กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโตนดด้วน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังป้องกันสตรีจากมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก ตำบลโตนดด้วน ปีงบประมาณ ๒๕๖๔

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโตนดด้วน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโตนดด้วน

นายโชคชัย เสนเผือก

พื้นที่ตำบลโตนดด้วน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชากรสตรีที่มีความเสี่ยงมะเร็งเต้านมในกลุ่มสตรีอายุ 30-70 ปีสตรี

 

1.00
2 ร้อยละของประชาการสตรีที่มีความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก สตรีอายุ 30-60 ปี

 

1.00

มะเร็งปากมดลูกเป็นโรคมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ ๒ของโรคมะเร็งทั้งหมดของสตรีไทย รองจากมะเร็งเต้านมปัจจุบันในประเทศไทยแต่ละปีจะพบผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ประมาณ๑๐,๐๐๐รายและเสียชีวิตจากการเป็นมะเร็งปากมดลูก๕,๐๐๐รายอัตราการเสียชีวิตของสตรีไทยเพิ่มขึ้นจาก๗คน/วันเป็น๑๔คน/วันสถิติจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมาพบแพทย์ เมื่อระยะของโรคมะเร็งนั้นได้เข้าสู่ในระยะลุกลามแล้ว การรักษาจึงเป็นไปได้ยาก ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาที่สูง ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากไม่สามารถประกอบอาชีพได้ก่อให้เกิดปัญหาด้านสังคมและครอบครัวตามมาอย่างมากมายแต่จะสามารถป้องกันและรักษาให้หายขาดได้ถ้าพบผู้ป่วยโรคมะเร็งในระยะเริ่มแรก ร้อยละ๓๐ – ๔๐ สามารถป้องกันได้ด้วยการลดพฤติกรรมเสี่ยง และหากได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งตั้งแต่ระยะแรก จะสามารถป้องกันและได้รับการรักษาได้ทันท่วงที ดังนั้น ถ้าสามารถกระตุ้นให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับโรคดังกล่าว พร้อมทั้งตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการตรวจค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรกก็จะทำให้อัตราการเกิดโรค , อัตราการป่วยและอัตราการตายจากโรคมะเร็งลดลง
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโตนดด้วนปี พ.ศ.2561 กลุ่มเป้าหมายคัดกรองมะเร็งเต้านม 1,519 รายมีผู้ป่วยเป็นมะเร็งเต้านม 17 รายปี พ.ศ.2562 กลุ่มเป้าหมายคัดกรองมะเร็งเต้านม 1,414 รายมีผู้ป่วยเป็นมะเร็งเต้านม 17 ราย ปี พ.ศ.2563 กลุ่มเป้าหมายคัดกรองมะเร็งเต้านม 1,385 รายมีผู้ป่วยเป็นมะเร็งเต้านม 17 ราย ปี และพ.ศ.2564 กลุ่มเป้าหมายคัดกรองมะเร็งเต้านม 1,390 ราย ปีพ.ศ.2561 กลุ่มเป้าหมายคัดกรองปากมดลูก 1,115 รายมีผู้ป่วยเป็นมะเร็งปากมดลูก 11 ราย ปีพ.ศ.2562 กลุ่มเป้าหมายคัดกรองปากมดลูก 1,109 รายมีผู้ป่วยเป็นมะเร็งปากมดลูก 11 ราย ปีพ.ศ.2563 ปีพ.ศ.2564 กลุ่มเป้าหมายคัดกรองปากมดลูก 1,040 ราย ซึ่งในการตรวจมะเร็งปากมดลูกต้องใช้อุปกรณ์ในการตรวจ Pap Smear โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโตนดด้วนมีเครื่องมืออุปกรณ์ 30 ชุดชำรุด 3 ชุด ซึ่งไม่เพียงพอต่อกลุ่มเป้าหมายการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังป้องกันสตรีจากมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ในปีงบประมาณ 2564ขึ้นเพื่อติดตามการตรวจสุขภาพอย่างต่อเนื่องของผู้รับบริการโดยเน้นการตรวจPapSmear เชิงรุกค้นหาเซลล์มะเร็งได้ในระยะเริ่มแรกรวมถึงตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเบื้องต้นเพื่อการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคด้วยซึ่งจะเป็นแนวทางในการสกัดโรคก่อนลุกลาม

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อคัดกรองตรวจมะเร็งเต้านม ในกลุ่มสตรีอายุ 30-70 ปี

คัดกรองตรวจมะเร็งเต้านมในกลุ่มสตรีอายุ 30-70 ปี อย่างน้อย ร้อยละ 60

90.00 92.00
2 เพื่อคัดกรองตรวจมะเร็งปากมดลูก สตรีอายุ 30-60 ปี

1.คัดกรองตรวจมะเร็งปากมดลูก สตรีอายุ 30-60 ปี  อย่างน้อย ร้อยละ 40

40.00 41.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,390
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 31/07/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 คัดกรองในกลุ่มสตรีอายุ 30-70 ปี สำหรับการตรวจมะเร็งเต้านม

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองในกลุ่มสตรีอายุ 30-70 ปี สำหรับการตรวจมะเร็งเต้านม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าถ่ายเอกสาร  แบบบันทึกการตรวจ มะเร็งเต้านมจำนวน 1,390แผ่นๆละ
0.50  บาท เป็นเงิน 695บาท รวมเป็นเงิน  695 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 31 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คัดกรองตรวจมะเร็งเต้านมในกลุ่มสตรีอายุ 30-70 ปีอย่างน้อย ร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
695.00

กิจกรรมที่ 2 คัดกรองในกลุ่มสตรีอายุ 30-60 ปี สำหรับการตรวจมะเร็งปากมดลูก

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองในกลุ่มสตรีอายุ 30-60 ปี สำหรับการตรวจมะเร็งปากมดลูก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าถ่ายเอกสารแบบบันทึกการส่งตรวจ มะเร็งปากมดลูกจำนวน 1,040แผ่นๆละ 0.50บาท เป็นเงิน 520 บาท -ค่าชุดตรวจมะเร็งปากมดลูกราคาชุดละ1.,500 บาท จำนวน 20 ชุด เป็นเงิน30,000บาท ชุดตรวจมะเร็งปากมดลูกประกอบด้วย
  • SPECULUMเบอร์ M จำนวน 20 อัน
  • FORCEPขนาดกลาง จำนวน 20 อัน
  • ถ้วยขนาด 2ออนซ์ จำนวน 20 ถ้วย
    -ผ้าห่อเซ็ตสีเขียวขนาดกว้าง 50 ซมยาว50 ซม จำนวน 20 ผืน รวมเป็นเงิน 30, 520บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2564 ถึง 31 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คัดกรองตรวจมะเร็งปากมดลูก สตรีอายุ 30-60 ปี  อย่างน้อย ร้อยละ 40

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30520.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 31,215.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑.สามารถค้นหาความผิดปกติของเซลล์มะเร็งที่ปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรกได้
2.สตรีกลุ่มเป้าหมายทุกคนตระหนักในการตรวจมะเร็งเต้านมทุกเดือนและมะเร็งปากมดลูกปีละครั้ง
3.สตรีกลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อและรักษาอย่างถูกวิธี
๔.สตรีกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการมีระดับความเสี่ยงเป็นโรคลดลง


>