กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บือมัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

อบรมผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร ตามกฎกระทรวงสุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ.2561

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บือมัง

สำนักปลัด องค์บริหารส่วนตำบลบือมัง

ตำบลบือมัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วง Diarrhea หรือ Gastroenteritis ของประชากรตำบลบือมัง (ครั้ง)

 

933.00

จากข้อมูลสถิติการป่วยด้วยโรคติดต่อที่สำคัญในตำบลบือมัง ของกลุ่มรายงานมาตรฐาน ข้อมูลคลังสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข พบว่า ในปี 2560 – 2562 ป่วยด้วยโรคอุจาระร่วง Diarrhea , Gastroenteritis จำนวน 936 , 1,312 , 933 ครั้ง ตามลำดับ ซึ่งสุขลักษณะของอาหารและสถานที่จำหน่ายอาหาร มีความจำเป็นที่จะสามารถลดปัญหาที่เกิดจากขาดพร่องสุขอนามัยและสุขลักษณะของผู้ประกอบกิจการหรือผู้สัมผัสอาหารได้
ประกอบกับกฎกระทรวงสุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ.2561 ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยหมวด 4 สุขลักษณะส่วนบุคคลของผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร ข้อ 21 (2) ผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหารต้องผ่านการอบรมตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่รัฐมนตรีโดยคำแนะนำคณะกรรมการประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา และกรมอนามัยได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการจัดอบรมผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร พ.ศ.2561
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานจัดการอบรม ตามประกาศดังกล่าว และมีบทบาทอำนาจหน้าที่ในการสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล ตาม มาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 และพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 แก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉบับที่ 6 พ.ศ.2552 มาตรา 67 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย องค์การบริหารส่วนตำบล มีหน้าที่ต้องทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล (3) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหารในตำบลบือมัง มีความรู้ ความเข้าใจ และปฏิบัติงานได้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลอาหาร

ผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหารในตำบลบือมังมีความรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 80

90.00
2 เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคอุจาระร่วงในพื้นที่ตำบลบือมัง

อัตราป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงลดลงร้อยละ 50

0.00
3 เพื่อออกหลักฐานรับรองให้แก่ผู้ผ่านการอบรมตามที่อธิบดีกรมอนามัยประกาศกำหนด

สามารถออกใบรับรอง ตามประกาศกฏกระทรวงสุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ.2561 ร้อยละ 80 ในปี 2564

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ประกอบกิจการอาหาร 20
ผู้สัมผัสอาหาร 40

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2021

กำหนดเสร็จ 31/03/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรม"หลักสูตรการอบรมผู้ประกอบกิจการ"

ชื่อกิจกรรม
อบรม"หลักสูตรการอบรมผู้ประกอบกิจการ"
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย :
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ประกอบการในพื้นที่

1.ค่าป้ายโครงการ 1*3 เมตร จำนวน 1 ป้ายเป็นเงิน 1,000 บาท 2.ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อ จำนวน 20 คน มื้อละ 50 บาทเป็นเงิน 1,000บาท 3.ค่าอาหารว่าง จำนวน 2 มื้อ มื้อละ 25 บาท จำนวน 20 คน เป็นเงิน 1,000 บาท 4.ค่าสมุดจดบันทึก 20 เล่ม เล่มละ 10 บาทเป็นเงิน 200บาท
5.ค่าปากกา ด้ามละ 5 บาท จำนวน 20 ด้ามเป็นเงิน100บาท 6.ค่าวิทยากรจำนวน 6 ชม. ชม.ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600บาท
เนื้อหาหลักสูตร อ้างอิงเอกสารท้ายประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการจัดการอบรมผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร พ.ศ.2561

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 25 กุมภาพันธ์ 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ประกอบกิจการมีความรู้ ความเข้าใจ และปฏิบัติงานได้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลอาหาร ในระดับมาก ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6900.00

กิจกรรมที่ 2 อบรม"หลักสูตรการอบรมผู้สัมผัสอาหาร"

ชื่อกิจกรรม
อบรม"หลักสูตรการอบรมผู้สัมผัสอาหาร"
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย : ผู้สัมผัสอาหารในพื้นที่
1.ค่าป้ายโครงการ 1*3 เมตร จำนวน 1 ป้าย  เป็นเงิน 1,000  บาท 2.ค่าอาหารว่าง จำนวน 1 มื้อ มื้อละ 25 บาท จำนวน 40 คน  เป็นเงิน  1,000    บาท 3.ค่าสมุดจดบันทึก 40 เล่ม เล่มละ 10 บาท    เป็นเงิน  400  บาท
4.ค่าปากกา ด้ามละ 5 บาท จำนวน 40 ด้าม  เป็นเงิน  200  บาท 5.ค่าวิทยากรจำนวน 3 ชม. ชม.ละ 600 บาท  เป็นเงิน 1,800  บาท เนื้อหาหลักสูตร อ้างอิงเอกสารท้ายประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการจัดการอบรมผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร พ.ศ.2561

ระยะเวลาดำเนินงาน
26 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 26 กุมภาพันธ์ 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สัมผัสมีความรู้ ความเข้าใจ และปฏิบัติงานได้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลอาหาร ในระดับมาก ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 11,300.00 บาท

หมายเหตุ :
รายละเอียดหลักสูตร ได้แนบท้ายแบบฟอร์มเสนอโครงการนี้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารและผู้สัมผัสมีความรู้ด้านการสุขาภิบาลอาหารและอันตรายจากอาหารที่มีสารพิษหรือเชื้อโรคปนเปื้อน ร้อยละ 80
2.อัตราป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงในพื้นที่ลดลง
3.ผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร ผ่านการอบรมตามหลักสูตรที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด


>