กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทุ่งลาน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการโรงเรียนปลอดสิ่งเสพติด

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทุ่งลาน

โรงเรียนวัดปรางแก้ว

1. นางงามเนตรศรียะรัตน์
2. ว่าที่ร้อยตรีสุกิจ บุญกำเหนิด
3. นางอรพินทร์บุญกำเหนิด
4. นางประทุมทิพย์กัณฐตุริต
5. นางนิตยาแก้วอรุณ

โรงเรียนวัดปรางแก้ว ตำบลทุ่งลาน อำเภอคลองหอยโข่ง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของนักเรียนไม่มีความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันตนเองจากสารเสพติดและอบายมุข

 

111.00
2 ร้อยละของนักเรียนที่ไม่รู้วิธีการป้องกันปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดและอบายมุขในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษา

 

111.00
3 โรงเรียนขาดการสนับสนุนและส่งเสริมการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดและอบายมุขในศึกษาให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน

 

111.00

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
จากสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากในปัจจุบัน การสื่อสารเทคโนโลยีต่างๆ ส่งผลกระทบต่อประชาชนทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ ซึ่งปรากฏปัญหาให้เห็นมากมาย ทั้งทางด้านเศรษฐกิจด้านสังคม และด้านอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติด อันนำมาซึ่งปัญหาครอบครัวที่เกิดความทุกข์ ความวิตกกังวล ความเครียด มีการปรับตัวที่ไม่เหมาะสม หรืออื่นๆ ความสำเร็จที่เกิดขึ้นจากการพัฒนานักเรียน นักศึกษา ให้เป็นคนดี มีคุณธรรมตามความคาดหวังนั้น ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย โดยเฉพาะบุคลากรทางการศึกษาทุกคนในสถานศึกษา ซึ่งมีครูอาจารย์ เป็นหลักสำคัญในการดำเนินการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียน นักศึกษา ให้เติบโตงดงามเป็นบุคคลที่มีคุณค่าของสังคมการพัฒนานักเรียน นักศึกษา ให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา มีความรู้ ความสามารถ และมีคุณธรรมจริยธรรมดำเนินวิถีชีวิตที่เป็นสุขตามที่สังคมมุ่งหวัง โดยผ่านกระบวนการทางการศึกษาที่สถานศึกษาทุกแห่งต้องดำเนินการจัดการศึกษาตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการที่ต้องการ ให้เยาวชน เป็นคนเก่ง คนดี ดำรงตนให้อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข นอกจากจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียน นักศึกษา ได้รับกระบวนการเรียนรู้แล้ว การป้องกันและช่วยเหลือแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากปัจจัยเสี่ยงรอบสถานศึกษาที่มีพฤติกรรมไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ร้านเกม การพนัน หนีเรียนทะเลาะวิวาท ก่ออาชญากรรม เป็นปัญหาสังคมให้ผู้ปกครอง ครู อาจารย์ ทุกคน ที่เกี่ยวข้อง ต้องเข้าไปช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาไม่ให้มีพฤติกรรมเสี่ยง ซึ่งมาจากปัจจัยเสี่ยงและผลกระทบจากแหล่งอบายมุข การพัฒนาเยาวชนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ เป็นคนที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ มีคุณธรรม จริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขห่างไกลจากยาเสพติด สื่อลามกอนาจาร เกมส์ออนไลน์ และการทะเลาะวิวาทซึ่งเป็นพฤติกรรมเบี่ยงเบนที่สังคมไม่ยอมรับ ถือเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการที่กำหนดให้สถานศึกษาทุกแห่งดำเนินงานโครงการโรงเรียนปลอดสิ่งเสพติด ปลอดยาเสพติดและอบายมุข
“ยาเสพติด” เป็นปัญหาสำคัญระดับชาติ และเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วนจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชน รัฐบาลได้กำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติซึ่งจะต้องแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน ยาเสพติดเป็นบ่อนทำลายความมั่นคงของชาติและแทรกซึมเข้าไปในครอบครัว สถานศึกษาชุมชน สังคม อันส่งผลกระทบทุกด้าน ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคม การเมืองและความมั่นคงของประเทศดังนั้นกระทรวงศึกษาธิการได้เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาเด็ก เยาวชนให้พ้นภัยจากยาเสพติดและสิ่งมอมเมา จึงได้กำหนดเป็นแนวนโยบายให้โรงเรียนปราศจากยาเสพติด โดยให้สถานศึกษาร่วมกับคณะกรรมการสถานศึกษา องค์กรภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน ร่วมกันหามาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาควบคู่กับการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน
จากรายงานของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด หรือ ป.ป.ส. ได้รายงานสถานการณ์ปัญหายาเสพติดพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ระหว่าง เดือนตุลาคม 2559 – มีนาคม 2560 ในส่วนของจังหวัดสงขลา พบว่าสถิติการจับกุมคดียาเสพติดทุกข้อหาทุกตัวยา ห้วงตุลาคม 2559 – มีนาคม 2560 มีการ จับกุมรวม 15,013 คดี ผู้ต้องหา 17,141 คน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากห้วงตุลาคม 2558 – มีนาคม 2559 ที่มีการจับกุม รวม 12,840 คดี ผู้ต้องหา 14,996 คน (คดีเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.92) จังหวัดสงขลายังคงเป็นจังหวัดที่มีการจับกุม มากที่สุด จำนวน 4,817 คดี ผู้ต้องหา 5,679 คน (ร้อยละ 55.03 เป็นคดีพืชกระท่อม)
ดังนั้นเพื่อให้นักเรียนเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ ทักษะชีวิตที่นำมาประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข ด้วยการปลูกฝัง สร้างจิตสำนึก สามารถรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคมและประเทศ โดยมุ่งหวังให้สถานศึกษา ชุมชน สังคมปราศจากยาเสพติดและเป็นสถานศึกษาในโครงการ “โรงเรียนปลอดสิ่งเสพติด ” โรงเรียนวัดปรางแก้วจึงเห็นว่าการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าวข้างต้น มีความจำเป็นและสำคัญอย่างเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการ โดยหวังว่าโครงการโรงเรียนปลอดสิ่งเสพติด จะช่วยให้โรงเรียนสามารถพัฒนานักเรียนให้เป็นคนเก่ง คนดี มีความสุขได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. เพื่อให้นักเรียนนักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันตนเองจากสารเสพติดและอบายมุข

ตัวชี้วัดความสำเร็จ ข้อที่1. นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันตนเองจากสารเสพติดและอบายมุข

111.00 111.00
2 ข้อที่ 2. เพื่อให้ป้องกันปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดและอบายมุขในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษา
  1. นักเรียนโรงเรียนวัดปรางแก้วปลอดสารเสพติด
111.00 111.00
3 ข้อที่ 3. เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดและอบายมุขในศึกษาให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน
  1. นักเรียนโรงเรียนวัดปรางแก้วปลอดสารเสพติด
111.00 111.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 111
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 17/05/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การคัดกรองนักเรียน

ชื่อกิจกรรม
การคัดกรองนักเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

โรงเรียนคัดกรองนักเรียนแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม คือ กลุ่มปลอด กลุ่มเสี่ยง กลุ่มเสพ กลุ่มติดและกลุ่มค้า เพื่อหามาตรการในการดูแลนักเรียนอย่างทั่วถึง

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 มิถุนายน 2564 ถึง 3 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนได้รับการคักกรองลดปัญหาการเสี่ยงต่อสารเสพติด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ

ชื่อกิจกรรม
จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมเชิงปฏิบัติการการป้องกันตนเองจากสารเสพติดในวันเสาร์ จำนวน 1 วัน โดยแบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ป.1-ป.3 และ กลุ่ม ป.4-ป.6 เนื่องจากนักเรียนมีการรับรู้ที่มีความแตกต่างกัน เพื่อให้วิทยากรให้ให้ความรู้ที่เหมาะสมกับวัย จึงต้องใช้วิทยากรจำนวน 2 คน ค่าตอบแทน....บ.x…คน= บ. ค่าวิทยากร 600 บ.x 2 คน 3 ชม.=3,600บ. ค่าอาหารกลางวัน 50 บ.x 100คน= 5,000บ. ค่าอาหารว่าง 50 บ.x 100 คน=5,000 บ. ค่าวัสดุ
- กระดาษปรู๊ฟ 2 ห่อ=600บ. - กระดาษ A4 2 รีม=200 บ. -สีไม้ 5 กล่อง =300 บ. - สีเทียน 5 กล่อง= 300 บ. รวม 15,000บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 มิถุนายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันตนเองจากสารเสพติดและอบายมุข         2. ปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดและอบายมุขในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษาลดลง         3. การดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดและอบายมุขในสถานศึกษามีความเข้มแข็งและยั่งยืน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15000.00

กิจกรรมที่ 3 สภานักเรียนแกนนำต้านยาเสพติด

ชื่อกิจกรรม
สภานักเรียนแกนนำต้านยาเสพติด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดตั้งสภานักเรียนแกนนำต้านยาเสพติดเพื่อเป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติตนในการป้องกันตนเองจากสารเสพติดให้กับนักเรียนคนอื่นๆ

ระยะเวลาดำเนินงาน
6 กรกฎาคม 2564 ถึง 6 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนแกนนำต้านยาเสพติดสามารถเป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติตนในการป้องกันตนเองจากสารเสพติดได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 สรุปและรายงานผลการดำเนินโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปและรายงานผลการดำเนินโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สรุปและรายงานผลการดำเนินโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
30 กันยายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

โรงเรียนสามารถสรุปและรายงานผลการดำเนินงานโครงการโรงเรียนปลอดสิ่งเสพติดได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันตนเองจากสารเสพติดและอบายมุข
2. ปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดและอบายมุขในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษาลดลง
3. การดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดและอบายมุขในสถานศึกษามีความเข้มแข็งและยั่งยืน


>