กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบูเก๊ะตา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการฟื้นฟูสมรรถภาพและติดตามผู้ป่วยจิตเวชแบบบูรณาการโดยภาคีเครือข่าย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบูเก๊ะตา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโล๊ะจูด

นางแวเยาะ วาเย็ง

เขตเทศบาลตำบลบูเก๊ะตาในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโล๊ะจูด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ผู้ป่วยจิตเวชมีอาการกำเริบซ้ำ

 

10.00

ปัจจุบันโรคทางจิตเวชเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุข นับวันเพิ่มมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศ โรคทางจิตเวชก่อให้เกิดความผิดปกติทางด้านความคิด อารมณ์ การรับรู้ และพฤติกรรม จำเป็นต้องได้รับการรักษาตลอดชีวิต การเจ็บป่วยซ้ำถี่มากขึ้น ยิ่งทำให้เกิดความเสื่อมถอยของบุคลิกภาพ ขาดทักษะพื้นฐานในการแก้ปัญหา มีพฤติกรรมก้าวร้าว หลงผิด ประสาทหลอน และพฤติกรรมฆ่าตัวตาย เป็นต้น การมีสมาชิกในครอบครัวที่ป่วยด้วยโรคทางจิตเวช มีผลกระทบต่อสมาชิกในครอบครัวเป็นอย่างมาก ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และเศรษฐกิจ โรงพยาบาลแว้ง มีจำนวนผู้ป่วยโรคทางจิตเวชที่เข้ามารับบริการ เดือนละประมาณ115ราย โดยเป็นรายใหม่ 4-5 รายต่อเดือน ผู้ป่วยทางจิตเวชที่มารับบริการ ในโรงพยาบาลแว้ง ปี 2561-2563 จำนวน 600,652,687 รายตามลำดับ ปี 2561 - 2563 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโล๊ะจูด มีผู้ป่วยจิตเวช ในเขตรับผิดชอบของเทศบาลตำบลบูเก๊ะตา จำนวน20 ราย, 22 ราย และ 25 ราย ตามลำดับ จะเห็นได้ว่าจำนวนผู้ป่วยมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ป่วยบางรายรับยาไม่ต่อเนื่องบางรายหยุดยาเองเมื่อคิดว่าอาการดีขึ้น ส่งผลให้มีอาการกำเริบซ้ำของโรค
ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโล๊ะจูด ได้เห็นความสำคัญของโรคจิตเวช จึงได้จัดทำโครงการฟื้นฟูสมรรถภาพและติดตามผู้ป่วยจิตเวชแบบบูรณาการโดยภาคีเครือข่ายขึ้นเพื่อให้ผู้ป่วยจิตเวชผู้ดูแลและภาคีเครือข่าย ได้รับการฟื้นฟูความรู้เรื่องโรคจิตเวช เกิดทักษะในการ คัดกรอง ดูแล ติดตาม และฟื้นฟูคนไข้จิตเวช ส่งเสริมให้ผู้ป่วยจิตเวชรู้สึกมีคุณค่าในตัวเอง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยจิตเวชเข้าถึงบริการ

ร้อยละ 70 ของผู้ป่วยจิตเวชรับยามาตามนัด

25.00 18.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยจิตเวชไม่มีอาการกำเริบซ้ำ

อัตราผู้ป่วยจิตเวชที่มีอาการกำเริบซ้ำน้อยกว่า 5 คน ต่อปี

25.00 5.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 25
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 25
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2021

กำหนดเสร็จ 31/07/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 พัฒนาศักยภาพผู้ดูแลหลักและภาคีเครือข่าย

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาศักยภาพผู้ดูแลหลักและภาคีเครือข่าย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดทำโครงการเสนอและขออนุมัติโครงการ 2.ประชุมวางแผนดำเนินงาน 3.เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ และสิ่งสนับสนุนการดำเนินงานพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลหลักและภาคีเครือข่ายในชุมชนเรื่องการคัดกรอง การประเมิน การดูแลและการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วย - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  จำนวน 2 มื้อ ๆ ละ 25 บาท จำนวน 50 คน เป็นเงิน 2,500 บาท - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อ ๆ ละ 50  บาท จำนวน 50 คน เป็นเงิน 2,500 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท   จำนวน 2 คน เป็นเงิน 3,600 บาท - ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการอบรม เป็นเงิน 400 บาท - ค่าไวนิล ขนาด กว้าง 1 เมตร ยาว 2 เมตร เป็นเงิน 500  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 30 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าอบรมมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชไม่ให้มีอาการกำเริบซ้ำ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9500.00

กิจกรรมที่ 2 ติดตามเยี่ยมผู้ป่วยและครอบครัวที่เป็นปัญหา

ชื่อกิจกรรม
ติดตามเยี่ยมผู้ป่วยและครอบครัวที่เป็นปัญหา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประสานเครือข่ายในการดำเนินโครงการฯ
2.ติดตามเยี่ยมผู้ป่วยและครอบครัวที่เป็นปัญหา -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มเจ้าหน้าที่ผู้ติดตามเยี่ยมและภาคีเครือข่าย จำนวน 2 มื้อๆละ 25 บาท จำนวน 8 คน x 5 วัน  เป็นเงิน 2,000  บาท -ค่าอาหารกลางวันเจ้าหน้าที่ผู้ติดตามเยี่ยมและภาคีเครือข่าย จำนวน 1 มื้อๆ ละ 50 บาท จำนวน 8 คน x 5 วัน  เป็นเงิน 2,000  บาท -วัสดุอุปกรณ์ในการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวช จำนวน 25 ชุดๆละ 180 บาท  เป้นเงิน 4,500  บาท 3.สรุป ติดตามประเมินผลเมื่อสิ้นสุดโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2564 ถึง 31 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผุ้ป่วยจิตเวชได้รับการติดตามและเยี่ยมบ้าน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,000.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถั่วเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผู้ป่วยจิตเวชเข้าถึงบริการ ไม่มีอาการกำเริบซ้ำ และได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องโดยภาคีเครือข่ายในชุมชน


>