กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองควนลัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการเต้นแอโรบิกเพื่อสุขภาพประจำชุมชนบ้านเนินเขา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองควนลัง

กลุ่มแอโรบิกเพื่่อสุขภาพชุมชนบ้านเนินเขา

1.นายนิโรช เรืองผล ประธานกลุ่มฯ
2.นางสมฤดี เจริญเผ่า รองประธานกลุ่มฯ
3.นางมณินทร ฤทธิรักษ์ เลขานุการกลุ่มฯ
4.นางสาวสุภาวดี นารีหวานดี กรรมการ
5.นางพรศรี มณีสวัสดิ์ กรรมการ

ชุมชนบ้านเนินเขา ม.1 ต.ควนลัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

20.00
2 ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

20.00
3 ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน

 

50.00

การออกกำลังกาย เป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งต่อการมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ และมีภูมิต้านทานโรค สามารถลดภาระค่าใช้จ่ายในด้านการรักษาพยาบาลของประชาชน เป็นการส่งเสริมให้ผู้ที่เข้าร่วมการออกกำลังกายใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ห่างไกลจากยาเสพติด และเป็นการส่งเสริมความสามัคคีและสัมธภาพที่ดีต่อกันดังนั้นอาสาสมัครสาธารณสุข คณะกรรมการชุมชน และประชาชนประจำชุมชนบ้านเนินเขาได้จัดประชุมเพื่อระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเต้นแอโรบิก จึงได้มีการจัดตั้งกลุ่มแอโรบิกเพื่อสุขภาพชุมชนบ้านเนินเขาขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่

ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

20.00 20.00
2 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้สูงอายุ

ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางอย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

20.00 20.00
3 เพิ่มการออกกำลังกายในชุมชน

ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน

50.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 70
กลุ่มผู้สูงอายุ 20
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.ค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมการเต้นแอโรบิก

ชื่อกิจกรรม
1.ค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมการเต้นแอโรบิก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าจ้างพิมพ์ป้ายไวนิล เป็นเงิน 720.- บาท
  2. ค่าตอบแทนผู้นำการออกกำลังกาย วันละ 300.- บาท สัปดาห์ละ 3 วัน รงม 8 เดือน จำนวน 96 วัน เป็นเงิน 28,800.- บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนในชุมชนให้ความสนใจในการออกกำลังกาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
29520.00

กิจกรรมที่ 2 2.กิจกรรมการตรวจสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
2.กิจกรรมการตรวจสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม เป็นเงิน 4,200 บาท
  2. ค่าสมนาคุณวิทยากร เป็นเงิน 1,200 บาท
  3. ค่าเครื่องชั่งน้ำหนัก เป็นเงิน 1,000 บาท
  4. ค่าเครื่องวัดความดันโลหิตสูง เป็นเงิน 4,000 บาท
  5. ค่าสายวัดรอบเอว เป็นเงิน 360 บาท
  6. ค่าใช้จ่ายอื่น 4,720 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนในชุมชนให้ความสนใจในการออกกำลังกาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15480.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 45,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนทุกกลุ่มวัยในชุมชนบ้านเนินเขาและชุมชนใกล้เคียงที่เข้าร่วมกิจกรรมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพด้วยการเต้นแอโรบิกมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์
2. ประชาชนทุกกลุ่มวัยในชุมชนบ้านเนินเขาและชุมชนใกล้เคียงได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์โดยการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพและห่างไกลยาเสพติด
3. ประชาชนทุกกลุ่มวัยในชุมชนบ้านเนินเขาและชุมชนใกล้เคียงที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความสามัคคีและสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน


>