กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาละ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมความรู้การดูแลสุขภาพและป้องกันโรคในกลุ่มอาชีพ(แรงงานนอกระบบ)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาละ

กลุ่มรับซื้อน้ำยาง ศิลานารีคชศิลา หมู่ที่ 4 ตำบลบาละ อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา

นางวิลัยพร จำรูญศรี

อาคารอเนกประสงค์บ้านคชศิลา หมู่ที่ 4 ตำบลบาละ อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานแรงงานนอกระบบ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามที่รัฐบาลได้มีการกำหนดนโยบายการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการทำงานและบริการอาชีวะอนามัยในสถานประกอบของไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ.2555 – 2564 ตลอดจนการพัฒนาด้านอาชีวะอนามัย ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุง แก้ไข พัฒนา และยกระดับมาตรฐานในด้านความปลอดภัยในการทำงานและการบริการอาชีวะอนามัยในสถานประกอบการสำหรับสถานที่ต่างๆ เช่น สถานที่ราชการ สถานที่ประกอบการเอกชน ตลาด ร้านอาหาร โรงงาน เป็นต้น เพื่อให้สถานที่ต่างๆได้รับการพัฒนาให้มีมาตรฐานตามที่กำหนด อันจะทำให้ประชาชนมีความปลอดภัยจากการบริการด้านความปลอดภัยในการทำงานและการบริการอาชีวะอนามัยในสถานประกอบการเพิ่มขึ้น
โรคที่เกิดจากการทำงาน หรือโรคจากการประกอบอาชีพเป็นปัญหาที่มีผลต่อภาวะเศรษฐกิจและสังคมทั้งส่วนบุคคลและครอบครัว ชุนชน และประเทศชาติ เมื่อเกิดกับบุคคลที่อยู่ในวัยทำงานและมีบทบาทความรับผิดชอบสำคัญต่อครอบครัว ย่อมส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อครอบครัวและสังคม ในทั้งทางเศรศฐกิจ คุณภาพชีวิต โดยเฉพาะอย่ายิ่งเมื่อเกิดกับผู้ประกอบอาชีพอิสระนอกระบบ เช่นเกษตรกร ประมง ร้านอาหาร/ขนม ซ่อมรถ ซ่อมเครื่องไฟฟ้า ก่อสร้าง เป็นต้น เพราะผู้ที่ประกอบอาชีพเหล่านี้เป็นเจ้าของกิจการเอง ไม่ได้รับค่าจ้างจากผู้อื่นในลักษณะของเงินเดือนหรือค่าแรงประจำ และรับผิดชอบต่อการดำเนินการทั้งในส่วนของกำไร หรือขาดทุน หากเกิดการเจ็บป่วยหรือเกิดอุบัติเหตุอันตรายไม่สามารถทำงานได้ ย่อมขาดรายได้ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในครัวเรือนแลพคุณภาพชีวิตของสมาชิกในครอบครัว ดังนั้นการส่งเสริมค่านิยมที่ถูกต้องด้านสุขภาพแลพการป้องการโรคให้กับผู้ประกอบอาชีพจึงเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตร สวนยางพารา สวนผลไม้ โดยพื้นที่การเกษตรเป็นพื้นที่ภูเขาและเชิงเขา อาจมีโอกาสเสี่ยงได้รับอันตรายในการประกอบอาชีพ ในพื้นที่หมู่ที่ 3 บ้านหินลูกช้าง ตามข้อมูล TCNAP พบว่า อาชีพทำไร่ มี 5 คน/ มีอาชีพ 197 คน / ทำสวน 148 คน (75.12 เปอร์เซ็น) และหมู่ที่ 4 บ้านคชศิลา อาชีพ 331 คน/ ทำนา 9 คน/ ทำไร่ 9 คน/ ทำสวน 182 คน (54.98 เปอร์เซ็น)
กลุ่มรับซื้อน้ำยาง ศิลานารีคชศิลา หมู่ที่ 4 ตำบลบาละ อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา ตระหนักถึงปัญหาและผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจในครัวเรือนของผู้ประกอบอาชีพ จึงได้จัดโครงการส่งสริมความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคจากการทำงาน สนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรคและลดความเสี่ยงจากการทำงานให้กับกลุ่มอาชีพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสำรวจข้อมูลของกลุ่มแรงงานนอกระบบ

 

0.00
2 เพื่อให้กลุ่มแรงงานนอกระบบมีความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคจากการทำงานและสามารถนำไปปฏิบัติได้

 

0.00
3 เพื่อสนับสนุนให้กลุ่มแรงงานนอกระบบได้รับการตรวจประเมินและคัดกรองความเสี่ยงทางสุขภาพ

 

0.00
4 เพื่อสนับสนุนให้เครือข่ายกลุ่มแรงงานนอกระบบได้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมีการเฝ้าระวัง ลดความ-เสี่ยง

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 80
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ค่าประชุมอบรมให้ความรู้ 1 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
ค่าประชุมอบรมให้ความรู้ 1 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 2 มื้อ 80 คน (คนละ 25 บาท)= 4,000 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อ 80 คน (คนละ 60 บาท)=4,800 บาท
  • ค่าวิทยากร ชั่วโมงละ 300 (5 ชั่วโมง) = 1,500 บาท
    รวมเป็นเงิน 10,300 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10300.00

กิจกรรมที่ 2 ค่าประชุมสาธิตกายภาพและสร้างเสริมสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
ค่าประชุมสาธิตกายภาพและสร้างเสริมสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 2 มื้อ 80 คน (คนละ 25 บาท)= 4,000 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อ 80 คน (คนละ 60บาท)= 4,800 บาท
  • ค่าวิทยากรกลุ่ม ชั่วโมงละ 600 (5 ชั่วโมง)= 3,000 บาท
  • ไวนิล 1 ป้าย= 720 บาท
  • วัสดุ/อุปกรณ์ กระดาษ/ปากกาเคมี/เทปกาว = 500 บาท
  • อุปกรณ์กายภา่พ = 2,000 บาท
  • แบบประเมิน 80 ชุด ชุดละ 10 บาท = 800 บาท
  • หน้ากากอนามัย 2 กล่อง กล่องละ 100 = 200 บาท
  • แอลกอฮอล์เจล 1 ขวด ขวดละ 200 = 200 บาท รวมเป็นเงิน16,220 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16220.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 26,520.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.หน่วยงานในพื้นที่มีข้อมูลจำนวนแรงงานนอกระบบ
2.กลุ่มแรงงานนอกระบบได้รับการเฝ้าระวังโรคจากการทำงาน โดยกระบวนการมีส่วนร่วมหน่วยบริการและกลุ่มแรงงานนอกระบบ
3.กลุ่มแรงงานนอกระบบได้รับการสนับสนุนให้มีการจัดการและแก้ไขปัญหาสุขภาพจากการทำงานทั้งในระดับบุคคลและระดับกลุ่ม


>