านภัยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (ความดันโลหิตสูง,เบาหวาน)ปี 2564
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-จัดกิจกรรมให้ความรู้โรคความดันโลหิตสูงเบาหวาน/ตรวจคัดกรองและเฝ้าระวังภาวะสุขภาพประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไปทุกคน -ค่าตอบแทนวิทยากร(ไม่เบิก) -ค่าจัดทำแบบฟอร์มบันทึกการตรวจทะเบียนแยกกลุ่มใบส่งต่อเป็นเงิน 1,000 บาท -ค่าจัดทำแผ่นพับความรู้การปฏิบัติตัว เป็นเงิน 2,000 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 768 คนๆละ 25 บาท เป็นเงิน 19,200 บาท

-ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปที่มีความเสี่ยงสูงต่อโรคความดันโลหิตสูงทุกคนได้รับการติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้าน จำนวน 1 สัปดาห์/คน และส่งต่อในรายการที่ผิดปกติเพื่อรับการวินัจฉัยโรคต่อไป -ค่าจัดซื้อเครื่องชั่งน้ำหนักแบบสปริง จำนวน 6 เครื่องๆละ 800 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท
-ค่าตอบแทน อสม.ในการตรวจวัดความดันโลหิตที่บ้าน/บันทึกข้อมูลในกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวาน จำนวน 6คนๆละ 500 บาทเป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนในพื้นที่ได้รับความรู้และพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสมมากขึ้น
2.เกิดความร่วมมือของภาคีเครือข่ายที่หลากหลายในการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชนอย่างยั่งยืน
3.เกิด ชุมชน/หมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดเสี่ยง ลดโรค ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน


>