กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลมะกรูด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสร้างการรับรู้ เฝ้าระวัง และควบคุมโรค COVID - 19 ตำบลมะกรูด ปีงบประมาณ 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลมะกรูด

งานสาธารณสุขสำนักปลัดเทศบาลตำบลมะกรูด

ตำบลมะกรูด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2563 และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวเป็นคราวๆ ออกไปอย่างต่อเนื่อง และมีข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548(ฉบับ 17 ) ลงวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2564 เพื่อกำหนดมาตรการต่างๆที่จำเป็นในการระงับยับยั้งการระบาดระลอกใหม่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งระบาดแบบกลุ่มก้อนในเขตหลายเขตพื้นที่ของประเทศ โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดที่จำเป็นต้องมีมาตรการที่เข้มงวดเพื่อการสกัดและยับยั้งการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วและเด็ดขาด
เพื่อเป็นการเตรียมการรองรับสถานการณ์กรณีมีผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) เกิดประสิทธิภาพ มาตรการป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อ COVID -19 นั้นถือว่าจำเป็นอย่างมาก การสร้างการรับรู้ความเข้าใจให้กับประชาชน และขอความร่วมมือภาคประชาชนและภาคประชาสังคมทั้งผู้ให้บริการ ผู้ใช้บริการ ผู้จัดกิจกรรม และผู้ร่วมกิจกรรมในพื้นที่สาธารณะ ต่างๆ เช่น ตลาด ร้านอาหาร ร้านค้า ฯลฯ ปฏิบัติตามมาตรการสาธารณสุขอย่างเคร่งครัว คือ สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าทำความสะอาดพื้นผิวและอุปกรณ์ที่มีการสัมผัสบ่อย เว้นระยะห่างหรือหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับบุคคลอื่น และใช้แฟลตฟอร์มไทยชนะในการเข้าออกสถานที่สาธารณะ เป็นสิ่งสำคัญ รวมทั้งการฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อโรค COVID - 19 แก่มัสยิด วัด หน่วยราชการ สถานศึกษา ศูนย์เด็กเล็ก สถานประกอบการ พื้นที่เสี่ยงสัมผัส และชุมชนในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบของเทศบาลตำบลมะกรูด จึงเป็นอีกมาตรการหนึ่งที่ช่วงเฝ้าระวังและควบคุมเชื้อโรคได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างการรับรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนเกี่ยวกับการป้องกันโรค COVID-19 ระลอกใหม่

ประชาชนปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรค COVID-19
ร้อยละ 90

0.00
2 เพื่อเฝ้าระวัง และควบคุมโรค COVID-19 ในพื้นที่ตำบลมะกรูด

สถานที่ต่างๆ และสถานที่สาธารณะในพื้นที่ตำบลมะกรูด ได้รับการฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อ ร้อยละ 80

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2021

กำหนดเสร็จ 31/07/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมสร้างการรับรู้การป้องกันโรค COVID - 19 ให้แก่ประชาชน ตลาด ร้านค้า ร้านอาหาร สถานประกอบการ โดยโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสร้างการรับรู้การป้องกันโรค COVID - 19 ให้แก่ประชาชน ตลาด ร้านค้า ร้านอาหาร สถานประกอบการ โดยโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 ประชาสัมพันธ์การป้องกันตนเองจากโรค COVID -19 ให้แก่ประชาชน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 31 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7500.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมดำเนินการเฝ้าระวัง และควบคุมโรค COVID – 19 โดยการฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อตามสถานที่ต่างๆ และสถานที่สาธารณะในพื้นที่ตำบลมะกรูด

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมดำเนินการเฝ้าระวัง และควบคุมโรค COVID – 19 โดยการฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อตามสถานที่ต่างๆ และสถานที่สาธารณะในพื้นที่ตำบลมะกรูด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1 การฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อตามสถานที่ต่างๆ  และสถานที่สาธารณะในพื้นที่ตำบลมะกรูด

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 31 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
76100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 83,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ขั้นก่อนดำเนินการ
1.1. เขียนโครงการฯ และเสนอต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ
1.2. จัดทำแผนปฏิบัติงานเพื่อดำเนินการ โดยกำหนดวัน เวลา สถานที่
2. ขั้นดำเนินการ
2.1. จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์การสร้างการรับรู้ความเข้าใจป้องกันการติดเชื้อ COVID-19
2.2. จัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการเฝ้าระวัง และควบคุมโรค COVID - 19
2.3. กิจกรรมสร้างการรับรู้การป้องกันโรค COVID - 19 ให้แก่ประชาชนร้านค้า ตลาด
ร้านอาหารสถานประกอบการโดยสื่อประชาสัมพันธ์
2.4. กิจกรรมดำเนินการเฝ้าระวัง และควบคุมโรค COVID – 19 โดยการฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อตามสถานที่ต่างๆและสถานที่สาธารณะในพื้นที่ตำบลมะกรูด
3. ขั้นตอนสรุปผล
3.1. สรุปผลการดำเนินงาน


>