กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลแพรกหา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการฉลาดคิดฉลาดรู้โภชนาการสมวัย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลแพรกหา

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแพรกหา

นางสาวบุญเสริมจิตรดวง

ศพด.บ้านแพรกหา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โภชนาการเป็นเรื่องของการกิน "อาหาร" ที่ร่างกายเรานำ "สารอาหาร" จากอาหารไปใช้ประโยชน์ และดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข อาหาร และโภชนาการเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของประชากรในวัยต่างๆ ในวงจรชีวิตมนุษย์ทุกเพศ ทุกวัย ทั้ง เด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในวัยเด็กก่อนเรียนเป็นวัยที่อยู่ในระยะสำคัญของชีวิต เป็นวัยรากฐานของพัฒนาการ การเจริญเติบโตทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา เป็นวัยที่มีความสำคัญที่สุดในการวางพื้นฐานเพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นระยะที่ร่างกายและสมอง มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจำเป็นต้องได้รับการเลี้ยงดูที่ดีที่สุดเพื่อส่งเสริมการพัฒนารอบด้าน อาหารและโภชนาการที่ดี เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะเด็กแรกเกิดถึง 6 ขวบ ปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้ ได้แก่ ภาวะการเจริญเติบโตไม่สมวัยจากโรคขาดสารอาหาร ภาวะโภชนาการ โดยมีสาเหตุที่สำคัญจากการไม่ได้รับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่ครบถ้วน ทำให้ร่างกายไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร นอกจากนั้นยังเกิดจากพฤติกรรมการกินของเด็กที่มีผลต่อการกำหนดนิสัย และบุคลิกภาพของเด็กในอนาคต โดยการสะสมของพฤติกรรมนี้เกิดขึ้นนับตั้งแต่มื้อแรกในชีวิต พฤติกรรมการกินต่างๆ ที่พ่อแม่หรือคนเลี้ยงดูได้กำหนดให้เด็กซึ่งมีผลต่อนิสัยการกินของเด็กในอนาคต ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ที่ต้องช่วยกันดูแลเอาใจใส่เรื่องอาหารการกินหรือโภชนาการของเด็ก ผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เพื่อให้ช่วยให้เด็กได้มีอาหารการกินที่ดีมีคุณค่าทางอาหาร และได้ปริมาณครบถ้วน
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแพรกหา มีเด็กทั้งหมด 56 คน ส่วนใหญ่เด็กมีปัญหาเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร เด็กไม่ค่อยรับประทานข้าว ซึ่งเป็นอาหารมื้อหลัก สืบเนื่องมาจากบางคนมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้อง เช่น เด็กรับประทานขนมมากกว่าข้าวเมื่ออยู่ที่บ้าน และส่วนใหญ่ไม่ชอบรับประทานผัก เนื้อ ไข่ และนม รวมทั้งผลไม้ ซึ่งส่งผลให้เด็กบางคนมีภาวะโภชนาการที่ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ ซึ่งทีความจำเป็นต้องดูแลแก้ไขเอาใจใส่เด็กกลุ่มนี้ให้มีภาวะโภชนาการที่ดีต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ปกครองครูและผู้ปกระกอบอาหารมความรู้ความเข้าใจหลักโภชนาการสมวัยและมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน

ร้อยละ 90 ของครูผู้ปกครองและผู้ประกอบอาหารมีความรู้เกี่ยวกับอาหารและโภชนาการในเด็กปฐมวัย

118.00 0.00
2 เพื่อให้เด็กปฐมวัยได้รับคุณค่าอาหารครบถ้วนตามหลักโภชนาการ

ร้อยละ100ของเด็กปฐมวัยได้รับคุณค่าอาหารครบถ้วนตามหลักโภชนาการ

56.00 56.00
3 เพื่อส่งเสริมสุขนิสัยการเลือกรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการได้ถูกต้อง

ร้อยละ 80 ของเด็กที่สามารถเลือกอาหารที่มีประโยชน์ให้กับตัวเองได้

45.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 56
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 62
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 09/06/2021

กำหนดเสร็จ 06/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ครูผู้ปกครองผู้ประกอบอาหาร

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ครูผู้ปกครองผู้ประกอบอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้ครู ผู้ปกครอง ผู้ประกอบอาหารเกี่ยวกับอาหารและโภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัย งบประมาณ -ค่าวิทยากร 600 บ.x 6 ชม.= 3,600 บ. -ค่าอาหารกลางวัน 50 บ.x 50 คน= 2,500 บ. -ค่าอาหารว่าง 25 บ.x 50 x 2 มื้อ = 2,500 บ. -ค่าอุปกรณ์ประกอบการอบรม 15 บ.x 40 คน = 600บ. -ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1.2 เมตร x 2.4 เมตร= 500 บ. -ค่าน้ำ + น้ำแข็ง = 810 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
9 มิถุนายน 2564 ถึง 9 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิตครู ผู้ปกครอง ผู้ประกอบอาหารมีความรู้เกี่ยวกับอาหารและโภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัย ผลลัพธ์ ครู ผู้ปกครอง ผู้ประกอบอาหารสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการประกอบอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10510.00

กิจกรรมที่ 2 ครูให้ความรู้แก่เด็กเกี่ยวกับอาหารดีมีประโยชน์

ชื่อกิจกรรม
ครูให้ความรู้แก่เด็กเกี่ยวกับอาหารดีมีประโยชน์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ครูให้ความรู้แก่เด็กเกี่ยวกับอาหารดีมีประโยชน์ -ค่าป้ายโฟมบอร์ดอาหารดีมีประโยชน์ขนาด 80 x 100 ซม.= 560 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 มิถุนายน 2564 ถึง 6 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิตเด็กมีความรู้เกี่ยวกับอาหารที่ดีและมีประโยชน์เหมาะสมกับวัย ผลลัพธ์เด็กนำความรู้ที่ได้ไปเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยช์ต่อร่างกาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
560.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามการรับประทานอาหารของเด็กปฐมวัยในครัวเรือน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามการรับประทานอาหารของเด็กปฐมวัยในครัวเรือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามการรับประทานอาหารของเด็กปฐมวัยในครัวเรือน 2เดือนครั้ง ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
30 กรกฎาคม 2564 ถึง 24 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต  เด็กปฐมวัยจำนวน 56 คน และผู้ปกครองจำนวน 56 คน รวมเป็น 55 ครัวเรือน
ผผลลัพธ์    - ผู้ปกครองเด็กสามารถนำความรู้ที่ได้รับมาเลือกและจัดทำอาหารที่มีประโยชน์ถูกหลักโภชนการให้กับเด็กปฐมวัยได้                 - เด็กปฐมวัยมีภาวะโภชนาการตามวัยดีขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 11,070.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ปกครอง ครูและผู้ประกอบอาหาร มีความรู้ ความเข้าใจหลักโภชนาการสมวัยและมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
2. เด็กปฐมวัยได้รับคุณค่าอาหารครบถ้วนตามหลักโภชนาการ จากอาหารที่ปรุงโดยผู้ปกครอง และผู้ประกอบอาหารที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
3. เด็กมีความรู้และสามารถนำไปเลือกรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการได้ถูกต้อง


>