กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาชัยสน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร รพ.สต.บ้านโคกยา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาชัยสน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกยา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกยา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากข้อมูลกรมอนามัยพบว่าในปี 2562สถิติการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น อายุ 15-19 ปี คลอดบุตรเฉลี่ยวันละ 169 คน โดยมีวัยรุ่นอายุต่ำกว่า 15 ปี คลอดบุตรเฉลี่ยวันละ 6 คน เปรียบเทียบกับ ปี 2543 พบว่าวัยรุ่นอายุต่ำกว่า 20 ปี คลอดบุตรเฉลี่ยวันละ 240 คน และในอายุต่ำกว่า 15 ปี คลอดบุตรวันละ 4 คน ทั้งนี้ในปี 2562 พบว่า จำนวนหญิงคลอดอายุต่ำกว่า 20 ปี มีอยู่ 63,831 รายโดยแยกหญิงคลอดอายุระหว่าง 15-19 ปี มีจำนวน 61,651 ราย หญิงคลอดอายุต่ำกว่า 15 ปี มีจำนวน 2,180 ราย และยังพบว่าหญิงตั้งครรภ์ซ้ำและคลอดอายุต่ำกว่า 20 ปี มีถึง 5,222 ราย คิดเป็นร้อยละ 8.2ซึ่งสาเหตุสืบเนื่องจากส่วนใหญ่เยาวชนไม่มีความรู้เรื่องการคุมกำเนิด ขาดทักษะชีวิต ไม่รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจของตนเอง และสาเหตุที่สำคัญที่สุดคือความเจริญของเทคโนโลยี สื่อที่ทันสมัย ที่เอื้อต่อการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ประกอบกับระบบขัดเกลาทางสังคมระดับครอบครัวอ่อนศักยภาพลงเพราะพ่อแม่ผู้ปกครองต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ในการประกอบอาชีพ และคาดหวังว่าระบบการขัดเกลาของสถาบันการศึกษาสามารถทำหน้าที่ทดแทนครอบครัวได้แต่ในความเป็นจริงแล้ว ครอบครัวยังคงมีบทบาทสำคัญที่ต้องดูแลและขัดเกลาบุตรหลานและปัญหาดังกล่าวยังเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันหาแนวทางป้องกันและแก้ไข ปัจจุบันพบว่าเด็กและเยาวชนมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อยคืออายุประมาณ 12 ปี ซึ่งเด็กในวัยนี้ยังขาดวุฒิภาวะและความรับผิดชอบของตัวเอง ดังนั้นจึงมีความเสี่ยงด้านต่างๆ เช่น เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ (HIV)การทำแท้ง การคลอดบุตรแล้วนำไปทิ้งบุตรมีน้ำหนักเด็กแรกเกิดต่ำกว่า 2,500 กรัม และยังมีผลต่อการออกจากโรงเรียนกลางคัน รวมทั้งการไม่พร้อมต่อการเลี้ยงลูก กระทำความรุนแรงในครอบครัวครอบครัวแตกแยก และยังอาจจะเกิดปัญหาสังคมอื่นๆตามมาอีกมากมาย
ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกยาจำนวนวัยรุ่นเพศหญิงอายุ 15- 19 ปี ในเขตรับผิดชอบ จำนวน70 คน สถิติการตั้งครรภ์และคลอดบุตรในวัยรุ่น 15-19 ปี ย้อนหลัง 3 ปีพบว่าในปี 2561 จำนวน 1 คน ปี 2562 จำนวน3 คน และปี 2563 จำนวน 1 คนจากสถานการณ์ดังกล่าว จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการดำเนินงานแบบบูรณาการในบทบาทของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันปัญหาอันอาจจะเกิดขึ้นในเด็กและเยาวชนในอนาคต
ดั้งนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกยาร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.เขาชัยสนโรงเรียนในพื้นที่ จัดทำโครงการป้องการการตังครรภ์ก่อนวัยอันควร ประจำปี 2564 ขึ้น เพื่อเป็นการเสริมสร้างค่านิยมใหม่ให้กับวัยรุ่นไทยให้รู้จัก และเห็นคุณค่าของตัวเอง เป็นการป้องกันและแก้ไข้ปัญหาโรคที่มาจากเพศสัมพันธ์และการตังครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่นให้ลดน้อยลง และให้วัยรุ่นและเยาวชนสามารถดำรงชีวิตที่ถูกต้องห่างไกลปัญหาดังกล่าวต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมภูมิคุ้มกันให้เด็กวัยเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร

ร้อยละ 90 ของเยาวชนที่เข้ารับการอบรมมีความรู้เรื่องผลกระทบการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร

0.00
2 เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมและป้องกันโรคที่มาจากการมีเพศสัมพันธ์

ร้อยละ 95 ของเยาวชนในเขตรับผิดชอบไม่พบการตั้งครรภ์ไม่พร้อมและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้นักเรียนขั้น ป.4,5,6 โรงเรียนบ้านควนโคกยา ครู และแกนนำอสม.จำนวน 65 คน

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้นักเรียนขั้น ป.4,5,6 โรงเรียนบ้านควนโคกยา ครู และแกนนำอสม.จำนวน 65 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. อบรมให้ความรู้เรื่องเพศศึกษาและการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยเรียนและวัยรุ่น
  2. ให้ความรู้เรื่องบทบาททางเพศที่ต่างกันระหว่างชายและหญิง -   ค่าอาหารกลางวัน 65 คน x 50 บาท = 3,250 บาท -  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  65 คน x 25 บาท x 2 มื้อ = 3,250 บาท -  ค่าตอบแทนวิทยากร  6 ชั่วโมง x 300 บาท =   1,800 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เด็กมีทักษะและภูมิคุ้มกันในการจัดการที่เกี่ยวกับเรื่องเพศ 2.เด็กและเยาวชนในพื้นที่ไม่เกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และไม่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 8,300.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เด็กมีทักษะและภูมิคุ้มกันในการจัดการที่เกี่ยวกับเรื่องเพศ
2.เด็กและเยาวชนในพื้นที่ไม่เกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และไม่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร


>