กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาละ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพลังหนูน้อยและชุมชนคนบาละ ห่างไกลโรค NCD

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาละ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาละ

นางสาวสูกายนาห์ดูละสะ

1.โรงเรียนบ้านบาละ 2.โรงเรียนบ้านคชศิลา 3.โรงเรียนบ้านลาแล4. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาละ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันโรคไม่ติดต่อ เช่น โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคเบาหวาน กำลังเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศไทยที่รุมเร้า และคร่าชีวิตของมนุษย์มากขึ้น ดูได้จากอัตราการเสียชีวิตในโรคดังกล่าวที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง คนไทยเป็นโรคความดันโลหิตสูงไม่น้อยกว่า 12 ล้านคน แต่มีผู้เข้าถึงการรักษาและขึ้นทะเบียนเพียง 4 ล้านคน ซึ่งควบคุมความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ได้เพียงร้อยละ 29.7 แสดงให้เห็นว่า มาตรการป้องกันและควบคุมโรคความดันโลหิตสูงที่ผ่านมา ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้ความดันโลหิตในคนไทยลดลง ยังเกิดโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น ที่ป่วยแล้วยังเข้าไม่ถึงบริการมากกว่าครึ่งตลอดจนการวินิจฉัย/การรักษาก็ยังไม่ดีเท่าที่ควร
สถานการณ์โรคไม่ติดต่อของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาละ พบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 134 ราย โรคความดันโลหิตสูง 347 ราย ซึ่งพบว่าทั้งโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง มีอัตราป่วยค่อนข้างสูง สาเหตุการเกิดโรคส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย พบมากในคนที่อายุ 40 ปีขึ้นไป แต่ปัจจุบันตังแต่ปี พ.ศ.2560 – พ.ศ.2564พบในกลุ่มอายุต่ำสุด อายุ 22 ปี ทำให้ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาละได้วิเคราะห์ปัญหาดังกล่าวเพื่อนำมาใช้ในการแก้ปัญหาดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาละ ได้เล็งเห็นความสำคัญของการให้ความรู้ในทุกกลุ่มอายุ การค้นหาผู้ป่วยและการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรค โดยเน้นการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มุ่งเน้นการปฏิบัติตัว การบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย ฝึกทักษะการดูแลตนเองของผู้ป่วยร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ญาติผู้ป่วย และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.)

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กนักเรียนได้รับการเฝ้าระวังป้องกันโรคไม่ติดต่อและแก้ไขปัญหาเด็กอ้วน

 

0.00
2 เพื่อให้นักเรียนรู้วิธีการดูแลสุขภาพด้าน 3 อ.

 

0.00
3 เพื่อกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงและเบาหวานได้มีความรู้ในการปฏิบัติตัว

 

0.00
4 เพื่อสุ่มบ้านพร้อมลงให้ข้อมูลการบริโภคเครื่องปรุงในครัวเรือน

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมเฝ้าระวังน้ำหนักเด็ก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเฝ้าระวังน้ำหนักเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าไวนิล จำนวน 4 ผืน ขนาด 1.2 เมตร x 2.4 เมตร x 250 บาทจำนวน 4 รายการ                 เป็นเงิน 2,880.-บาท
         1.1.ไวนิล โครงการ
         1.2. ไวนิลเรื่องอาหาร
         1.3.ไวนิลเรื่องการออกกำลังกาย
         1.4 ไวนิลเรื่องอารมณ์   2. กลุ่มเด็กนักเรียน จำนวน 50 คน

  2. กลุ่มเด็กนักเรียน จำนวน 50 คน               2.1 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆละ 25 บาท 2 มื้อ              เป็นเงิน  2,500 บาท

  3. กลุ่มเสี่ยง อายุ 35 ปีขึ้นไป 6 หมู่บ้าน จำนวน 150 คน  หมู่บ้านละ 25 คน (6 วันๆละ 25 คน)       3.1 ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 150 คนๆละ 60 บาท                               เป็นเงิน 9,000 บาท               3.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 150 คน ๆละ 25 บาท  2 มื้อ          เป็นเงิน  7,500 บาท
  4. ค่าสมนาคุณวิทยากร ๓ ชม.ๆ ๓๐๐ บาท 3 วัน                                                เป็นเงิน  2,700 บาท

                       รวมเป็นเงิน 24,580.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24580.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 24,580.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

อัตราการป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อลดลง และไม่เกิดโรคในกลุ่มอายุที่น้อยกว่า 35 ปีกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง และเบาหวานสามารถควบคุมเพื่อไม่ให้ได้รับการวินิจฉัยโรคไม่ติดต่อ และกลุ่มป่วยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนได้


>