กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมการใช้สมุนไพรรางจืด ล้างสารพิษในเลือดเกษตรกร ตำบลทุ่งรัง

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งรัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการใช้สมุนไพรรางจืด ล้างสารพิษในเลือดเกษตรกร ตำบลทุ่งรัง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งรัง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งรัง

นายนพเมศร์ เจียมสกุล

ตำบลทุ่งรัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อสำรวจเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืช 2. เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและสมุนไพรล้างพิษ 3. เพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มไม่ปลอดภัย ได้รับการล้างสารพิษในเลือดโดยใช้สมุนไพรรางจืด
  1. เกษตรกรผู้ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้รับตรวจคัดกรองสารพิษตกค้าง ร้อยละ 100
  2. เกษตรกรที่มีค่าสารเคมีในเลือดระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัย
32.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การใช้สมุนไพรรางจืดล้างสารพิษในเลือดเกษตรกรตำบลทุ่งรัง

ชื่อกิจกรรม
การใช้สมุนไพรรางจืดล้างสารพิษในเลือดเกษตรกรตำบลทุ่งรัง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ประชุมชี้แจงรายละเอียดของโครงการ
  • ประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเกษตรกรทราบเพื่อเตรียมกลุ่มเป้าหมาย และนัด วัน เวลา และสถานที่ในการตรวจ
  • ตรวจคัดกรองหาสารเคมีในเลือดเกษตรกรกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ
  • แจ้งผลการตรวจสารพิษตกค้างในเลือดแก่เกษตรกรที่ได้รับการตรวจเลือด
  • จำแนกผลการตรวจคัดกรอง ได้แก่ กลุ่มปกติ กลุ่มปลอดภัย กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มไม่ปลอดภัย
  • นำกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มไม่ปลอดภัย เข้าสู่กระบวนการล้างพิษสารเคมีในเลือดเกษตรกร
  • ทำแบบทดสอบก่อนให้ความรู้
  • ให้ความรู้เรื่องการทำชารางจืด และการใช้สมุนไพรรางจืดล้างพิษแก่กลุ่มเกษตรกรในเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มไม่ปลอดภัยโดยแพทย์แผนไทยโรงพยาบาลกาญจนดิษฐ์
  • ทำแบบทดสอบหลังให้ความรู้
  • เกษตรกรที่มีสารพิษตกค้างในเลือดที่อยู่ในระดับกลุ่มเสี่ยงและไม่ปลอดภัย รับชาชงสมุนไพรรางจืด ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งรัง โดยแพทย์แผน พร้อมทั้งแนะนำการใช้ยาที่ถูกต้อง
  • นัดตรวจเลือดซ้ำหลังเกษตรกรที่ได้รับชาชงสมุนไพรรางจืดไปทานติดต่อกัน 30 วัน
  • ติดตามผลจากการทานยาสมุนไพรรางจืดในกลุ่มที่มีผลเลือดผิดปกติ

รายละเอียดงบประมาณ

  • ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ ขนาด 1.2 x 2.5 เมตร จำนวน 1 ป้าย ราคาป้ายละ 600 บาท เป็นเงิน 600 บาท
  • ค่าถ่ายเอกสารการคัดกรองสารเคมีในเลือด จำนวน 300 แผ่น ราคาแผ่นละ 1 บาท เป็นเงิน 300 บาท
  • ค่าปากกา จำนวน 50 ด้าม ราคาด้ามละ 5 บาท เป็นเงิน 250 บาท
  • จัดทำคู่มือการลดสารพิษในเลือด จำนวน 50 เล่ม ราคาเล่มละ 30 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
  • ค่าอาหารว่างสำหรับเจ้าหน้าที่ และอสม. ในการคัดกรอง จำนวน 10 คน จำนวน 1 มื้อ มื้อละ 25 บาท จำนวน 10 วัน เป็นเงิน 2,500 บาท
  • ค่าปลั๊ก 3 ตา จำนวน จำนวน 2 อัน ราคาอันละ 400 บาท เป็นเงิน 800 บาท
  • ค่าอุปกรณ์ในการตรวจ (ชุดทดสอบโคลีนเอสเตอเรส) จำนวน 4 ชุด ละ 1,700 บาท เป็นเงิน 6,800 บาท
  • ค่าสมุนไพรรางจืด 100 ซอง ซองละ 35 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท
  • ค่าวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เกษตรกรกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มไม่ปลอดภัย มีผลการตรวจเลือดปกติหลังทานชารางจืดล้างพิษ ร้อยละ ๕๐
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18050.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,050.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและสมุนไพรรางจืดล้างพิษ
2. เกษตรกรที่มีความเสี่ยงและไม่ปลอดภัยมีผลการตรวจเลือดปกติหลังจากทานสมุนไพรล้างพิษ
3. เกษตรกรมีความตระหนักต่ออันตรายจากการใช้สารเคมีในการเกษตร


>