กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทุ่งลาน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการโรงเรียนรักสุขภาพ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทุ่งลาน

โรงเรียนวัดปรางแก้ว ตำบลทุ่งลาน อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา

1. นางงามเนตรศรียะรัตน์
2. นางอุมาพร ชูเลิศ
3. นายสุภัทร์ อินประดับ
4. นางวนิษาผุดผ่อง
5. นางอรอนงค์จันทนวล

โรงเรียนวัดปรางแก้ว

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของนักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพอนามัย ช่องปาก ฟัน เหา

 

111.00
2 ร้อยละของนักเรียนไม่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการรับประทานอาหารเพื่อให้มีสุขภาพที่ดี

 

111.00
3 ร้อยละของนักเรียนที่มีปัญหาภาวะโภชนาการ

 

111.00
4 ร้อยละของนักเรียนไม่ได้ออกกำลังกาย

 

111.00

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
กระแสโลกาภิวัฒน์ ที่เกิดจากความเจริญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบต่อเศรษฐกิจสังคม การเมือง และคุณภาพชีวิตของประชาคมโลก สังคมไทยจึงต้องมีการปรับตัวโดยการ “พัฒนาคน”ทั้งด้านคุณภาพและสมรรถนะของบุคคลให้มีพื้นฐานในการคิด เรียนรู้ และทักษะการจัดการและการดำรงชีวิต ที่สามารถเผชิญกับปัญหาสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งจำเป็นต้องปรับกระบวนการพัฒนาพร้อมกับการสร้างโอกาสและหลักประกันให้ทุกคนในสังคม โดยความร่วมมือของทุกภาคส่วนเพื่อให้คนไทยได้รับการพัฒนาทั้งด้านสติปัญญา กระบวนการเรียนรู้ และทักษะความรับผิดชอบต่อตนเอง
เด็กวัยเรียนและเยาวชนเป็นกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญยิ่งของการพัฒนา ดังพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในปีเด็กสากล พุทธศักราช 2522ที่ว่า“เด็กเป็นผู้ที่รับช่วงทุกสิ่งทุกอย่างจากผู้ใหญ่ รวมทั้งภาระความรับผิดชอบในการธำรงรักษา ความสุขสงบของประชากรโลก” และในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กขององค์การสหประชาชาติ (UN Convention on the right of the child)ซึ่งประเทศไทยลงนามและมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2535 มีสาระสำคัญที่มุ่งคุ้มครองสิทธิเด็ก 4 ประการ คือ สิทธิในการอยู่รอด (Servival Rights) สิทธิในการได้รับการปกป้องคุ้มครอง (Protection Rights)สิทธิในการพัฒนา (Development Rights) และสิทธิในการมีส่วนร่วม (Participation Rights) ซึ่งรัฐต้องดำเนินการให้เด็กได้รับการคุ้มครองในสิทธิดังกล่าวการลงทุนกับเด็กและเยาวชนย่อมมีผลคุ้มค่ามากกว่าการลงทุนใดๆ เด็กที่ได้รับการพัฒนาอย่างถูกต้อง เหมาะสมจะนำไปสู่การเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ จากสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วส่งผลต่อวิถีชีวิตของเด็กวัยเรียนและเยาวชน โดยเฉพาะด้านพฤติกรรมเสี่ยงจากการได้รับแบบอย่างที่ไม่เหมาะสม มีค่านิยมและวัฒนธรรมตามกระแสสังคมที่ไม่ถูกต้อง นำไปสู่ปัญหาที่เกิดจากตัวเด็ก ครอบครัว และสภาพแวดล้อมทางสังคม
โรงเรียนวัดปรางแก้วเป็นหน่วยงานหนึ่งในตำบลทุ่งลาน มีหน้าอบรม ให้ความรู้กับนักเรียนในด้านการดูแลสุขภาพของตนเองเพราะเมื่อนักเรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพใจที่พร้อมก็จะทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางด้านการเรียนดีขึ้นไปด้วย ดังนั้น โรงเรียนวัดปรางแก้วจึงมีความประสงค์ที่จะดำเนินโครงการรักสุขภาพ เพื่อให้นักเรียนวัดปรางแก้วทุกคนมีสุขภาพดีถ้วนหน้า ซึ่งนักเรียนเหล่านี้ก็จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการรับประทานอาหารเพื่อให้มีสุขภาพที่ดี
  1. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการรับประทานอาหารเพื่อให้มีสุขภาพที่ดีและนำไปปฏิบัติจริงในชีวิตประจำวัน
147.00 147.00
2 เพื่อแก้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการให้กับนักเรียนโรงเรียนวัดปรางแก้ว
  1. ภาวะทุพโภชนาการของนักเรียนโรงเรียนวัดปรางแก้วลดลง 5%
147.00 147.00
3 เพื่อส่งเสริมและสร้างนิสัยการออกกำลังกายให้กับนักเรียนโรงเรียนวัดปรางแก้ว
  1. นักเรียนออกกำลังกายได้เหมาะสมกับวัยอย่างสม่ำเสมอ
147.00 147.00
4 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลปากและฟันตลอดจนการดูแลผมของตนเอง
  1. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลปากและฟันที่ดีขึ้น ตลอดจนการดูแลผมของตนเองให้สะอาด
147.00 147.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 147
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 17/05/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมตรวจสุขภาพและสรุปผลการประเมินสุขภาพของนักเรียนทุกคนก่อนดำเนินโครงการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจสุขภาพและสรุปผลการประเมินสุขภาพของนักเรียนทุกคนก่อนดำเนินโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ครูประจำชั้นดำเนินการตรวจสุขภาพนักเรียนทุกคนแล้วทำการสรุปผลการตรวจก่อนดำเนินโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 พฤษภาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ทำให้ทราบข้อมูลเบื้องต้นด้านสุขภาพของนักเรียนโรงเรียนวัดปรางแก้วทุกคน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 เฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการ

ชื่อกิจกรรม
เฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ให้ความรู้แก่นักเรียนทุกคนเรื่องการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี
  2. จัดอาหารกลางวันให้มีคุณภาพตามหลักโภชนาการ 3.จัดอาหารให้นักเรียนรับประทานตามปัญหาของนักเรียน คือ นักเรียนที่ผอมให้รับประทานในปริมาณที่มากขึ้นและนักเรียนที่อ้วนก็ให้รับประทานอาหารในปริมาณที่น้อยลง
ระยะเวลาดำเนินงาน
17 พฤษภาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนรู้จักเลือกรับประทานอาหารที่ดีและมีประโยชน์ส่งผลให้ภาวะโภชนาการของนักเรียนลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 ส่งเสริมการสร้างวินัยการออกกำลังกาย

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมการสร้างวินัยการออกกำลังกาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. กิจกรรมให้ความรู้เรื่องการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดี
  2. กิจกรรมออกกำลังกายยามเช้า
ระยะเวลาดำเนินงาน
17 พฤษภาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.นักเรียนมีความรู้เรื่องการออกกำลังกาย 2.นักเรียนมีสุขภาพที่แข็งแรง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 หนูน้อยสุขภาพดี

ชื่อกิจกรรม
หนูน้อยสุขภาพดี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดอบรมให้กับนักเรียนทุกคนเรื่องสุขอนามัยช่องปากและการแปรงฟันที่ถูกวิธี
  2. จัดกิจกรรมกำจัดเหาให้กับนักเรียนผู้หญิง ค่าตอบแทน....บ.-…คน = -บ. ค่าวิทยากร 600 บ.x 2 คน 4 ชม.=4,800บ. ค่าอาหารกลางวัน 50 บ.x 100คน = 5,000บ. ค่าอาหารว่าง 50 บ.x 100 คน=5,000 บ. ค่าวัสดุ

- แปรงสีฟัน 9 โหล = 1,080บ. - ยาสีฟัน8โหล = 960 บ. -แก้วน้ำ9 โหล = 1,440 บ. ค่าวัสดุ - ยาฆ่าเหา = 500 บาท - หมวกคลุมผม 4 โหล = 240 บาท - ผ้าขนหนู 4 โหล =900 บาท - ถุงมือ2 โหล = 80 บาท รวมเป็นเงิน20,000บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 พฤษภาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลปากและฟันตลอดจนการดูแลผมของตนเอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20000.00

กิจกรรมที่ 5 ตรวจสุขภาพ และสรุปผลการประเมินสุขภาพของนักเรียนทุกคนหลังดำเนินโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ตรวจสุขภาพ และสรุปผลการประเมินสุขภาพของนักเรียนทุกคนหลังดำเนินโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ครูประเมินสุขภาพนักเรียนทุกคนแล้วทำการสรุปผลการประเมินหลังดำเนินโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 กันยายน 2564 ถึง 15 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนทุกคนมีการตรวจสุขภาพทุกคน และครูมีข้อมูลการประเมินสุขภาพนักเรียน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการรับประทานอาหารเพื่อให้มีสุขภาพที่ดีและนำไปปฏิบัติจริงในชีวิตประจำวัน
2. ภาวะทุพโภชนาการของนักเรียนโรงเรียนวัดปรางแก้วลดลง
3. นักเรียนออกกำลังกายได้เหมาะสมกับวัยอย่างสม่ำเสมอ
4. นักเรียนมีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากและดูแลผมของตนเองได้ดีขึ้น


>