กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาโงยซิแน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัย ใส่ใจดูแลแม่และลูก ปี2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาโงยซิแน

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลบาโงยซิแน

1.นางนิเด๊าะ อิแตแล
2.ซูวัยดะ ปาตง
3.รีณา ลักขณา
4.ซัยนับ ลือบาน๊ะ
5.มาซนะ แวจิ

ตำบลบาโงยซิแน อำเภอยะหา จังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าได้นั้น ขึ้นอยู่กับคุณภาพชีวิตของประชาชน ซึ่งต้องมีสุขภาพที่สมบูรณ์และแข็งแรง งานอนามัยแม่และเด็กเป็นองค์ประกอบและเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการส่งเสริมสุขภาพแม่และเด็ก เพื่อให้ประชากรมีคุณภาพดีได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาและมีพัฒนาการเหมาะสมตามวัย ด้วยการสนับสนุนบริการดูแลก่อนคลอด การทำคลอด การดูแลมารดาและทารกหลังคลอด

จากการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็ก ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโงยซิแน อำเภอยะหา จังหวัดยะลา ปี 2562 พบว่าหญิงมีครรภ์ได้รับการดูแลก่อนคลอดก่อน 12 สัปดาห์ ร้อยละ 81.94 (เป้าหมาย ร้อยละ 75) ดูแลก่อนคลอดครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ 61.97 (ร้อยละ60) อัตราหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางใกล้คลอดไม่เกินร้อยละ 10 ได้ร้อยละ 35.71 การดูแลมารดาและทารกหลังคลอด พบว่าร้อยละ 76.92 (เป้าหมาย ร้อยละ 65) อัตราทารกตายปริกำเนิด ไม่เกิน 9 ต่อพันการเกิดมีชีพ จำนวนทารกเกิดมีชีพ มีน้ำหนักต่ำกว่า 2,500 กรัม ร้อยละ 5.00 (ไม่เกินร้อยละ 7) ซึ่งยังมีตัวชี้วัดยังต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการฝากครรภ์ไม่ต่อเนื่อง ฝากครรภ์ช้า การบริโภคอาหารในหญิงมีครรภ์การทานยาบำรุงเลือดที่ไม่ต่อเนื่อง มารดาขณะตั้งครรภ์ และหลังคลอด มีพฤติกรรมการดูแลตนเองและการดูแลบุตร ยังไม่ถูกต้องเท่าที่ควร

ดังนั้น การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน จะต้องเน้นถึงการส่งเสริมสุขภาพของแม่และเด็ก ในทุกๆด้านโดยเฉพาะการเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจ เพื่อให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในทางที่ดีแก่หญิงวัยเจริญพันธ์ุ หญิงมีครรภ์ และหญิงดูแลบุตร เพื่อที่จะนำความรู้ไปปฏิบัติ และถ่ายทอดไปยังผู้อื่นได้

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลบาโงยซิแน ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโงยซิแน อำเภอยะหา จังหวัดยะลา ได้เห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพแม่และเด็ก เพื่อลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัยปี 2564 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ เพิ่มขึ้น 2.ร้อยละของหญิงฝากครรภ์ ที่สามารถฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง เพิ่มขึ้น 3.ร้อยละของหญิงคลอด ที่ได้รับการตรวจและเยี่ยมหลังคลอดเพิ่มขึ้น 4.ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ไม่เกินร้อยละ 7 5.อัตราทารกตายปริกำเนิดไม่เกิน 9 ต่อพันการเกิดทั้งหมด 6.หญิงมีครรภ์มีภาวะซีด HCT ต่ำกว่า 33 ไม่เกินร้อยละ 10

1.ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ เพิ่มขึ้น 2.ร้อยละของหญิงฝากครรภ์ ที่สามารถฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง เพิ่มขึ้น 3.ร้อยละของหญิงคลอด ที่ได้รับการตรวจและเยี่ยมหลังคลอดเพิ่มขึ้น 4.ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ไม่เกินร้อยละ 7 5.อัตราทารกตายปริกำเนิดไม่เกิน 9 ต่อพันการเกิดทั้งหมด 6.หญิงมีครรภ์มีภาวะซีด HCT ต่ำกว่า 33 ไม่เกินร้อยละ 10

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 10
กลุ่มวัยทำงาน 20
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 30
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่1.รณรงค์ประชาสัมพันธ์

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่1.รณรงค์ประชาสัมพันธ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่1.รณรงค์ประชาสัมพันธ์
1.การประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ชุมชนมีความรู้ความเข้าใจ ในงานอนามัยแม่และเด็กโดยการจัดทำ แผ่นพับให้ความรู้ และสื่อต่างๆ
2.จัดนิทรรศการ ให้ความรู้ในเรื่องต่างๆ การมาฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ภาวะซีดในระหว่างการตั้งครรภ์ การมาฝากครรภ์ครบตามเกณฑ์ การรับประทานยาบำรุงเลือด การปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ อาหารที่ควรรับประทานขณะตั้งครรภ์ การปฏิบัติตัวหลังคลอดบุตร
-ค่าใช้จ่าย
- ค่าแผ่นพับ สือความรู้ จำนวน 300 ชุดๆละ 10 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
- ค่าป้ายไวนิลความรู้พร้อมขาตั้ง จำนวน 4 ชุดๆละ 1,500 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท
รวม 9,000 บาท

กิจกรรมที่2 การอบรมเชิงปฏิบัติการ เสวนากลุ่ม
จัดอบรมให้ความรู้เรื่องต่างๆของการฝากครรภ์ แก่หญิงมีครรภ์หญิงหลังคลอด หญิงวัยเจริญพันธ์ุ ผดุงครรภ์โบราณ จำนวน 1 วัน ค่าใช้จ่าย
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท* 60 คน* 2 มื้อ เป็นเงิน 3,000 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน 70 บาท 60 คน *1 มื้อ เป็นเงิน 4,200 บาท
- ค่าสมนาคุณวิทยากร ชั่วโมง 600 บาท 5 ชม. เป็นเงิน 3,000บาท
- ค่าวัสดุและค่าใช้จ่ายในการอบรม (ปากกา สมุด แฟ้มใส่เอกสาร ค่าถ่ายเอกสารประกอบการบรรยาย เป็นต้น) เป็นเงิน 4,800 บาท
รวม 15,000 บาท

กิจกรรมที่3 การเยี่ยมดูแล เฝ้าระวัง และติดตามหญิงมีครรภ์และหลังคลอด
การเยี่ยมดูแล เฝ้าระวังและติดตามภาวะเสี่ยง
- เจ้าหน้าที่ ร่วมกับ อสม. ทบทวนทะเบียนหญิงตั้งครรภ์ เพื่อวางแผนการออกเยี่ยม
- แจ้งหญิงตั้งครรภ์ถึงวัตถุประสงค์ของการเยี่ยมบ้าน ขออนุญาตดูรายละเอียดการฝากครรภ์จากสมุดบันทึกสุขภาพสีชมพู - การเยี่ยมดูแล การเฝ้าระวัง ติดตาม มีแนวปฏิบัติดังนี้
-กรณีหญิงตั้งครรภ์ทั่วไป ที่ความเสี่ยงต่ำ: ติดต่อสอบถามทุกครั้งหลังจากหญิงตั้งครรภ์ไปฝากครรภ์ที่โรงพยาบาล และออกเยี่ยม 1 ครั้งก่อนไปฝากครรภ์ครั้งต่อไป โดยการซักถามอาการ การตรวจร่างกาย เช่น ตรวจครรภ์ วัดความดันโลหิต แนะนำการดูแลตนเองตามอายุครรภ์ เช่น การรับประทานอาหาร การกินยา (ธาตุเหล็ก ไอโอดีน และโฟลิก) การพักผ่อน อาการผิดปกติหรือภาวะฉุกเฉิน ช่องทางติดต่อกับเจ้าหน้าที่หรือโรงพยาบาล
-กรณีหญิงตั้งครรภ์ ที่มีความเสี่ยงสูง: ติดต่อสอบถามทุกครั้งหลังจากหญิงตั้งครรภ์ไปฝากครรภ์ที่โรงพยาบาล และขออนุญาตประสานข้อมูลกับโรงพยาบาล สอบถามอาการ ชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต ตรวจครรภ์ วัดความสูงของยอดมดลูก ตรวจดูภาวะบวมที่ขาและเท้า ตรวจไข่ขาวในปัสสาวะโดยใช้แผ่นตรวจปัสสาวะ แนะนำการดูแลตนเองตามอายุครรภ์ เช่น การรับประทานอาหาร การกินยา การพักผ่อน อาการผิดปกติหรือภาวะฉุกเฉิน ช่องทางติดต่อกับเจ้าหน้าที่หรือโรงพยาบาลเน้นย้ำเรื่องการไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง
-กรณีหญิงหลังคลอด: ออกเยี่ยมอย่างน้อย 2 ครั้ง เพื่อตรวจดูแผลฝีเย็บและน้ำคาวปลา ตรวจดูเต้านม แนะนำการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การรับประทานอาหาร ติดตามการรับประทานยา และตรวจร่างกายทารกหลังคลอด

ค่าใช้จ่าย
- ค่าบริการเหมาจ่ายแก่แกนนำในการติดตาม เยี่ยมดูแล เฝ้าระวัง และติดตามหญิงมีครรภ์และหญิงหลังคลอด รายละ 60 บาทต่อครั้ง จำนวน 100 ราย เป็นเงิน 6,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้และความเข้าใจในเรื่องต่างๆเกี่ยวกับการฝากครรภ์ -เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ ประชาชนทั่วไปมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องการตั้งครรภ์ -เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ และหญิงหลัง คลอดได้รับการติดตามอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความปลอดภัยทั้งมารดา และทารก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ก่อน12 สัปดาห์ เพิ่มขึ้น
2.หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ครบ 5ครั้งตามเกณฑ์ เพิ่มขึ้น
3.หญิงหลังคลอด ได้รับการตรวจและเยี่ยมหลังคลอดเพิ่มขึ้น
4.ทารกแรกเกิดน้ำหนักมากกว่า 2,500 กรัม
5.ลดอัตราทารกตายปริกำเนิดไม่เกิน 9 ต่อพันการเกิดทั้งหมด
6.หญิงมีครรภ์ที่มีภาวะซีด ลดลง


>