กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.โต๊ะเด็ง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรวมพลังชุมชนป้องกันไข้เลือดออก ประจำปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.โต๊ะเด็ง

รพสต.โต๊ะเด็ง

ตำบลโต๊ะเด็ง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาไข้เลือดออกที่เป็นปัญหาเรื้อรังในชุมชน ส่งผลกระทบต่อประชาชนทั้งด้านสุขภาพเศรษฐกิจ และด้านสังคมที่เกิดจาก การขาดความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมไข้เลือดออกจากภาคสังคมอื่นๆและชีวะนิสัยของยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคของโรคไข้เลือดออกรวมถึงปัจจัยแวดล้อมต่างๆที่ก่อให้เกิดการระบาดของโรคโดยพบว่ายุงลายมีการวางไข่และขยายพันธ์ได้ตลอดทั้งปีซึ่งยุงลายตัวเมียผสมพันธ์เพียงครั้งเดียว สามารถวางไข่ได้ครั้งละมากๆตลอดชีวิตและเชื้อโรคไข้เลือดออกสามารถถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์จากแม่ยุงลายสู่ไข่และลูกยุงลายได้รวมถึงการติดต่อจากคนสู่คนโดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค หากไม่มีการควบคุมป้องกันโรคที่ดีก็จะทำให้เกิดโรคนี้ขึ้นและจะแพร่ระบาดไปอย่างรวดเร็ว
ตำบลโต๊ะเด็ง ที่อยู่ในความดูแลขององค์การบริการส่วนตำบลโต๊ะเด็งมีจำนวนหมู่บ้านทั้งสิ้น 5หมู่บ้านจากข้อมูลสถานการณ์ผู้ป่วยไข้เลือดออกโต๊ะเด็ง 5 ปีย้อนหลังตั้งแต่ปี 2559 – 2563 พบว่าอัตราป่วยเพิ่มขึ้นซึ่งแนวโน้มจะพบผู้ป่วยตลอดทั้งปี และมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆไม่จำกัดอายุ ปีที่พบมีการระบาดมากที่สุดคือปี 2562 ดังนั้นกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.โต๊ะเด็ง จึงได้จัดทำโครงการรวมพลังชุมชนป้องกันไข้เลือดออก ในเขตตำบลโต๊ะเด็ง ปี 2564 ขึ้นเพื่อรณรงค์ประชาสัมพันธ์และดำเนินกิจกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการแก่ประชาชนทั่วไป ผู้นำชุมชน เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการแก่ประชาชนทั่วไป ผู้นำชุมชน เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารกลางวัน ( 50 คน x 60 บาท x 1 มื้อ ) เป็นเงิน 3,000 บาท 2.ค่าอาหารว่าง ( 50 คน x 30 บาท x 2 มื้อ ) เป็นเงิน 3,000 บาท 3.ค่าป้ายไวนิล จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 720 บาท 4.ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน ( ชม.ละ 300 บาท x 3 ชม. ) เป็นเงิน 900 บาท 5.ค่าสเปรย์กันยุง ( จำนวน 55 กระป๋อง x 60 บาท ) เป็นเงิน 3,300 บาท 6.ค่าวัสดุสำนักงาน ( 50 คน x 30 บาท) เป็นเงิน 1,500 บาท             รวมเป็นเงิน 12,420 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนทั่วไป ผู้นำชุมชนมีความรู้เชิงปฏิบัติการแก่ เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12420.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,420.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ มีความตระหนัก และให้ความร่วมมือในเรื่องการควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างเข็มแข็งอย่างต่อเนื่อง
2.ไม่มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในพื้นที่ และสามารถเฝ้าระวัง และควบคุมโรคในพื้นที่ได้
3.อัตราป่วยจากโรคไข้เลือดอกลดลง และอัตราการตายด้วยโรคไข้เลือดออกไม่มี
4.ประชาชนทำกิจกรรมในการทำลาย แหล่งเพาะพันธ์ุยุงลายได้อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ


>