กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาละ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการบาละวัยใส ไม่ท้องก่อนวัย ทักษะชีวิตดีมีอนาคต

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาละ

สภาเด็กและเยาวชน

นายชาญวิทย์ พลอยสมบุญ

โรงเรียนผู้สูงอายุตำบลบาละ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

“การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น” กรมอนามัยได้กำหนดนิยาม หมายถึง จำนวนการคลอดบุตรมีชีวิตของหญิงอายุ 15 - 19 ปี หรือ 10 - 14 ปี ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นเรื่องที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ โดยองค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้การลดอัตราการคลอดในวัยรุ่นอายุ 15 - 19 ปี (Adolescent birth rate) เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่นานาชาติต้องบรรลุให้ได้ภายในปี พ.ศ.2573 โดยได้กำหนดให้การลดอัตราการคลอดในวัยรุ่นอายุ 10 - 14 ปี และอายุ 15 - 19 ปี เป็นหนึ่งในการบรรลุเป้าหมายที่ 3 ว่าด้วยการสร้างหลักประกันให้คนมีชีวิตที่มีคุณภาพและส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของคนทุกเพศทุกวัย การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นไม่เพียงแต่เป็นปัญหาด้านสุขภาพ แต่ยังเป็นปัญหาด้านประชากรที่ส่งผลต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอีกด้วย
สถานการณ์ปัญหาเด็กและเยาวชนที่ เป็นผลมาจากสภาพแวดล้อม ในปัจจุบันมีความ รุนแรงและซับซ้อนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะปัญหา การตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น ซึ่งองค์การอนามัย โลก (WHO) เปิดเผยเกี่ยวกับสถานการณ์การ ตั้งครรภ์ของหญิงอายุต่ำกว่า 20 ปี ทั่วโลกในปี 2556 โดยประเทศไทยมีจำนวนสูงถึง 74 : 1,000 หญิงอายุ 15 – 19 ปีซึ่งเป็นอันดับ 2 ในประเทศ กลุ่มอาเซียน จากปัญหาดังกล่าวประเทศไทยได้ มีความตระหนักต่อปัญหาและได้มียุทธศาสตร์ใน การแก้ไขปัญหาและดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อัตราการตั้งครรภ์วัยรุ่นลดลง ทั้งนี้ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและปัญหาการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่นที่ยังคงมีความสำคัญที่นานาชาติและประเทศไทยให้ความสำคัญ นับตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมา อัตราการเกิดของประเทศไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง จนนำไปสู่การคาดการณ์และเตรียมความพร้อมในการเป็นสังคมผู้สูงอายุ ขณะเดียวกันกลับมีข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่าในรอบสิบปีที่ผ่านมา วัยรุ่นหญิงมีอัตราการคลอดที่เพิ่มขึ้น โดยในปี 2555 มีหญิงไทยคลอดทั้งสิ้น 801,777 ราย ในจำนวนนี้เป็นการคลอดของวัยรุ่นหญิงวัยรุ่นหญิงอายุ 15 - 19 ปี จำนวน 129,451 ราย หรือคิดเป็นอัตราการคลอดของวัยรุ่นหญิง 53.8 ราย ต่อประชากรวัยเดียวกัน 1,000 ราย เพิ่มขึ้นจาก 31.1 ราย ต่อ 1,000 รายในปี 2543 จากสถานการณ์ดังกล่าว ส่งผลให้การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นได้รับการกำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้กำหนดนโยบายที่มุ่งเน้นการ “บูรณาการ” ทุกภาคส่วน ที่ต้องอาศัยความร่วมมืออย่างจริงจัง เป็นไปตามนโยบายและยุทธศาสตร์พัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2553 - 2557) ที่เน้นการพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์ที่ดีในกลุ่มประชากรวัยรุ่นและเยาวชนก่อน ซึ่งจะส่งผลต่อการลดการตั้งครรภ์ การติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และเอดส์ในประชากรวัยนี้ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเร่งการดำเนินงานแบบบูรณาการในบทบาทที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
สภาเด็กและเยาวชนตำบลบาละเล็งเห็นถึงความสำคัญของการป้องกันปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่พร้อม ขาดความรู้ในการป้องกันทั้งก่อนและหลังการมีเพศสัมพันธ์ส่งผลให้เกิดการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ซึ่งเสี่ยงต่อการทำแท้งผิดกฎหมาย และ ส่งผลกระทบต่อเด็กที่จะเกิดมา คือ ทารกในครรภ์เติบโตช้า การคลอดก่อนกำหนด ทารก น้ำหนักตัวน้อย ภาวะทุพโภชนาการ ครรภ์เป็น พิษ ติดเชื้อและตกเลือดหลังคลอด และยังพบ ปัญหาการทำแท้งและทิ้งลูกในกลุ่มแม่วัยรุ่นอยู่ บ่อยครั้ง นอกจากด้านสุขภาพแล้วยังส่งผล กระทบด้านการศึกษาเมื่อตั้งครรภ์ส่วนใหญ่ จะขาดโอกาสในการศึกษา ด้านสังคมและ เศรษฐกิจ ส่วนใหญ่วัยรุ่นยังไม่มีอาชีพจึงขาด รายได้ครอบครัวแตกแยก และเป็นภาระของ ครอบครัวหลักถ้าไม่ได้รับการแก้ไขปัญหาอย่าง แท้จริง การพัฒนาคุณภาพประชากรต้องเริ่ม ตั้งแต่การเกิด โดยมีการเตรียมความพร้อมพ่อแม่ ก่อนตั้งครรภ์ดูแลครรภ์ขณะคลอด และหลัง คลอดทั้งแม่และทารก การเกิดที่มีคุณภาพจะต้อง เป็นผลมาจากการตั้งครรภ์ที่ผู้หญิงมีความพร้อม และตั้งใจ การมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนนอกจาก เป็นสาเหตุการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และเอดส์เพิ่มขึ้นด้วย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตในการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในวัยรุ่น

 

0.00
2 เพื่อให้เด็กเยาวชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องเพศศึกษาและพัฒนาการขอตนเองเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น

 

0.00
3 เพื่อให้เยาวชนตระหนักถึงความสำคัญของการเห็นคุณค่าในตนเองแลสร้างความภาคภูมิใจในตนเอง

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับปัญหาและวิธีป้องกันการตั้งครรภไม่พร้อมในวัยรุ่น

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับปัญหาและวิธีป้องกันการตั้งครรภไม่พร้อมในวัยรุ่น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน ๆ 60 บาท= 3,000.- บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน ๆ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ = 2,500.- บาท
  • ค่าวิทยากรในการจัดอบรม 500 บาท x 5 ชั่วโมง x 1 วัน = 2,500.- บาท
    รวมเป็นเงิน8,000.-บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8000.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับปัญหาและวิธีป้องกันการตั้งครรภไม่พร้อมในวัยรุ่น

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับปัญหาและวิธีป้องกันการตั้งครรภไม่พร้อมในวัยรุ่น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่มจำนวน 50 คน ๆ 60= 3,000.- บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน ๆ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ = 2,500.- บาท
  • ค่าวิทยากรในการจัดอบรม 500 บาท x 5 ชั่วโมง x 1 วัน = 2,500.- บาท
  • ค่าไวนิลโครงการ ขนาด 1.2 เมตร x 2.40 เมตร = 720.-บาท
    รวมเป็นเงิน 8,720.-บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8720.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,720.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เยาวชนได้มีความรู้ความเข้าใจและสามารถป้องกันการมีเพศสมพันธ์และการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร
2. เยาวชนและชุมชนเกิดความกระหนักในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสมพันธ์และการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร
3. เยาวชนมีร่วมในการดำเนินกิจกรรมเพื่อการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสมพันธ์และการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร


>