กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาวะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการความปลอดภัยในชีวิตประจำวัน เรื่องการป้องกันอุบัติเหตุในเด็กปฐมวัย ศพด.บาโงฮูมอ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาวะ

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบาโงฮูมอ

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบาโงฮูมอ หมู่ที่5 ตำบลกาวะ อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานความปลอดภัยทางถนน , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนเด็กปฐมวัยอายุ (2 -5 ปี) ที่ได้รับบาดเจ็บจากอบุติเหตุต่างๆในชีวิตประจำวัน

 

10.00
2 จำนวนของผู้ปกครองเด็กปฐมวัยที่ไม่มีทักษะในการป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นในเด็ก

 

48.00

เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลและเป็นอนาคตของชาติ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ซึ่งจะต้องเริ่มต้นจากเด็ก โดยเฉพาะในช่วงแรกเกิด – ๖ ปี ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม การส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เด็กจะมีสุขภาพที่แข็งแรง เติบโตสมวัย มีอารมณ์เบิกบานแจ่มใส จะทำให้เด็กเกิดการพัฒนาอย่างเต็มที่และดีที่สุดในทุกด้าน พร้อมจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพต่อไป เพื่อลดการสูญเสียจากอุบัติเหตุ และสร้างความรู้ความเข้าใจแก่เด็ก พ่อแม่ และผู้ปกครอง ให้เห็นถึงความสำคัญของการเตรียมพร้อม ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นอย่างมากในการช่วยลดจำนวนตัวเลขผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตในเด็ก
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบาโงฮูมอ ได้เล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพและความปลอดภัยของเด็กจึงได้จัดทำโครงการความปลอดภัยในชีวิตประจำวัน เรื่องการป้องกันอุบัติเหตุในเด็กปฐมวัย ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลเด็กให้ปลอดภัยห่างไกลจากภัยรอบตัวได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ปกครอง ครู ให้มีความรู้ ความเข้าใจถูกต้องเกี่ยวกับ การส่งเสริมความปลอดภัยและการสร้างเสริมสุขภาพให้กับเด็ก

ร้อยละ80 ของจำนวนของผู้ปกครอง และครู มีความเข้าใจในการส่งเสริมความปลอดภัย

10.00 5.00
2 2.เพื่อส่งเสริมทักษะในการเอาตัวรอดเมื่อเกิดเหตุการณ์หรืออุบัติเหตุได้

ร้อยละ 80 ของเด็กปฐมวัยที่มีทักษะในการเอาตัวรอด

10.00 5.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กลุ่มผู้ปกครองและเด็กปฐมวัยใน ศพด. 48

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/08/2021

กำหนดเสร็จ 31/10/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 เด็กปฐมวัยไม่จมน้ำ

ชื่อกิจกรรม
เด็กปฐมวัยไม่จมน้ำ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดมีดังนี้ 1. จัดอบรมให้ความรู้ ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยทางน้ำ จากแหล่งน้ำในละแวกบ้านและชุมชน ด้วยความปลอดภัย 2. ซ้อมวิธีการช่วยเหลือ การส่งต่อผู้ที่จมน้ำไปยังโรงพยาบาลชุมชน อย่างถูกวิธี
3. อาสาสมัครที่ผ่านการอบรม จัดกิจรรมฝึกสอนทักษะการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำการใช้อุปกรณ์ต่างๆ
โดยมีงบประมาณดังนี้ -ค่าอาหารกลางวัน48 คน x 50 บาท เป็นเงิน 2,400.- บาท
-ค่าอาหารว่าง 48 คน x 25 บาท x 1 มื้อเป็นเงิน 1,200.- บาท
-ค่าป้ายไวนิลโครงการ(ขนาดกว้าง 1.60 ม x ยาว 2.60 ม)เป็นเงิน1,040.- บาท
-ค่าวิทยากร (ชม.ละ 600 บาทx 3ชม. ) เป็นเงิน 1,800.-บาท
รวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 6,440บาท(หกพันสี่ร้อยสี่สิบบาทถ้วน) หมายเหตุงบประมาณต่างๆ สามารถถั่วจ่ายกันได้ตามการจ่ายจริง กิจกรรม สถานที่และเวลาสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2564 ถึง 31 ตุลาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ80 ผู้ปกครองและเด็กปฐมวัยมีทักษะและมีความเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับการส่งเสริมความปลอดภัยและการสร้างเสริมสุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6440.00

กิจกรรมที่ 2 เด็กปฐมวัยมีวินัยจราจรและมีความปลอดภัยบนท้องถนน

ชื่อกิจกรรม
เด็กปฐมวัยมีวินัยจราจรและมีความปลอดภัยบนท้องถนน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรมมีดังนี้ ช่วงที่1. ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฏระเบียบวินัยจราจรในการใช้ถนนอย่างถูกต้อง ช่วงที่2. การเลือกใช้หมวกนิรภัยให้กับเด็กอย่างถูกวิธี ช่วงที่3.อาสาสมัครสาธิตการข้ามถนนตามกฏจราจรอย่างถูกวิธีพร้อมกับทำกับความหมายของเครื่องหมายจราจร โดยมีรายละเอียดงบประมาณดังนี้ -ค่าอาหารว่าง 48 คน x 25 บาท x 1 มื้อเป็นเงิน 1,200.- บาท
-ค่าวิทยากร (ชม.ละ 600 บาท 3 ชม. ) เป็นเงิน 1,800.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2564 ถึง 31 ตุลาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ80 ผู้ปกครองและเด็กปฐมวัยมีวินัยจราจรและมีความปลอดภัยบนท้องถนน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3000.00

กิจกรรมที่ 3 การเอาตัวรอดเมื่อติดอยู่ในรถยนต์

ชื่อกิจกรรม
การเอาตัวรอดเมื่อติดอยู่ในรถยนต์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ในการดำเนินโครงการ ให้ความรู้ในการป้องกันและการช่วยเหลือกรณีเกิดเหตุการณ์
  2. ซ้อมในเหตุการณ์สมมติเมื่่อติดอยู่ในรถยนต์ในลักษณะคนเดียว และหลายคน
  3. สรุปและรายงานผลการดำเนินกิจกรรม
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2564 ถึง 31 ตุลาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อย  70 ของเด็กปฐมวัยที่รู้วิธีการเอาตัวรอดเมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 9,440.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ปกครอง ครู มีพัฒนาศักยภาพความรู้ ความเข้าใจถูกต้องเกี่ยวกับ การส่งเสริมความปลอดภัยและการสร้างเสริมสุขภาพให้กับเด็ก
2.เด็กมีทักษะในการเอาตัวรอดเมื่อเกิดเหตุการณ์หรืออุบัติเหตุได้
3.ผู้ปกครอง เด็กมี มีความตื่นตัวในสร้างวัฒนธรรมการป้องกันความปลอดภัยของเด็กปฐมวัยและผู้ปกครอง
4.จำนวนตัวเลขผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตในเด็กปฐมลดลง


>