กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ริโก๋

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการลูกสุขภาพดี พัฒนาการสมวัย โภชนาการสมส่วน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ริโก๋

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลริโก๋

ตำบลริโก๋

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

มนุษย์เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ายิ่ง การพัฒนาคุณภาพชีวิตมนุษย์ต้องเริ่มต้นตั้งแต่ระยะแรกเกิด เด็ก เป็นกลุ่มประชากรที่มีความสำคัญ ทั้งนี้เพราะเด็กในวัยก่อนเรียนเป็นระยะที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านร่างกาย และสติปัญญา ประกอบกับการมีพัฒนาการด้านต่างๆ ที่มีผลต่อการกำหนดพฤติกรรม และความสามารถในการปรับตัวต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต ภาวะโภชนาการของเด็กในวัยนี้มีความสำคัญมาก เนื่องจากการมีภาวะโภชนาการที่ดีส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านร่างกายและสติปัญญาของเด็ก กระทรวงสาธารณสุขจึงได้กำหนดเป้าหมายให้เด็กในวัยก่อนเรียน (แรกเกิด-72 เดือน) มีน้ำหนักตามเกณฑ์อายุ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 และพัฒนาการสมวัยร้อยละ 85
จากการดำเนินงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลริโก๋ ประจำงวดที่ 4 ปีงบประมาณ 2563 เด็กอายุ 0-72 เดือน จำนวน 413 คน ดำเนินการชั่งน้ำหนักจำนวน 316 คน คิดเป็นร้อยละ 76.51 พบว่า เด็กมีน้ำหนักตามเกณฑ์อายุ จำนวน 252 คน คิดเป็นร้อยละ 61.02 เด็กมีน้ำหนักค่อนข้างน้อย จำนวน 34 คน คิดเป็นร้อยละ 8.23 เด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ จำนวน 27 คน คิดเป็นร้อยละ 6.54 เด็กเริ่มอ้วน จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 0.48 เด็กที่มีภาวะอ้วน จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 0.24 จากรายงานดังกล่าวสรุปได้ว่า เด็กในตำบลริโก๋ที่ได้รับการชั่งน้ำหนักนั้น มีภาวะอ้วนไม่เกิน ร้อยละ 10 แต่ยังพบเด็กที่มีภาวะน้ำหนักค่อนข้างน้อย และน้อยกว่าเกณฑ์ ซึ่งสาเหตุมาจากปัจจัยการเลี้ยงดูของผู้ปกครองและพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และการขาดความรู้ความตระหนักถึงการให้อาหารเสริมตามวัยและขาดการสังเกตพัฒนาการของลูก จึงทำให้พบปัญหาเด็กขาดสารและพัฒนาการไม่สมวัยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลริโก๋ ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหา จึงได้จัดทำโครงการลูกสุขภาพดี พัฒนาการสมวัย โภชนาการสมส่วน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อให้เด็กแรกเกิด-72 เดือน ได้รับการเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการ
2. เพื่อให้เด็กช่วงอายุ 9, 18, 30 ,42, 60 เดือน มีการตรวจคัดกรองพัฒนาการ
3. เพื่อลดอัตราของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม
4. เพื่อให้เด็กไทยอายุ 6-12 เดือนได้รับการเจาะเลือดตรวจ Hct
5. เพื่อให้เด็กได้รับวัคซีนแต่ละชนิดครบตามเกณฑ์ในเด็กอายุครบ 5 ปี
6. เพื่อให้เด็ก 0-2 ปี ได้รับการตรวจช่องปากโดยทันตบุคลากร

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรม ให้ความรู้ เยี่ยมบ้าน ตรวจคัดกรอง

ชื่อกิจกรรม
อบรม ให้ความรู้ เยี่ยมบ้าน ตรวจคัดกรอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ขั้นเตรียมการ 1. ประชุมชี้แจงรายละเอียดโครงการ 2. ประชาสัมพันธ์รายละเอียดโครงการในพื้นที่รับผิดชอบ ขั้นดำเนินการ 1. อบรม ให้ความรู้ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็กแรกเกิด ถึง 5 ปี เรื่องโภชนากาเด็ก พัฒนาการเด็ก สุขภาพช่องปาก และวัคซีนเด็กแรกเกิด ถึง 5 ปีรวมจำนวน 120 คน 2. เยี่ยมบ้านหลังคลอด ทารกที่มีน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 2,500 กรัม 3. เจาะเลือดตรวจคัดกรองภาวะซีด (Hct) ในเด็กอายุ 6 เดือนถึง 12 เดือน และจ่าย แรกเกิด ถึง 5 ปี ได้รับการตรวจพัฒนาการทุกราย 4. เยี่ยมบ้านเด็กที่ผิดนัดวัคซีนทุกราย ขั้นสรุปผล 1.สรุปผลการดำเนินการโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กแรกเกิด-72 เดือน ได้รับการเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการ
2. เด็กช่วงอายุ 9, 18, 30 ,42, 60 เดือน มีการตรวจคัดกรองพัฒนาการ
3. ลดอัตราของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม
4. เด็กอายุ 6-12 เดือนได้รับการเจาะเลือดตรวจ Hct
5. เด็กได้รับวัคซีนแต่ละชนิดครบตามเกณฑ์ในเด็กอายุครบ 5 ปี
6. เด็ก 0-2 ปี ได้รับการตรวจช่องปากโดยทันตบุคลากร


>