กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลเขาเจียก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันการจมน้ำในเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน ตำบลเขาเจียก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลเขาเจียก

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเขาเจียก

นางสาวศุภกานต์ สังฉิม

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเขาเจียก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1

ร้อยละของเด็กกลุ่มเสี่ยง2-5ปีมีความรู้และทักษะในการช่วยเหลือตนเองในการจมน้ำ

90.00
2 ร้อยละของผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็กที่มีความรู้และทักษะในการช่วยเหลือเด็กจมน้ำตามหลักช่วยเหลือสากล

 

20.00

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 - 2559 ข้อมูลการเสียชีวิตจากใบมรณบัตร รวบรวมโดยกองยุทธศาสตร์และแผนงาน สํานักงานปลัดกระทรวง สาธารณสุข พบมีจํานวนผู้เสียชีวิตจากการตกน้ำ จมน้ำ (ทุกกลุ่มอายุ) อยู่ในช่วง 3,250 – 4,098 คนต่อปี หรือเฉลี่ยปีละ 3,846 คน อัตราการเสียชีวิตต่อประชากรแสนคน เท่ากับ 5.0 - 6.5 สําหรับในกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จํานวนการเสียชีวิตอยู่ในช่วง 713 - 1,297 คน หรือเฉลี่ยปีละ 1,016 คน แต่หลังจากปี พ.ศ. 2558 เป็นต้นมา พบว่ากลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี เป็นกลุ่มที่เสียชีวิตสูงที่สุด สำหรับในพื้นที่ตำบลเขาเจียกแม้จะไม่พบเด็กเสียชีวิตจากการจมน้ำแต่ก็พบพื้นที่เสี่ยงทั้งคลองชลประทานและคลอง เพื่อเป็นการป้องกันการจมน้ำในเด็กจึงควรสอนให้เด็กรู้จักแหล่งน้ำเสี่ยง เน้นการสอน “อย่าใกล้ อย่าเก็บ อย่าก้ม”และการให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการจมน้ำแก่ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็กรวมถึงการจัดพื้นที่เล่นที่ปลอดภัยให้แก่เด็ก ซึ่งทางองค์การอนามัยโลกระบุว่าเป็นมาตรการที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเขาเจียก จึงได้จัดทำโครงการป้องกันการจมน้ำในเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียนขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กกลุ่มเสี่ยง2-5ปีมีความรู้ทักษะในการว่ายนำ้

ร้อยละของเด็กกลุ้มเสี่ยง2-5ปีมีความรู้ในการว่ายนำ้

90.00 0.00
2 เพื่อให้ครู/บุคลากรทางการศึกษา/ผู้ปกครองมีความรู้ในการช่วยเหลือชีวิตจากการจมนำ้ตามหลักการช่วยเหลือสากล

ร้อยละของผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็กที่มีความรู้และทักษะในการช่วยเหลือเด็กจมน้ำตามหลักช่วยเหลือสากล

20.00 90.00
3 เพื่อป้องกันการจมนำ้ในเด็กปฐมวัยอายุ2-5ปี

ร้อยละของเด็กปฐมวัย2-5ไม่จมนำ้

100.00
4 เพื่อให้ทุกคนได้ทำกิจกรรมร่วมกันเกิดความรักความสามัคคี

ร้อยละของเด็กและผู้ปกครอง/บุคลากรทางการศึกษามีความรักความสามัคคี

100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 30
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ดูแลเด็กและบุคลากรทางการศึกษา 10
ผู้ปกครองเด็ก 30

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมวางแผนการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมวางแผนการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมครูผู้ดูแลเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเขาเจียกเพื่อออกแบบโครงการป้องกันการจมนำ้ในเด็กเล็ก

ระยะเวลาดำเนินงาน
13 มกราคม 2564 ถึง 13 มกราคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้ แก่ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก และเด็ก เกี่ยวกับมาตรการในการป้องกันการจมน้ำ การฟื้นคืนชีพ และการปฐมพยาบาลอย่างถูกวิธี

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ แก่ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก และเด็ก เกี่ยวกับมาตรการในการป้องกันการจมน้ำ การฟื้นคืนชีพ และการปฐมพยาบาลอย่างถูกวิธี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าป้ายไวนิลโครงการขนาด 1.5*2 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 510 บาท
  • ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 4 คน ๆ ละ 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 7,200 บาท
  • ค่าอาหารกลางวันผู้ปกครอง/คณะกรรมการบริหารศูนย์พัมนาเด็กเล็ก/ผู้ดูแลเด็กและบุคลากรทางการศึกษาและผู้ดำเนินงาน 1 มื้อ จำนวน 40 คน ๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้ปกครอง/คณะกรรมการบริหารศูนย์พัมนาเด็กเล็ก/ผู้ดูแลเด็กและบุคลากรทางการศึกษาและผู้ดำเนินงาน 2 มื้อ จำนวน 40 คน ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
23 เมษายน 2564 ถึง 23 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก และเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเขาเจียกมีความรู้เกี่ยวกับมาตรการในการป้องกันการจมน้ำ การฟื้นคืนชีพ และการปฐมพยาบาลอย่างถูกวิธี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11710.00

กิจกรรมที่ 3 สาธิตการฟื้นคืนชีพ การปฐมพยาบาลอย่างถูกวิธี กรณีเกิดเหตุการณ์เด็กจมน้ำ

ชื่อกิจกรรม
สาธิตการฟื้นคืนชีพ การปฐมพยาบาลอย่างถูกวิธี กรณีเกิดเหตุการณ์เด็กจมน้ำ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าเช่าบริการสระว่ายน้ำโรงเรียนอารียาศึกษา เป็นเงิน 3,500 บาท
  • ค่าอุปกรณ์ในการสาธิตการช่วยเหลือเด็กจมน้ำ เช่น ลูกบอล ห่วงยาง เชือก ท่อพีวีซี ฯลฯ เป็นเงิน 1,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
23 เมษายน 2564 ถึง 23 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครอง และครูผู้ดูแลเด็กมีทักษะในการฟื้นคืนชีพ การปฐมพยาบาล และการช่วยเหลือเด็กจมน้ำ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,710.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ครู/บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง มีความรู้เรื่องการป้องกันการจมนำ้ในเด็ก2-5ปี
2. ครู/บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครองมีความรู้เรื่องการป้องกันการจมนำ้ในเด็ก2-5ปีและสามารถถ่ายทอดความรู้แก่บุคคลอื่นได้
3. ผู้ปกครองและชุมชนมีความตื่นตัวตระหนักถึงเรื่องการเสียชีวิตจากการจมนำ้
4. เด็กนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีทักษะการเอาตัวรอดจากการจมนำ้และว่ายนำ้เป็นทุกคน


>