กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลท่างิ้ว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรณรงค์การคัดแยกขยะ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลท่างิ้ว

เทศบาลตำบลท่างิ้ว

ตำบลท่างิ้ว

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ขยะหรือของเสีย (Waste) หมายถึง สิ่งของเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตและอุปโภคซึ่งเสื่อมสภาพจน ใช้การไม่ได้หรือไม่ต้องการใช้แล้ว บางชนิดเป็นของแข็งหรือกากของเสีย (Solid Waste) มีผลเสียต่อสุขภาพ ทางกายและจิตใจเนื่องจากความสกปรกเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคทำให้เกิดมลพิษและทัศนะอุจาด
ขยะมูลฝอย แบ่งเป็น มูลฝอยธรรมดาทั่วไป ได้แก่ มูลฝอยสด เศษอาหาร กระดาษ โฟม พลาสติก ขวด แก้ว โลหะ ฯลฯ และของเสียอันตราย ได้แก่ มูลฝอยติดเชื้อจากโรงพยาบาล กากสารเคมี สารเคมีกำจัดแมลง กากน้ำมัน หลอดฟลูออเรสเซนต์ แบตเตอรี่ใช้แล้ว แหล่งกำเนิดของเสียที่สำคัญ ได้แก่ ชุมชน โรงงานอุตสาหกรรมและพื้นที่เกษตรกรรม
ข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษ รายงานว่า ในปี 2562 ประเทศไทยมีขยะมูลฝอยประมาณ 28.7 ล้านตัน มีการกำจัดอย่างถูกต้องร้อยละ 36 หรือ 10.3 ล้านตันมีการคัดแยกและนำกลับไปใช้ร้อยละ 44 หรือ 12.6 ล้านตัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นขยะรีไซเคิลและการทำปุ๋ยอินทรีย์
รัฐบาลตระหนักดีถึงความสำคัญในการแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยจึงได้ประกาศให้การแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยเป็น “วาระแห่งชาติ”โดยมุ่งเน้นการลดการเกิดขยะมูลฝอยตั้งแต่ต้นทาง ควบคู่กับการนำของเสียกลับมาใช้ซ้ำและใช้ประโยชน์ใหม่ อีกทั้งได้จัดทำแผนปฏิบัติการ “ประเทศไทยไร้ขยะ” ตามแนวทาง “ประชารัฐ” ระยะ 1 ปี (พ.ศ. 2559-2560) ภายใต้แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ พ.ศ. 2559-2564 ซึ่งเป็นแนวทางเพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่การเป็นสังคมปลอดขยะ (Zero Waste Society) และได้จัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) เพื่อเร่งรัดแก้ไขปัญหาการจัดการขยะตกค้างสะสม ผลักดันกฎหมายและกลไกเพื่อการคัดแยกขยะ สนับสนุนการแปรรูปเป็นพลังงาน รวมทั้งสร้างวินัยคนในชาติเพื่อการจัดการขยะอย่างยั่งยืนเพราะปัญหาขยะจะไม่มีวันหมดไปหากไม่ได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของประเทศ
สถานการณ์ขยะตกค้างของเทศบาลตำบลท่างิ้ว ได้สร้างความเดือดร้อนให้แก่ชาวบ้านในชุมชน ทั้งนี้สาเหตุหลักของปัญหา เกิดจากชาวบ้านไม่ได้คัดแยกขยะให้ถูกต้อง ทิ้งขยะทุกประเภทลงในถังใบเดียวกัน ทำให้พนักงานคัดแยกขยะทำงานลำบาก ล่าช้า และส่งผลให้มีขยะตกค้างเพิ่มขึ้น ซึ่งวิธีการคัดแยกขยะมูลฝอยที่ดีที่สุดก็คือ การคัดแยกขยะมูลฝอยจากแหล่งกำเนิด เพราะทำได้ง่าย ไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากนักดังนั้นเทศบาลตำบลท่างิ้วได้เล็งเห็นความสำคัญของการคัดแยกขยะมูลฝอย จึงจัดทำโครงการรณรงค์การคัดแยกขยะ เพื่อสร้างจิตสํานึกและทัศนคติที่ดีในการทิ้งขยะมูลฝอยที่กําลังเป็นปัญหาในปัจจุบันนี้ให้หมดไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เครือข่ายสุขภาพภาคประชาชน มีความรู้ ความเข้าใจ ในการคัดแยกขยะ ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

เครือข่ายสุขภาพภาคประชาชน มีความรู้ ความเข้าใจ ในการคัดแยกขยะ ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนเกิดความตระหนักในการคัดแยกขยะ ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

ประชาชนเกิดความตระหนักและสามารถคัดแยกขยะ โดยเริ่มจากตนเองและร่วมกันจัดการขยะภายในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

0.00
3 เพื่อลดปริมาณขยะมูลฝอยในเขตเทศบาลตำบลท่างิ้ว

ไม่มีขยะตกค้างในเขตเทศบาลตำบลท่างิ้ว

0.00
4 เพื่อลดผลกระทบจากขยะมูลฝอย

ไม่ได้รับการร้องเรียนจากประชาชนตำบลท่างิ้ว เรื่องผลกระทบจากขยะมูลฝอยลดลง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 320
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 04/01/2021

กำหนดเสร็จ 28/02/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมรณรงค์ให้ความรู้ประชาชนในพื้นที่ในการคัดแยกขยะมูลฝอย

ชื่อกิจกรรม
อบรมรณรงค์ให้ความรู้ประชาชนในพื้นที่ในการคัดแยกขยะมูลฝอย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ ขนาด 1 * 2 ตร.ม. จำนวน 3 แผ่น ๆ ละ 300 บาท* เป็นเงิน  900  บาท
  • ค่าเอกสารแผ่นพับ จำนวน 350 ฉบับ ๆ ละ 2 บาท เป็นเงิน 700 บาท
  • ค่าอาหารว่าง พร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 320 ชุด ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 8,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 9,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เครือข่ายสุขภาพภาคประชาชน มีความรู้ ความเข้าใจ ในการคัดแยกขยะ ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
2. ประชาชนเกิดความตระหนักและสามารถคัดแยกขยะ โดยเริ่มจากตนเองและร่วมกันจัดการขยะภายในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ขยะมูลฝอยในตำบลท่างิ้วมีปริมาณลดลง
4. ประชาชนตำบลท่างิ้ว ไม่ได้รับผลกระทบจากขยะมูลฝอย


>