กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนสตอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสร้างเยาวชนยุว อสม. ตำบลควนสตอ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนสตอ

กลุ่มงานบริการปฐมภูมิและองค์รวมโรงพยาบาลควนโดน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การที่เด็กวัยเรียนจะมีสุขภาพดี ต้องเริ่มปลูกฝังวิถีชีวิตสุขภาพที่ถูกต้องและเหมาะสมตั้งแต่วัยเยาว์ โดยได้รับการส่งเสริมจากครอบครัว โรงเรียน ชุมชน และสังคม การส่งเสริมบทบาทให้เด็กวัยเรียน แสดงศักยภาพในการช่วยเหลือ ดูแลสังคมและคนรอบข้าง ให้มีความรู้และทักษะในการดำเนินชีวิตที่ดี โดยเน้นลักษณะงานที่เป็นอาสาสมัคร โดยเน้นการจัดการสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติ ให้มีสุขภาพอนามัยแข็งแรง และรู้จักป้องกันตนเองจากโรคและภัยต่าง ๆ ต่อไป
ยุว อสม. คือ นักเรียนที่มีจิตอาสา เป็นอาสาสมัครในการดูแลสุขภาพเพื่อนนักเรียนด้วยกัน รวมทั้งชุมชนของนักเรียนที่อาศัยอยู่ โดยได้รับการคัดเลือกจากโรงเรียน ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของทีมสร้างเสริมสุขบัญญัติแห่งชาติของโรงเรียน โดยมีบทบาทดังนี้1.ร่วมสร้างทีมสุขบัญญัติแห่งชาติในโรงเรียน 2.จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้านสุขภาพ 3.จัดกิจกรรมพัฒนาปัจจัยแวดล้อมเพื่อการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติ 4.เฝ้าระวังสถานการณ์และพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพของเพื่อนนักเรียน 5.พัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของตนเองตามสุขบัญญัติแห่งชาติ สุขบัญญัติแห่งชาติ เป็นข้อกำหนดที่เด็ก และเยาวชน ตลอดจนประชาชนทั่วไปพึงปฏิบัติสม่ำเสมอจนเป็นนิสัย โดยการปฏิบัติจะส่งผลต่อการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอันตรายต่อสุขภาพ ควบคู่ไปกับการพัฒนาปัจจัยแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เหมาะสม ทั้งในสถานศึกษา ครอบครัว และชุมชนอย่างครบวงจร เพื่อให้เกิดการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพสู่การมีสุขภาพดีทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคม ในการนี้กลุ่มงานบริการปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลควนโดน จึงได้จัดโครงการสร้างเยาวชน ยุว อสม. ควนสตอ ปี 2564 นี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ ข้อที่ 1 เพื่อให้ ยุว อสม. ร่วมทีมสร้างเสริมสุขบัญญัติแห่งชาติ ของโรงเรียน ข้อที่ 2 เพื่อให้ ยุว อสม. จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้านสุขภาพในโรงเรียน ข้อที่ 3 ยุว อสม. จัดกิจกรรมพัฒนาปัจจัยแวดล้อม สร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติ

ตัวชี้วัดความสำเร็จ ยุว อสม. เข้าร่วมและมีรายชื่อในทีมคณะทำงานสุขบัญญัติของโรงเรียน ยุว อสม.จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียน อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง ยุว อสม.นำเพื่อนนักเรียนในโรงเรียนจัดกิจกรรมพัฒนาปัจจัยแวดล้อม สร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติ
เทอมละ 1 ครั้ง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 20
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการสร้างเยาวชน ยุว อสม. ควนสตอ ปี 2564

ชื่อกิจกรรม
โครงการสร้างเยาวชน ยุว อสม. ควนสตอ ปี 2564
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดกิจกรรมอบรมสร้างสร้างเยาวชน ยุวอาสาสมัครสาธารณสุข ให้แก่ นักเรียนจากโรงเรียนละ 10 คน จากโรงเรียน 2 แห่ง ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาล ได้แก่โรงบ้านควนสตอ และโรงเรียนบ้านทางงอ

1.1 กิจกรรมย่อย จัดอบรมครั้งนี้ 1 เรื่องบทบาทของยุวอาสาสมัครสาธารณสุข เรื่องความรอบรู้ด้านสุขภาพ บันไดขั้นแรกของการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ยั่งยืน ให้แก่นักเรียน จำนวน 20 คน     - ค่าวิทยากร 300 บ.x 1 คน x 3 ชั่วโมง
                                    = 900   บ. - ค่าอาหารกลางวันพร้อมเครื่องดื่ม
  55 บ. x 20 คน x 1 วัน   = 1,1000  บ. - ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม
  25 บ.x 20 คน x 2 มื้อ    = 1,000  บ. - ค่าวัสดุ                       = 1,000  บ.

1.2 กิจกรรมย่อย            จัดอบรมครั้งที่ 2 เรื่องปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติลดโรคได้ เรื่องการจัดกิจกรรมสุขภาพประตูสู่การถ่ายทอดความรู้ ให้แก่นักเรียน จำนวน 20 คน    - ค่าวิทยากร 300 บ.x 1 คน x 3 ชั่วโมง
                                    = 900   บ. - ค่าอาหารกลางวันพร้อมเครื่องดื่ม
  55 บ. x 20 คน x 1 วัน   = 1,1000  บ. - ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม
  25 บ.x 20 คน x 2 มื้อ    = 1,000  บ.

1.3 กิจกรรมย่อย จัดอบครั้งที่ 3 เรื่องเฝ้าระวังพฤติกรรมเสี่ยงและสถานที่เสี่ยงสกัดปัญหาสุขภาพ วางแผนการทำกิจกรรมของ ยุวอาสาสมัครสาธารณสุข ในโรงเรียน     - ค่าวิทยากร 300 บ.x 1 คน x 3 ชั่วโมง
                                    = 900   บ. - ค่าอาหารกลางวันพร้อมเครื่องดื่ม
  55 บ. x 20 คน x 1 วัน   = 1,1000  บ. - ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม
  25 บ.x 20 คน x 2 มื้อ    = 1,000  บ.

  1. ติดตามผลการดำเนินของ ยุว อสม. ในโรงเรียน
    2.1 กิจกรรมย่อย ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานของยุว อสม. ใน โรงเรียนบ้านควนสตอ  ไม่เบิกค่าใช้จ่าย 2.2 กิจกรรมย่อย ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานของยุว อสม. ในโรงเรียนบ้านทางงอ  ไม่เบิกค่าใช้จ่าย
  2. สรุปผลการดำเนินโครงการ และเสนอต่อคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลควนสตอ
    รวม............10,000................บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ยุว อสม. ร่วมทีมสร้างเสริมสุขบัญญัติแห่งชาติของโรงเรียน
2. ยุว อสม. จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้านสุขภาพในโรงเรียน
3. ยุว อสม. จัดกิจกรรมพัฒนาปัจจัยแวดล้อม เพื่อการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติ


>