กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนสตอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการศูนย์เรียนรู้สมุนไพรเพื่อชุมชนตำบลควนสตอ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนสตอ

กลุ่มงานแพทย์แผนไทยโรงพยาบาลควนโดน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

พืชสมุนไพรเป็นผลผลิตมาจากธรรมชาติที่มนุษย์รู้จักนำมาใช้เป็นประโยชน์เพื่อการรักษาโรคภัยไข้เจ็บตั้งแต่โบราณแล้ว แต่หลังจากที่ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มีการพัฒนาเจริญก้าวหน้ามากขึ้น มีการสังเคราะห์และผลิตยาจากสารเคมีในรูปที่ใช้ประโยชน์ได้ง่ายสะดวกสบายในการใช้มากกว่าสมุนไพร ทำให้ความนิยมใช้ยาสมุนไพรลดลง เป็นเหตุให้ความรู้วิทยาการด้านสมุนไพรขาดการพัฒนา ไม่เจริญก้าวหน้าเท่าที่ควร แต่ปัจจุบันมีการตื่นตัวในการนำสมุนไพรมาใช้พัฒนาประเทศมากขึ้น ทำให้ประชาชนเริ่มหันมาสนใจการรักษาสุขภาพด้วยวิธีต่างๆโดยเฉพาะการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพ เนื่องจากยาทานปัจจุบันไม่สามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บบางชนิดให้หายขาดได้ ประชาชนจึงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยเน้นการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ด้วยการเลือกรับประทานอาหารจำพวกพืชผักสมุนไพรเพิ่มมากขึ้น ซึ่งสมุนไพรนอกจากจะมีคุณประโยชน์ทางยาแล้วยังปลอดภัยจากสารเคมีอีกด้วย สมุนไพรและการแพทย์แผนไทยจึงเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของคนไทย ดังนั้นทางกลุ่มงานแพทย์แผนไทยจึงได้จัดโครงการศูนย์เรียนรู้สมุนไพรเพื่อชุมชนขึ้น เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับพันธุ์พืชสมุนไพรของคนในชุมชนให้ประชาชนสามารถนำสมุนไพรในสวนสมุนไพรไปใช้ประโยชน์ได้ และเป็นการบูรณาการการแพทย์แผนไทยเข้ากับระบบบริการสุขภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ 1.เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ในการใช้สมุนไพรได้อย่างถูกต้อง 2.เพื่อให้ชุมชนมีศูนย์เรียนรู้สมุนไพรและใช้สมุนไพรอย่างถูกต้อง

ตัวชี้วัดความสำเร็จ ร้อยละ 80 ของผู้เข้าอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้สมุนไพร ชุมชนมีศูนย์เรียนรู้และสวนสมุนไพรในการใช้ดูแลตนเองเบื้องต้นและรักษาโรค  มีสมุนไพรไม้น้อยกว่า 30 ชนิด

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการศูนย์เรียนรู้สมุนไพรเพื่อชุมชน ตำบลควนสตอ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล ปีงบประมาณ 2564

ชื่อกิจกรรม
โครงการศูนย์เรียนรู้สมุนไพรเพื่อชุมชน ตำบลควนสตอ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล ปีงบประมาณ 2564
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 กิจกรรมย่อย อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ    ค่าวิทยากรชั่วโมงละ 300บ.x 6 ชม.  = 1,800 บ.
ค่าอาหารกลางวันพร้อมเครื่องดื่ม 55 บ.x 1 มื้อ x 50 คน =  2,750 บ.
ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม 25 บ.x 2 มื้อ x 50 คน
= 2,500 บ.
1.2 กิจกรรมย่อย จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ทำสวนสมุนไพร     ค่าวัสดุอุปกรณ์ทำสวนสมุนไพร 8,490 บาท ค่าป้ายโครงการ ขนาด 2 เมตร x 3 เมตร = 2,460 บาท     รวม…18,000...บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ชุมชนมีสวนสมุนไพรเพื่อเป็นศูนย์เรียนรู้เรื่องสมุนไพรและสามารถนำสมุนไพรไปใช้ประโยชน์ได้และมีการบูรณาการการแพทย์แผนไทยเข้ากับระบบบริการสุขภาพ
2.ประชาชนมีองค์ความรู้ทางวิชาการ มีความเชื่อมั่นในประสิทธิภาพการใช้ยาสมุนไพร นำไปใช้ประโยชน์ในการดูแลสุขภาพของตนเองและประชาชนในชุมชนได้


>