กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนสตอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการมารดาหลังคลอดสุขภาพดี ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยตำบลควนสตอ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนสตอ

กลุ่มงานแพทย์แผนไทยโรงพยาบาลควนโดน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในอดีตการดูแลหลังคลอดใช้คำว่า “อยู่ไฟ” เพราะมีความสัมพันธ์กับการใช้ความร้อนในการดูแลร่างกายในระยะพักฟื้นหลังคลอด โดยจะครอบคลุมทุกกิจกรรมในการดูแล เช่น การนอนข้างกองไฟ ดื่มน้ำต้มสมุนไพรอใช้อิฐเผาไฟให้ แดงเอาน้ำราดแล้วห่อมาประคบหน้าท้องให้ท้องยุบ การนวดหลังคลอด การทับหม้อเกลือ ประคบสมุนไพร เป็นต้น การอยู่ไฟ หลังคลอดจึงเป็นการผสมผสานความรู้และประสบการณ์ ของชาวบ้านที่สั่งสมสืบทอดกันมาเรียกว่าภูมิปัญญาของคนไทย หรือการแพทย์พื้นบ้าน ซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมในทุกภูมิภาคของประเทศ
ศาสตร์ด้านการแพทย์แผนไทย ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพหญิงหลังคลอดนับเป็นหนึ่งในภูมิปัญญาอันล้ำค่าของไทย ที่ได้รับการยอมรับและถ่ายทอดกันมาต่อเนื่องจากอดีตถึงปัจจุบัน เนื่องจากตลอดการตั้งครรภ์จนกระทั่งคลอด หญิงตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายและจิตใจแม้ว่าหลังคลอดแล้วร่างกายจะมีการปรับตัวให้เข้าสู่สภาพปกติได้เอง แต่การดูแลหลังคลอดด้วยการแพทย์แผนไทย เช่น การอยู่ไฟ การทับหม้อเกลือ การประคบสมุนไพรการอบสมุนไพร ตลอดจนการนวดหลังคลอด จะเป็นการพัฒนาระบบสุขภาพเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทย และส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาไทยเพื่อให้ประชาชนมีทางเลือกในการดูแลสุขภาพและบำบัดรักษาโรค และผลักดันให้เข้าสู่ระบบบริการสาธารณสุขภาครัฐ
ดังนั้น ทางกลุ่มงานแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โรงพยาบาลควนโดน จึงเห็นถึงความสำคัญ และจัดทำโครงการ“มารดาหลังคลอดสุขภาพดี ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย” ขึ้นเพื่อฟื้นฟูสุขภาพของมารดาหลังคลอดด้วยวิธีการทางแพทย์แผนไทย โดยได้จัดกิจกรรมบริการดูแลหญิงหลังคลอดโดนเน้นการฟื้นฟู การส่งเสริม การป้องกันรักษาสุขภาพในระยะหลังคลอด โดยให้บริการเกี่ยวกับ การนวดหลังคลอด การประคบสมุนไพร การทับหม้อเกลือ การอบสมุนไพร การนั่งถ่าน และการให้ความรู้เกี่ยวกับการรับประทานอาหารบำรุงสุขภาพ อาหารบำรุงน้ำนม น้ำสมุนไพรเพื่อสุขภาพ อาหารแสลง เพื่อเป็นทางเลือกในการดูแลสุขภาพด้วย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ ข้อที่ 1.เพื่อส่งเสริม ฟื้นฟู ป้องกัน และรักษาสุขภาพของมารดาหลังคลอดและหญิงตั้งครรภ์ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย ข้อที่ 2.เพื่อให้มารดาหลังคลอดและหญิงตั้งครรภ์มีความรู้ในการดูแลตนเอง ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย ข้อที่ 3.เพื่อให้มารดาหลังคลอดได้รับการดูแลและคืนสู่สภาพปกติและแข็งแรงได้โดยเร็ว ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย

ตัวชี้วัดความสำเร็จ 1.ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจและสามารถถ่ายถอดองค์ความรู้ในการดูแลสุขภาพมารดาหลังคลอด ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยได้ 2.ร้อยละ 100 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลตนเอง ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย 3.ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการดูแลและคืนสู่สภาพปกติและแข็งแรงได้โดยเร็ว  ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 20
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 30
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการมารดาหลังคลอดสุขภาพดี ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย ตำบลควนสตอ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล ปีงบประมาณ 2564

ชื่อกิจกรรม
โครงการมารดาหลังคลอดสุขภาพดี ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย ตำบลควนสตอ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล ปีงบประมาณ 2564
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. กิจกรรมอบรมมารดาหลังคลอดสุขภาพดี ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย    ค่าวิทยากรชั่วโมงละ 300บ.x 6 ชม.  = 1,800 บ.
    ค่าอาหารชุด ชุดละ 80 บ.x 1 มื้อ x 50 คน =  4,000 บ.
    ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม 25 บ.x 2 มื้อ x 50คน  = 2,500 บ.
    ค่าเอกสารคู่มือ 50 บ.x 50 คน  = 2,500 บ.
    ค่าวัสดุอุปกรณ์ ,สมุนไพร  = 6,200 บ. รวม  17,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 17,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.หญิงหลังคลอดได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย
2.หญิงหลังคลอดได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลมารดาหลังคลอดด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย
3.สามารถขยายการให้บริการของงานแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลควนโดนได้อย่างสมบูรณ์


>