กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนสตอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนกลุ่มป่วย อสม.ร่วมใจวัดความดันที่บ้าน ปี2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนสตอ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกุบังปะโหลด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ จำเป็นจะต้องมีการจัดการอย่างเป็นระบบ เนื่องจากเป็นโรคที่ต้องดูแล รักษาอย่างต่อเนื่อง มีค่าใช้จ่ายที่สูงและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องซึ่งปัจจัยของการเกิดโรคประกอบไปด้วยหลายๆปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลง สภาวะเศรษฐกิจและสังคมที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว วัฒนธรรมตะวันตก ภาวะการณ์ทำงานที่เร่งรีบ เป็นต้นส่งผลให้ประชาชนมีภาวะเสี่ยงและป่วยต่อการป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ไม่ว่าจะเป็นความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจซึ่งโรคต่างๆ เหล่านี้ สามารถป้องกันได้ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยอาศัยหลัก 3 อ2ส และการติดตามวัดความดันโลหิตสูงที่บ้าน เพื่อให้ผู้ป่วยรู้ค่าความดันที่แท้จริง เพื่อการปรับเปลี่ยนเพื่อลดระดับความดันโลหิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นส่วนสถานการณ์โรคไม่ติดต่อในปัจจุบันปี2563 รพสต.บ้านกุบังปะโหลด มีผู้ป่วยโรคเบาหวานจำนวน16 คนความดันโลหิตสูง100คนผู้ป่วยที่เป็นทั้งความดันและเบาหวาน 86คน โดย โรคความดันโลหิตสูงมีอัตราเพิ่มจากปี 2563 ร้อยละ 5.26 โรคเบาหวาน เพิ่มร้อยละ5.31
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกุบังปะโหลดเห็นความสำคัญ ของการวัดความดันโลหิตที่บ้าน ซึ่งเป็นการตรวจร่างกายที่สำคัญอย่างหนึ่ง เกี่ยวกับสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดเบื้องต้น ซึ่งทำได้ภายในเวลารวดเร็ว โดยไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดใด ๆ การวัดทำโดยสอดแขนจนสุดต้นแขนเข้าไปในเครื่องอัตโนมัติ แล้วผ้าพันรอบแขนสูบลมให้ผ้าพองขึ้นจนเกิดแรงบีบในขณะหัวใจบีบตัวและคลายตัว ที่แขน จากนั้นลมปล่อยออกคลายตัวและรอดูค่าความดันที่จะปรากฏคงที่ในเวลาต่อมา ภาวะความดันโลหิตสูง มักไม่มีอาการบ่งบอก ผู้ป่วยอาจไม่เคยรู้ตัวจนกระทั่งได้รับการตรวจความดันโลหิตเบื้องต้น เมื่อเข้ารับการรักษาหรือตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาล การตรวจพบภาวะความดันโลหิตสูงและรับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ นั้นสามารถป้องกันการเกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไตเรื้อรัง รวมถึงโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับตาได้ การวัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้านของคนไข้ในเขตรพ.สต.บ้านกุบังปะโหลด ยังมีเครื่องวัดความดันโลหิตที่ยังไม่เพียงพอ และผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่ไม่มีกำลังทรัพย์ ในการจะมีเครื่องวัดความดันโลหิตส่วนตัว ดังนั่นการสอนญาติผู้ดูแล การสอนผู้ป่วยที่สามารถวัดได้เองจึงเป็นสิ่งสำคัญ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกุบังปะโหลดจึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนกลุ่มป่วย อสม.ร่วมใจวัดความดันที่บ้าน ปี2564 โดยจะจัดให้มีกิจกรรมปรับเปลี่ยนในกลุ่มป่วยแก่ญาติผู้ดูแล หรือผู้ป่วย ควบคู่กับการติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้าน 7วัน โดยให้อสม ที่ผ่านการอบรมการวัดความดันโลหิตที่บ้านสอนผู้ป่วยหรือผู้ดูแลในเขตบ้านที่รับผิดชอบเพื่อการติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้าน 7 วัน โดยวัดตอนตื่นนอนตอนเช้า 2 ครั้ง และก่อนเข้านอน 2 ครั้ง เอาค่าที่ได้มาเฉลี่ย หากยังเกิน 140/90 มิลลิเมตรปรอท จะต้องมีการปรับยา หากสูงมากส่งกลับรพ.ควนโดนแม่ข่ายเพื่ออยู่ในการดูแลของแพทย์ ตามแนวทางปฏิบัติที่รพ.แม่ข่ายกำหนดไว้เพื่อประสิทธิภาพ ของการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้องรังความดันโลหิตสูงในเขตรับผิดชอบของรพ.สต.บ้านกุบังปะโหลด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. เพื่อให้ความรู้ผู้เข้าอบรมในเรื่อง 3อ2ส. ข้อที่ 2. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการประเมินพฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2ส.ที่พึงประสงค์ของคนไทย โดยกองสุขศึกษา ข้อที่3 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้วัดความดันโลหิตที่บ้าน

ข้อที่ 1.ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้ในเรื่อง 3อ2ส.เพิ่มขึ้น ร้อยละ80
ข้อที่ 2.กลุ่มเป้าหมายได้รับการประเมินพฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2ส.ที่พึงประสงค์ของคนไทย โดยกองสุขศึกษา ร้อยละ 100 ข้อที่ 3.กลุ่มป่วยได้รับการวัดความดันโลหิตที่บ้านร้อยละ50

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 20/01/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการปรับเปลี่ยนกลุ่มป่วย อสม.ร่วมใจวัดความดันที่บ้าน ปี2564

ชื่อกิจกรรม
โครงการปรับเปลี่ยนกลุ่มป่วย อสม.ร่วมใจวัดความดันที่บ้าน ปี2564
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.กิจกรรม เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ โครงการ ฯให้แก่กลุ่มเป้าหมายและภาคีเครือข่าย  -ค่าวัสดุในการจัดอบรม 600   บาท
2.อบรมความรู้ โรคความดันโลหิตสูง การวัดความดันโลหิตสูงที่บ้านแก่อสม การสาธิตย้อนกลับการวัดความดันโลหิตสู่การปฏิบัติ - ค่าอาหารกลางวัน มื้อละ 50 บาท  จำนวน 1 มื้อ จำนวน 38 คน          เป็นเงิน 1,900  บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อๆละ25 บาทจำนวน 38 คน       เป็นเงิน 1,900  บาท รวมเป็นเงิน 3,800 บาท
2.กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มป่วย โดยให้ความรู้หลัก 3อ2ส. ในกลุ่มป่วยและญาติผู้ดูแล     - ค่าอาหารกลางวัน มื้อละ 50 บาท  จำนวน 1 มื้อ จำนวน 50 คน          เป็นเงิน 2,500  บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2มื้อๆละ25 บาทจำนวน 50 คน       เป็นเงิน 2,500  บาท รวมเป็นเงิน 5,000 บาท
3.จัดซื้อเครื่องวัดความดัน จำนวน 4 เครื่อง กิจกรรมวัดความดันโลหิตที่บ้าน  เครื่องวัดราคาเครื่องละ2,900 บาท จำนวน 4 เครื่อง เป็นเงิน 11,600
4. ผู้เข้าร่วมโครงการวัดความดันโลหิตที่บ้าน 7 วัน
5. กิจกรรมการติดตามวัดความดันโลหิตที่ รพ.สต 3 เดือนครั้ง
    รวม ……………21,000……..บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.จำนวนผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ที่ควบคุมความดันโลหิตสูงได้ดีมากร้อยละ 50
2.ผู้ป่วยได้รับการติดตามและประเมินสุขภาพทุก 3 เดือน


>