กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาวะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังป้องกันสตรีกาวะจากมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาวะ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกาวะ อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกาวะ อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 สตรีในเขตพื้นที่ที่มีอายุ 30-60 ปี ไม่ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็วเต้านม

 

10.00

ในปัจจุบันโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุอับดับหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ การควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูก ต้องมีการค้นหา โดยการตรวจหาเซลล์ให้พบตั้งแต่อยู่ในระยะเริ่มแรก และในระยะก่อนเป็นมะเร็ง ซึ่งสามารถรักษาให้หายได้ และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการรักษาในระยะลุกลาม และจากการศึกษาขององค์กรการอนามัยโลก ได้พบว่าการคัดกรองด้วยการทำ pap smear ในสตรีกลุ่มอายุ 30 ปีขึ้นไป ทำให้ช่วยลดอัตราการเกิดโรคและอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้ สำหรับโรคมะเร็งเต้านมในสตรีไทย พบว่าสตรีทุกคนมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมได้ 1 คน แม้ว่ามะเร็งเต้านม ทำให้เกิดความสูญเสียและเป็นสาเหตุการเสียชีวิตในอัตราที่สูง แต่เป็นโรคที่สามารถรักษาได้ และการพยากรณ์โรคค่อยข้างดี ถ้าสามารถตรวจพบและให้การรักษาในระยะเริ่มแรก ร้อยล่ะ 60 สามารถป้องกันได้โดยการลดพฤติกรรมเสี่ยงและหากได้รับการได้รับคัดกรองะมะเร็งในระยะแรกจะสามารถป้องกันและได้รับการรักษาได้ทันท่วงที ดังนั้นถา้สามารถกระตุ้กประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้มีความรู้ความเข้าใจในโรคดัดกล่าวพร้อมทั้งตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการตรวจค้ดหาโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรกก็จะทำให้อัตราการเกิดโรค อัตราการป่วยและอัตราการตายจากโรคมะเร็งจะลดลง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกาวะ จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังป้องกันสตรีกาวะจากมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ในปีงบประมาณ 2564 เพื่อติดตามการตรวจสุขภาพต่อเนื่องของผู้รับบริการ โดยเน้นการตรวจ pap smear เชิงรุกค้นหาเซลล์มะเร็งได้ในระยะเริ่มแรก รวมถึงตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเบื่อนต้น เพื่อส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคด้วย ซึ่งจะเป็นแนวทางในการสกัดโรคก่อนลุกลาม

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้สตรีในเขตพื้นที่ที่มีอายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็วเต้านม

สามารถตรวจคัดกรองได้ตามจำนวนเป้าหมายที่วางไว้ (150 คน)

10.00 10.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 150
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 31/05/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมสตรีในพื้นที่อายุ 30-60 ปี และสอนทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเอง

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมสตรีในพื้นที่อายุ 30-60 ปี และสอนทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.เสนอโครงการเพื่ออนุมัติ
2.จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์สถานที่และประสานงานเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจและกลุ่มเป้าหมายผู้เข้ารับการตรวจ
3.อสม.ติดตามกลุ่มเป้าหมายมาตรวจในวันดำเนินโครงการ
4.จัดอบรมและดำเนินกิจกรรมตามแผนการตรวจมะเร็ง ปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
5.การแจ้งผลการตรวจมะเร็งปากมดลูก นัดหมายมารับการตรวจใน 1 เดือนสำหรับรายที่ผิดปกติ แจ้งผลทางโทรศัพท์ นัดมาเพื่อรับฟังและมาอธิบายผลการตรวจและการส่งต่อ
โดยงบประมาณ
1.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 150 คน จำนวน 150 x 50 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 7,500 บาท
2.ค่าอาหารว่าง จำนวน 150 คน จำนวน 150 x 25 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 7,500 บาท
3.จัดซื้อวัสดุ/อุปกรณ์ในการจัดโครงการจำนวน 150 ชุด 150 x 30 บาท รวมเป็น 4,500 บาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 19,500 บาท (หนึ่งหมื่นเก้าพันห้าร้อยบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 31 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.สตรีกลุ่มเป้าหมายมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค ได้รับการคัดกรองความผิดปกติและได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรก
2.เพื่อลดอัตราการเกิดมะเร็งปากมดลูกและเต้านมระยะลุกลามและลดอัตราการตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
3.ภาคปฏิบัติสอนทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.สตรีกลุ่มเป้าหมาย มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้รับการคัดกรองความผิดปกติ และได้รับการรักษา ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก
2.เพื่อลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกและเต้านม ระยะลุกลาม และลดอัตราการตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม


>