กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางเขา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมให้ความรู้หลักสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้ประกอบกิจการด้านอาหารและผู้สัมผัสอาหาร

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางเขา

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมอบต.บางเขา

ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอหนองจิก อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 ซึ่งเป็นกฎหมายบัญญัติเกี่ยวกับการควบคุมดูแลเพื่อคุ้มครองประชาชนด้านสุขลักษณะและอนามัยสิ่งแวดล้อมจากการประกอบกิจการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัยของประชาชน โดยให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นในการควบคุมดูแลจัดเก็บค่าธรรมเนียมใบอนุญาต การสั่งพักใช้เพื่อเพิกถอนใบอนุญาตและผู้ที่จะดำเนินการประกอบกิจการต้องขออนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อนดำเนินการเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่ากิจกรรมดังกล่าวจะไม่ก่อเหตุเดือดร้อนรำคาญหรืออันตรายต่อสุขภาพของประชาชน ได้แก่ กิจการตลาด ร้านอาหาร ร้านสะสมอาหาร และกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพที่อาจส่งผลกระทบต่อการแพร่ระบาดของโรคแลสุขภาพของประชาชนผู้บริโภค จึงจำเป็นต้องการควบคุมหรือกำกับดูแลการประกอบกิจการดังกล่าว
จากการดำเนินการสำรวจข้อมูลสถานประกอบกิจการในเขตตำบลบางเขา ทั้งหมด 7 หมู่บ้าน ในปีงบประมาณ 2563 พบว่ามีร้านทั้งหมด 30 แห่ง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นร้านขายของชำ ร้านอาหาร และแผงลอยจำหน่ายอาหาร โดยหลักแล้วจะเกี่ยวกับด้านอาหารเป็นส่วนใหญ่ เพราะอาหารเป็นหนึ่งในปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตและตามที่มีสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ปัจจุบันนี้ถึงแม้ว่าจำนวนผู้ป่วยลดลง รัฐบาลได้มีการประกาศให้ร้านอาหารปิดกิจการชั่วคราวได้กลับมาเปิดร้านใหม่อีกครั้ง แต่การเปิดร้านในครั้งนี้จะมีหลายสิ่งหลายอย่างที่เปลี่ยนไปกลายมาเป็นมาตรฐานใหม่ที่เรียกว่า New Nomal ซึ่งผู้ประกอบการจำเป็นต้องปฏิบัติและปรับตัวให้เคยชินภายใต้มาตรการควบคุมโรคตดเชื้อโควิด-19 สิ่งสำคัญที่สุดในการป้องกันเชื้อโรคและเชื้อไวรัส ได้แก่ มาตรการป้องกันและการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง มาตรการด้านความสะอาดภายในร้าน สุขลักษณะของสถานที่ประกอบการอาหาร เตรียมอาหาร และปรุงอาหาร การล้างภาชนะอุปกรณ์ต่างๆ ตลอดจนการดูแลความสะอาดบริเวณที่มีการสัมผัสร่วมกัน เป็นต้น ตามประกาศ กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหารต้องผ่านการอบรมตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงสุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ. 2561 ตลอดจนประกอบกิจการโดยได้รับใบอนุญาตถูกต้อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงมีบทบาทหน้าที่ต้องเข้ามาควบคุม กำกับ สุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหารให้ปฏิบัติตามข้อกำหนดในกฎกระทรวง
ดังนั้นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในฐานะหน่วยงานจัดอบรมผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร โดยอาศัยอำนาจพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2562 มาตรา 50 ข้อ (4)ป้องกันและระงับโรคติดต่อและพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล อาศัยอำนาจหน้าที่ตามมาตรา 66 ข้อ (3) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อได้ดำเนินการบูรณางบประมาณร่วมกันได้แก่ ค่าวิทยากร ค่าห้องประชุม และค่าป้ายโครงการและค่าอื่นๆที่เกี่ยวข้องในการจัดอบรมให้ผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหารในพื้นที่อำเภอหนองจิกระหว่าง สาธารณสุขอำเภอหนองจิกและองค์กรปกครองในพื้นที่อำเภอหนองจิก ได้แก่ เทศบาลตำบลหนองจิก, องค์การบริหารส่วนตำบลยาบี,องค์การบริหารส่วนตำบลตุยง,องค์การบริหารส่วนตำบลบางตาวาและองค์การบริหารส่วนตำบลบางเขา เพื่อการควบคุมดูแลให้ผู้ประกอบการและผู้สัมผัสอาหารที่เกี่ยวข้องได้ตระหนักถึงความสำคัญและให้ความร่วมมือในการปรับปรุงและพัฒนายกระดับสถานประกอบการให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน ด้านสุขาภิบาลอาหารและเป็นการสร้างความรู้แก่ผู้ประกอบการและผู้สัมผัสอาหารให้ตระหนักถึงความสำคัญของการเลือกซื้ออาหารที่เหมาะสมมันจะส่งผลให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัย องค์การบริหารส่วนตำบลบางตาวา จึงได้จัดโครงการอบรมให้ความรู้ ผู้ประกอบการร้านค้าในชุมชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้รับการอบรม มีความรู้เรื่องสุขาภิบาลอาหารและอันตรายที่เกิดจากอาหารและน้ำที่ไม่สะอาด ปลอดภัย

 

0.00
2 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้ และปฏิบัติตามข้อกำหนด/มาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหาร

 

0.00
3 เพื่อให้ความรู้ในด้านสุขาภิบาลอาหาร สุขลักษณะ และสุขอนามัยในกลุ่มผู้สัมผัสอาหาร

 

0.00
4 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้เบื้องต้นในขั้นตอนการตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหาร ภาชนะ อุปกรณ์ และมือผู้สัมผัสอาหาร ของร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร และผู้ปรุงอาหารในโรงเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 28
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้หลักสูตรการอบรมผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้หลักสูตรการอบรมผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้หลักสูตรการอบรมผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องหลักเกณฑ์ และวิธีการจัดการอบรมผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร พ.ศ.2561 ข้อ 15 และ ข้อ 16 1.ผู้ประกอบกิจการ -ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 3 คนๆละ 50 บาท/มื้อ จำนวน 1 มื้อเป็นเงิน 150.-บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 3 คนๆละ 25 บาท/มื้อ จำนวน 2 มื้อเป็นเงิน 150.-บาท -ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 คนๆละ 3 ชั่วโมงๆละ 120 บาท เป็นเงิน 720.-บาท -ค่าอุปกรณ์ประกอบการอบรมและผ้ากันเปื้อนพร้อมหมวก จำนวน 3 ชุดๆละ 200 บาท เป็นเงิน 600.-บาท 2.ผู้สัมผัสอาหาร -ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 25 คนๆละ 50 บาท/มื้อ จำนวน 1 มื้อเป็นเงิน 1,250.-บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 25 คนๆละ 25 บาท/มื้อ จำนวน 2 มื้อเป็นเงิน 1,250.-บาท -ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 คนๆละ 2 ชั่วโมงๆละ 120 บาท เป็นเงิน 480.-บาท -ค่าอุปกรณ์ประกอบการอบรมและผ้ากันเปื้อนพร้อมหมวก จำนวน 25 ชุดๆละ 200 บาท เป็นเงิน 5,000.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 31 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ประกอบกิจการมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องสุขาภิบาลอาหาร กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบกิจการด้านอาหารและสามารถนำไปปฏิบัติตามข้อกำหนดได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 9,600.00 บาท

หมายเหตุ :
ถัวเฉลี่ยทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เรื่องสุขาภิบาลอาหารและอันตรายที่เกิดจากอาหารและน้ำที่ไม่สะอาดปลอดภัย
2.ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้และปฏิบัติได้ตามข้อกำหนด/มาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหาร
3.ผู้เข้ารับการอบรมความรู้ในด้านสุขาภิบาลอาหาร สุขลักษณะ และสุขอนามัยในกลุ่มผู้สัมผัสอาหาร


>