กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะรัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการประสานวิทยามูลนิธิหยุดยั้งร่วมกันต้าน NCDs

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะรัง

โรงเรียนประสานวิทยามูลนิธิ

1 นายนิอับดุลเลาะ นิสนิ
2 นางสาวซูฟียะห์ สาอิ
3 นางสาวคอรีย๊ะ กูรุ๊
4นายอิสมาแอ กาซาเด็ง
5 มูฮำหมัดฟัครูดีน หะยีเต๊ะ

โรงเรียนประสานวิทยามูลนิธิต.ยะรังอ.ยะรังจ.ปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การใช้ชีวิตประจำวันของเราในปัจจุบันมีสิ่งอำนวยความสะดวกมากขึ้น ทำให้เรามีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง รวมทั้งการรับประทานอาหารในปริมาณที่มากเกินความต้องการของร่างกาย รับประทานอาหารรสหวานจัด เค็มจัด และอาหารที่มีไขมันสูง เหล่านี้จะทำให้เกิดภาวะอ้วน เกิดโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมองซึ่งอาจจะตีบหรือแตกได้ เมื่อประกอบกับความเครียดและการพักผ่อนไม่เพียงพอรวมกันและสะสมเรื้อรังไปนาน ๆ ก็นำไปสู่การเกิดกลุ่มโรค NCDs ขึ้นได้ ซึ่งก็จะทำให้มีค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคสูง รวมทั้งบางโรคยังรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-communicable diseases)หรือโรค NCDs คือโรคในสังคมสมัยใหม่ที่กำลังทำให้งานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของเจ้าหน้าที่ในระบบสุขภาพกลายเป็นภารกิจที่มีความท้าทายอย่างมากข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกปี 2559 แสดงให้เห็นว่ามีประชากรโลกที่เสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังถึง41 ล้านคนต่อปี คิดเป็นร้อยละ 71 ของการเสียชีวิตทั่วโลกและองค์การอนามัยโลกได้ทำนายไว้ว่าในปี พ.ศ. 2573 ประชากรโลกจำนวน 23 ล้านคนจะเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจโดยร้อยละ 85 อยู่ใน ประเทศกำลังพัฒนา ส่วนในประเทศไทย ปี 2561 มีประชากรไทยเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมากถึง 320,000 คนต่อปี หรือเฉลี่ย 37 คนต่อชั่วโมงส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มวัยทำงาน โดยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มีการเสียชีวิตสูงสุดนั้น คือ โรคหลอดเลือดสมอง รองลงมา คือ โรคหัวใจขาดเลือด โรคทางเดินหายใจอุดกั้นเรื้อรังโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ตามลำดับ ข้อมูลทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นถึงอันตรายและความเสี่ยงที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในอนาคตคงปฏิเสธไม่ได้ว่าโรคไม่ติดต่อเรื้อรังนั้นมีต้นเหตุมาจาก “พฤติกรรมสุขภาพ” ภายใต้วิถีชีวิตและวัฒนธรรมการกินการอยู่ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากบริโภคนิยม โลกาภิวัฒน์ การจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มีพื้นที่เป็นฐานและประชาชนเป็นศูนย์กลาง เงื่อนไขทางเศรษฐกิจ สังคม และสภาพแวดล้อมที่มีความเสี่ยงทางสุขภาพที่ส่งผลต่อความเจ็บป่วย วิถีชีวิตและค่านิยมในการบริโภคที่เปลี่ยนไปทำให้ผู้บริโภคเลือกความสะดวกสบาย ความทันสมัย และภาพลักษณ์ของรสนิยมมากกว่าการให้คุณค่ากับสุขภาพ เช่น พฤติกรรมการบริโภคอาหาร fast food ของกลุ่มวัยรุ่นเนื่องจากความเท่และทันสมัยที่ได้รับอิทธิพลจากสื่อโฆษณา พฤติกรรมการบริโภคอาหารปรุงสำเร็จของกลุ่มวัยทำงานเขตเมืองเนื่องจากความรวดเร็วเข้าถึงง่าย ดังนั้น พฤติกรรมเสี่ยงจากการบริโภคที่สะสมในชีวิตประจำวันจึงส่งผลต่อแนวโน้มการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจนกลายเป็น “โรคของยุคสมัย”
โรงเรียนประสานวิทยามูลนิธิจึงได้จัดทำโครงการหยุดยั้งร่วมต้าน NCDsร่วมรณรงค์สร้างกระแสให้นักเรียนตระหนักภัยร้ายของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง เน้นให้นักเรียนสามารถดูแลสุขภาพและจัดการกับตนเอง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคติดต่อไม่เรื้อรัง NCDs
2 เพื่อให้นักเรียนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCDs
3 เพื่อให้นักเรียนได้รับการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดต่อไม่เรื้อรัง NCDs

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 150
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/02/2021

กำหนดเสร็จ 29/07/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมเรียนรู้ ต่อต้าน ยับยั้งโรค NCDs

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเรียนรู้ ต่อต้าน ยับยั้งโรค NCDs
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1 เชิญวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCDs การรับประทานอาหารในปริมาณที่มากเกินความต้องการของร่างกาย รับประทานอาหารรสหวานจัด เค็มจัด และอาหารที่มีไขมันสูง เหล่านี้จะทำให้เกิดภาวะอ้วน เกิดโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมองซึ่งอาจจะตีบหรือแตกได้ เมื่อประกอบกับความเครียดและการพักผ่อนไม่เพียงพอรวมกันและสะสมเรื้อรังไปนาน ๆ ก็นำไปสู่การเกิดกลุ่มโรค NCDs    2 กิจกรรมแข่งประกวดวาดภาพต่อต้านโรค NCDs โดยแบ่งกลุ่มนักเรียนเป็นกลุ่มเพื่อร่วมกันคิด วาดภาพต่อต้านโรค NCDs  นักเรียนที่วาดดีได้รับรางวัลต่อไป งบประมาณ
1 อาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม  35 บาท/คน   จำนวน  150  คน  เป็นเงิน  5,250 บาท 2 อาหารกลางวันมื้อละ  80 บาท/คน  จำนวน  150  คน   เป็นเงิน  12,000  บาท 3 ค่าวิทยากรให้ความรู้  3 ชั่วโมง ๆ ละ  600 บาท    เป็นเงิน  1,800   บาท 4 ค่าไวนิล  ขนาด  1x3 เมตร   เป็นเงิน   750  บาท 5 ค่าวัสดุ/อุปกรณ์    กระดาษวาดเขียนหนังไก่  1 แพ็ค   เป็นเงิน  120 บาท     สีไม้   80  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 25 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ80 ของนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคติดต่อไม่เรื้อรัง NCDs ร้อยละ80 ของนักเรียนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCDs ร้อยละ80 ของนักเรียนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCDs

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1 นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคติดต่อไม่เรื้อรัง NCDs
2 นักเรียนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCDs
3 นักเรียนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCDs


>