กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางขุนทอง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิต สูง ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางขุนทอง

ชมรม อสม. ตำบลบางขุนทอง

1. นางดวงดาว พรหมเจียม
2. นางศิริพร พรมเจียม
3. นางพยอม คงชำนิ
4. นายนุ้ย ขุนพรม
5. นางสาวธุมวดี ทองคุปต์

ตำบลบางขุนทอง อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่กำลังเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุข จากการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากร สภาวะเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ทำให้ประชาชนมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดำรงชีวิตประจำวัน เช่น การเร่งรีบ การแข่งขันในการทำงาน การบริโภคอาหารไม่คำนึงถึงหลักโภชนาการที่ร่างกายจำเป็นต้องนำไปใช้ จึงทำให้เกิดการขาดความสมดุลของสารอาหาร เช่น ภาวะอ้วน มีคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ทำให้เกิดการตีบแคบของเส้นเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคความดันโลหิตสูง ขาดการออกกำลังกายอายุมากขึ้นหรือมีความเครียดในการดำเนินชีวิตประจำวันทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน
จากการดำเนินงานโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางขุนทอง ปีงบประมาณ 2563 มีผลการดำเนินงานดังนี้คือ ประชาชนกลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน จำนวน 500 คน คิดเป็นร้อยละ 99.20 พบกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง 175 คน คิดร้อยละ35.00 พบกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน จำนวน 110 คน คิดเป็นร้อยละ 22.00 ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 148 คน และโรคเบาหวาน จำนวน 42 คน จากข้อมูลดังกล่าว คณะกรรมการสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางขุนทอง มีความตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชนกลุ่มดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยขึ้น เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และลดการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยมีความรู้ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตนเอง

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง

0.00
2 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง

0.00
3 อัตราผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงลดลง

อัตราผู้ป่วยรายใหม่โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงลดลง ร้อยละ 3

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ทบทวนความรู้ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงของกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วย

ชื่อกิจกรรม
ประชุมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ทบทวนความรู้ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงของกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ดำเนินการประชุมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ทบทวนความรู้ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงของกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองให้ เหมาะสมกับการดำรงชีวิตและวิถีชุมชนโดยจัดกิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยแบบเข้าค่าย ไปเช้า - เย็นกลับ 4 ครั้งๆละ 40 คน - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 40 คนๆละ 1 มื้อๆละ 50 บาท จำนวน 4 ครั้ง เป็นเงิน 8,000 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท จำนวน 4 ครั้ง เป็นเงิน 8,000 บาท -ค่าวิทยากรจำนวน 1 คน จำนวน 6 ชั่วโมงๆละ 400 จำนวน 4 วัน เป็นเงิน 9,600 บาท -ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โรคความดันโลหิตสูง/เบาหวาน เป็นเงิน 1,000 บาท -ค่าวัสดุอุปกรณ์ เอกสาร / แผ่นพับความรู้เป็นเงิน 1,000 บาท -ค่ารางวัลขวัญและกำลังใจกลุ่มเป้าหมายที่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพสำเร็จเพื่อเป็นแบบอย่างให้แก่กลุ่มเป้าหมายด้วยกัน เป็นเงิน 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยได้เข้าร่วมโครงการเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
29100.00

กิจกรรมที่ 2 อสม.เยี่ยมบ้านติดตามผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
อสม.เยี่ยมบ้านติดตามผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวัสดุการแพทย์ (เครื่องวัดความดันโลหิต) จำนวน 2 เครื่องๆละ 2,000 บาท -ค่ากระเป๋าพยาบาลแบบสะพานขนาดใหญ่ (สำหรับเยี่ยมบ้าน) จำนวน 2 ใบ  จำนวน 3,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวานได้รับการตรวจวัดความดันโลหิตและเจาะน้ำตาลในเลือดเพื่อได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 34,100.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมาตรฐานตามเกณฑ์
2. กลุ่มเสี่ยงได้รับการเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3 อ. 2 ส. และมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสมอย่างต่อเนื่อง
3. การเกิดผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานรายใหม่ลดลง
4. การเกิดโรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานลดลง


>