กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางขุนทอง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองการติดเชื้อ โรคเท้าช้างในประชาชน หมู่ที่ 3 บ้านโคกงู

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางขุนทอง

ชมรม อสม.ตำบลบางขุนทอง

1. นางประนอม พรมเจียม
2. น.ส.นูรีฮะ อูมา
3. น.ส.นูรีซา ดือเย๊ะ
4. นางมณี เพ็ชรรัตน์
5. นายนุ้ย เชิดชู

หมู่ที่ 3 บ้านโคกงู

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จังหวัดนราธิวาสเป็นจังหวัดเดียว ที่ยังมีรายงานผุูู้ป่วยโรคเท้าช้าง ใน ปี 2562 จำนวน 14 ราย ซึ่ง 1 ในผู้ป่วยทั้งหมด นี้ เป็นประชาชนในพื้นที่ ตำบลบางขุนทอง เป็นผู้ป่วยระยะแพร่เชื้อพยาธิในโลหิต

 

1.00

จังหวัดนราธิวาสเป็นจังหวัดเดียวที่มีปัญหาการแพร่โรคเท้าช้าง โดยมีการรายงานการติดเชื้อพยาธิโรคเท้าช้างในพื้นที่บริเวณรอบพรุใน 7 อำเภอ 22 ตำบล 87 หมู่บ้าน มีผู้ป่วยสะสมขึ้นทะเบียนรักษาจนถึง กันยายน 2562 จำนวน 14 ราย ซึ่งเป็นผู้ป่วยระยะแพร่เชื้อพยาธิในโลหิตทั้งหมด ซึ่ง 1 ในผู้ป่วยทั้งหมด นี้ เป็นประชาชนในพื้นที่ ตำบลบางขุนทอง ส่วนผู้ป่วยนอกทะเบียนที่ปรากฏอาการและต้องได้รับการดูแล จำนวน 12 ราย การกระจายของผู้ป่วยระยะแพร่เชื้อพยาธิในโลหิต พบมากในอำเภอสุไหงโก-ลก (7 ราย) อัตราส่วนเพศชาย:เพศหญิง เท่ากับ 1:1.3 ส่วนใหญ่อายุ 5-14 ปี (7 ราย)สำหรับผลการเฝ้าระวังการติดเชื้อไมโครฟิลาเรียในประชาชน ปีงบประมาณ 2561 ในพื้นที่ 9 กลุ่มบ้านของจังหวัดนราธิวาส พบอัตราการตรวจพบไมโครฟิลาเรีย ร้อยละ 0.18
นอกจากนี้จากการสำรวจทางกีฏวิทยาในปี พ.ศ. 2559 พบยุงที่เป็นพาหะชองโรคเท้าช้าง คือ Mansonia uniformis ที่มีพยาธิเท้าช้างระยะ L3 จำนวน 1 ตัว ในตำบลบางขุนทอง อำเภอตากใบ ปี พ.ศ. 2561 พบเชื้อพยาธิเท้าช้าง ระยะ L2 หรือตัวอ่อนระยะก่อนติดเชื้อ (pre-infective lavae) ในยุงชนิด Mansonia annulataแต่ไม่พบตัวอ่อนระยะ L3 ในตัวยุง
จากการที่พบผู้ป่วยที่มีเชื้อในกระแสโลหิตเป็นประชาชนในพื้นที่ตำบลบางขุนทอง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการคัดกรองสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ เพื่อหาว่า ยังมีผู้ป่วยที่ติดเชื้อโรคชนิดนี้ อีกหรือไม่ โดยการเจาะเลือด เพื่อตรวจหาเชื้อในประชากร อายุ 2 ปีขึ้นไป ทุกคน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.ประชาชนในพื้นที่แพร่โรคเท้าช้างได้รับการเจาะโลหิตตรวจโรคเท้าช้าง

๑.ประชาชนในพื้นที่แพร่โรคเท้าช้างได้รับการเจาะโลหิตตรวจโรคเท้าช้าง อย่างน้อย 90%

600.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 600
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/03/2021

กำหนดเสร็จ 31/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 - สำรวจรายชื่อประชากร อายุ2 ปีขึ้นไปในพื้นที่ หมู่ที่ 3 บ้านโคกงู

ชื่อกิจกรรม
- สำรวจรายชื่อประชากร อายุ2 ปีขึ้นไปในพื้นที่ หมู่ที่ 3 บ้านโคกงู
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อสม. สำรวจ รายชื่อจัดทำบัญชี กลุ่มเป้าหมาย

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 มีนาคม 2564 ถึง 31 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

บัญชีรายชื่อกลุ่มเป้าหมาย ประชากร อายุ 2 ปีขึ้นไป

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 จัดกิจกรรมรณรงค์ ป้องกันโรคในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมรณรงค์ ป้องกันโรคในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การให้ความรู้เรื่องโรคเท้าช้าง การควบคุมและป้องกันโรคการรักษาผู้ป่วยที่ปรากฏ ไม่ ปรากฏอาการของโรคเท้าช้าง การเจาะเลือดหาเชื้อโรค ในกระแสโลหิต ในกลุ่มเป้าหมายทุกคน -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม อาสาสมัครใน การจัดกิจกรรมรณรงค์ การเจาะเลือดคัดกรองการติดเชื้อในคน จำนวน 28 วันๆละ 7 คนๆละ 1 มื้อๆละ25 บาท เป็นเงิน 4,900 บาท -ค่าอาหารกลางวัน อาสาสมัครใน การจัดกิจกรรมรณรงค์ การเจาะเลือดคัดกรองการติดเชื้อในคน จำนวน 28 วันๆละ 7 คนๆละ 1 มื้อๆละ 50 บาท เป็นเงิน 9,800 บาท -ค่าจ้างทำป้ายไวนิล โครงการรณรงค์คัดกรองฯ จำนวน 2 ป้ายๆละ 700 บาท เป็นเงิน 1,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนในพื้นที่เป้าหมาย ได้รับการเจาะโลหิตอย้างน้อยร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,100.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชาชนในพื้นที่แพร่โรคเท้าช้างได้รับการเฝ้าระวังการติดเชื้อพยาธิโรคเท้าช้าง


>