กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาวะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการหนูน้อยสู้ไปด้วยกันป้องกันโรคโควิด19 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านจาแบป๊ะ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาวะ

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านจาแบป๊ะ

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านจาแบป๊ะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนเด็กวัยเรียน(2 ปีขึ้นไป-6 ปี )ที่ได้รับการเฝ้าระวังควบคุมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด (COVID19)

 

106.00

สถานการณ์ในปัจจุบันได้มีการเกิดโรคระบาดของโรคไวรัสโคโรนา หรือเรียกสั้นๆคือโรคโควิด 19 ซึ่งในจังหวัดนราธิวาสเป็นหนึ่งในจังหวัดนราธิวาสที่ติดกับชายแดนระหว่างประเทศมาเลเซีย ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาสจึงให้ความสำคัญในการป้องกันโรคโควิด 19 เพื่อไม่ให้ระบาดในจังหวัดนราธิวาสและอำเภอที่ติดกับชายแดน ดังนั้นการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา หรือโควิด 19 ทางศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจึงจำเป็นต้องสร้างความรู้ ความตระหนักในการปฏิบัติตนอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ต้องดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด และผู้ปกรองที่ต้องปฏิบัติตนในการมารับ-ส่งลูก เช่นการสวมหน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธี ล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอล์ฮอล์ในการล้างมือเพื่อฆ่าเชื้อที่อาจมาจากการสัมผัส การทำความสะอาดพื้นที่การให้บริการทุกครั้งหลังเลิกเรียน
ดังนั้น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านจาแบป๊ะ จึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญด้านสุขภาพของครู เด็ก และผู้ปกครองที่มาใช้บริการ จึงจัดทำโครงการหนูน้อยสู้ไปด้วยกันป้องกันโควิด(COVID 19) แก่ครู เด็ก ผู้ปกครอง เพื่อนำไปปฏิบัติในการใช้ชีวิตประจำวันได้และในที่สาธารณะชนในระดับต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 อบรมให้ความรู้การป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด(COVID19)
  1. เพื่อส่งเสริมให้เด็ก มีความรู้ และการสวมหน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธี
  2. เพื่อส่งเสริมให้เด็กเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพให้มีคุณภาพที่ดี
  3. เพื่อสนับสนุนให้เด็กได้ประชาสัมพันธ์กับผู้ปกครองนำความรู้ไปใช้และป้องกันโรคโควิด 19 ได้
106.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 106
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ครู และบุคลากร 11

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 31/03/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้การป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 (COVID-19)

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้การป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 (COVID-19)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรมที่ 1 - จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ครู เด็กและบุคลากร โดยวิทยากร กำหนดเนื้อหา ดังนี้ - การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคติดต่อในเด็กปฐมวัย จำนวน 2 ชั่วโมง - ความปลอดภัยในเด็กปฐมวัยจำนวน 1 ชั่วโมง กิจกรรมที่ 2 - การป้องกันโรคโควิด19จำนวน3 ชั่วโมง - สาธิตการนั่งระยะห่าง และการสวมหน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธี - การทำความสะอาดของเล่นและเครื่องเล่นสนาม
จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลกาวะจำนวน 15,050 บาทรายละเอียดดังนี้ จัดอบรมให้ความรู้เด็ก คณะครู และบุคลากรในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านจาแบป๊ะ จำนวน117 คน
- ค่าหน้ากากอนามัยเด็ก คณะครู และบุลากร (ผ้า) จำนวน 117 คนๆละ 2 ชิ้นๆ 20 บาท (117 คน x2 ชิ้น x 20 บาท)เป็นเงิน 4,680. บาท - ค่าเจลแอลกอฮิอล์ล้างมือ ขนาด 500 ml. ขวดละ 100 บาท จำนวน 1 โหล (100 บาท x 12 ขวด)เป็นเงิน 1,200. บาท - ค่าเครื่องกดเจลแบบเท้าเหยียบ วัสดุสแตนเลส 201 ขนาด 100 x 25 x 25 ซม.
จำนวน1อันเป็นเงิน 1,800. บาท - ค่าเครื่องวัดอุณหภูมิอิมฟาเรด ขนาด 170x115x140 mm จำนวน1เครื่อง เป็นเงิน 1,800. บาท - ค่าจัดเอกสารแผ่นพับ(ปริ้นสี)ให้ความรู้โรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) (106 ชุด x 10 บาท)เป็นเงิน 1,060. บาท
- ค่าป้ายไวนิลโครงการขนาด1.4 X 2.6 เมตรจำนวน 1 ป้ายเป็นเงิน910. บาท - ค่าวิทยากรอบรมให้ความรู้เรื่องการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) และการดำเนินชีวิตวิถีใหม่ New Nalmal 6 ชั่วโมง x 600บาท เป็นเงิน 3,600. บาท
เป็นเงินทั้งสิ้น 15,050. บาท

(หมายเหตุทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ครู เด็กปฐมวัย และบุคลากร ได้ความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 (COVID-19)

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15050.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,050.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็ก มีความรู้ และการสวมหน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธี
2. เด็กเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพให้มีคุณภาพที่ดี
3. เด็กได้ประชาสัมพันธ์กับผู้ปกครองนำความรู้ไปใช้และป้องกันโรคโควิด 19 ได้


>