กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาชัยสน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการลดแหล่งเพาะพันธ์พาหะนำโรค ม.8 บ้านหัวหรั่ง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาชัยสน

อสม.หมู่ที่8

1.นางส่อเปียะ ตุดบัตร
2.นายอุหมาด สมบัติทอง
3.นายวันชาติเพ็งโอ
4.นางเหราะปลอดทอง
5.นางสุภาวดี หมาดเส็ม

หมู่ที่ 8 ตำบลเขาชัยสน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

บ้านหัวหรั่ง หมู่ที่ 8 ตำบลเขาชัยสน อำเภอเขาชัยสน โดยแกนนำและประชาชน มีการร่วมกันทำประชาคมหมู่บ้านได้ปัญหาสุขาภิบาลสิงแวดล้อมโดยได้นำปัญหาไข้เลือดออกเข้ามาพิจารณาเพื่อหาแนวทางในการแก้ไข โดยชุมชนและทุกคนในชุมชนมีส่วนร่วมในการร่วมกันแก้ไขปัญหา โดยการมีส่วนร่วมและอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เช่น อบตผู้นำชุมชน อสม. และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขร่วมกันคิดกระบวนการ โดยได้มีข้อคิดเห็นและมีมติร่วมกันในการคิดกระบวนการในการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุง และสัตว์นำโรคที่วางไข่ในน้ำขัง โดยหาวิธีในการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์โดยการฝังกลบอย่างมีประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมจึงได้มีได้มีโครงการลดแหล่งเพาะพันธุ์พาหะนำโรคโดยคัดเลือกครัวเรือนเป้าหมายที่มีปริมาณขยะและมีปัญหาในการกำจัดเป็นหลัก เพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชน มีการติดตามประเมินผล หลังการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อกำจัดเศษวัสดุที่ขังน้ำได้ถูกวิธี

ครัวเรือนเป้าหมายสามารถแยกขยะได้ถูกต้อง

0.00
2 เพื่อสร้างหลุมเก็บขยะที่มีประโยชน์ต่อระบบน้ำใต้ดิน

ครัวเรือนเป้าหมายสร้างหลุมเก็บขยะ และสามารถบอกประโยชน์ได้

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำหลุมขยะ รักษาน้ำ

ชื่อกิจกรรม
1.กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำหลุมขยะ รักษาน้ำ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดประชุม คัดเลือกครัวเรือนเป้าหมาย 2 เลือกกรรมการในการดำเนินโครงการ และกำหนดหน้าที่ของกรรมการแต่ละฝ่าย จัดตั้งกลุ่มจิตอาสา 3 วางแผนการดำเนินกิจกรรมในชุมชน 4 จัดตารางการออกปฏิบัติงาน ค่าอาหารกลางวัน 50 บ.x50คน = 2,500 บาท
ค่าอาหารว่าง 2 มื้อ มื้อละ 25บาทx50คน = 2,500 บาท
ค่าวิทยากร 6 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 300 บาทx1 คน รวม  1,800 บาท ค่าวัสดุ 1,200 บาท
รวม 8,๐๐๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนกำจัดขยะที่เป็นแหล่งเพาะพันธ์พาหะนำโรคได้ถูกต้อง เหมาะสม
  2. ประชาชนสามารถจัดการเศษวัสดุ ก่อสร้าง แก้ว  กระเบื้องได้ ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม 3.ดัชนีลูกน้ำยุงลายในชุมชนลดลง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 8,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>