กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเทพา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอสม.เคาะประตูบ้านต้านโควิดในชุมชน เทศบาลตำบลเทพา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเทพา

ชมรมอสม.เทศบาลตำบลเทพา

1.นางไพสินธ์ุพาหุจินดา
2.นางมาเรียมเร๊ะล๊ะ
3.นางฟาตีเม๊าะสิงห์สาโร
4.นางสาวนัซนีนแก้หละโจทย์
5.นางวุสวาตีสนิหวี

พื้นที่เขตเทศบาลตำบลเทพา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด 2019 ซึ่งมีการประกาศของกระทรวงสาธารณสุขให้ เป็นโรคร้ายแรง ทำให้เกิดการตื่นตระหนกของประชาชนทั่วโลก ซึ่งพบการระบาดไปในหลายประเทศส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก และส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสังคมอย่างรุนแรง สถานการณ์การระบาดกำลังแพร่กระจายยังไม่สามารถควบคุมได้ โดยสาเหตุการเสียชีวิตส่วนใหญ่ ตัวเชื้อไวรัส COVID-19 จะทำให้เกิดอาการไข้สูง จาม ไอ การอักเสบของปอดและเยื้อหุ้มปอดอย่างรุนแรง ด้วยปัจจุบัน มีประชาชนในเขตเทศบาลตำบลเทพาจำนวนหนึ่ง ที่เดินทางมาจากกลุ่มประเทศและจังหวัดที่มีความเสี่ยงสูง ของการระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 ตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งรัฐบาลกำหนดให้มีมาตรการกักตัว อย่างต่ำเป็นระยะเวลา 14 วัน และเพื่อเป็นการเฝ้าระวังป้องกันการระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 ในชุมชน ดังนั้น มาตรการการป้องกันไม่ให้ติดโรค COVID-19 นั้นถือว่าจำเป็น ด้วยการดำเนินมาตรการการรักษาร่างกายให้แข็งแรง ออกกำลังกายเพื่อมิให้ป่วย และการป้องกันตนเอง เช่น หลีกเลี่ยงการเดินทางไปในประเทศหรือสถานที่มีคนพลุกพล่าน การล้างมือให้สะอาดอย่างถูกต้อง ทั้งด้วยแอลกอฮอล์เจลหรือ สบู่ การสวมหน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธีการ การเว้นระยะห่างอย่างน้อย 2 เมตร การให้ความรู้ และความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินไปของโรคแก่ประชาชนในชุมชนจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก จากปัญหาของโรคในข้างต้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขเทศบาลตำบลเทพา จึงได้จัดทำกิจกรรมโครงการ อสม. เคาะประตูบ้านต้านโควิด-19 เพื่อเป็นการเฝ้าระวังป้องกันการระบาดของโรคโควิด-19 ลงสู่ชุมชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มความครอบคลุมของการรณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด-19

อสม.สามารถรณรงค์ให้ความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่ได้น้อยละ 100

0.00 0.00
2 เพื่อส่งเสริมความเข้าใจแก่ประชาชนเกี่ยวกับโรคและการป้องกันโรคโควิด-19

ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ ที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคโควิด-19

0.00
3 เพื่อแจ้ง/กระจาย/ช่องทางการรายงาน/เฝ้าระวังโรคในพื้นที่

ประชาชนในพื้นที่สามารถแจ้งข่าวสารการเฝ้าระวัง นำไปสู่กระบวนการเฝ้าระวังได้

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 740
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2021

กำหนดเสร็จ 31/07/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมให้ความรู้และทำความเข้าใจแก่แกนนำ อสม.

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมให้ความรู้และทำความเข้าใจแก่แกนนำ อสม.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ลงพื้นที่ให้ความรู้แจกสื่อแนวทางการปฏิบัติตัวสำหรับประชาชน 2.ประชาสัมพันธ์และคัดกรองประชาชนในพื้นที่สื่อท่ีแจกได้แก่-เตรียมตัวให้พร้อมก่อน-หลังเดินทางในยุคCOVID-19 -ยึดหลัก D-M-H-T-T เผื่อรับมือโควิด-19 ระลอกใหม่ -ใครควรสังเกตอย่างใกล้ชิด เมื่อมีอาการป่วย -วัคซีนที่ดีที่สุด ของประเทศตอนนี้ -จุดเสี่ยงในที่สาธารณะ จับแล้วต้องรีบล้างมือ -อาการที่พบบ่อยของโรคโควิด-19

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 31 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12074.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,074.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลเทพามีความรู้เกี่ยวกับโรคและสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคและภัยทางสุขภาพได้อย่างถูกต้อง
2.เพื่ิอเสริมสร้างความเข้าใจแก่ประชาชน เกี่ยวกับโรค และการป้องกันไวรัสโควิด-19
3.เฝ้าระวังและควบคุมโรคในพื้นที่ได้


>