กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดเสี่ยงเลี่ยงโรคตำบลเกตรี ปี 2564

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกตรี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดเสี่ยงเลี่ยงโรคตำบลเกตรี ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกตรี

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังพะเนียด ตำบลเกตรี

ตำบลเกตรี อำเภอเมือง จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 1.ร้อยละประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นปี ที่ได้รับการคัดกรอง มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 21.83 และเสี่ยงโรคเบาหวาน ร้อยละ 11.79

 

1.00

ปัจจุบันเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน วิถีชีวิตของประชาชนมีการเปลี่ยนแปลง มีพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องมากขึ้น บริโภคอาหารโดยไม่คำนึงถึงคุณค่า มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง ขาดการออกกำลังกายที่เหมาะสมเครียด ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ทางกระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จึงมีมาตรการเชิงรุกในการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง โดยมีการคัดกรองพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรค โดยมีเป้าหมายประชากรกลุ่มอายุ ๓๕ปีขึ้นไปทุกรายที่ไม่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตและโรคเบาหวาน ต้องได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงด้วยการ การวัดความดันโลหิต การตรวจน้ำตาลในเลือด การชั่งน้ำหนัก วัดความสูง และการวัดเส้นรอบพุง เพื่อค้นหาพฤติกรรมเสี่ยงและค้นหาโรคในระยะเริ่มต้น ปัญหากลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญและถือว่าเป็น “ภัยเงียบ”เพราะเป็นโรคที่ไม่ปรากฏอาการ โดยประชาชนที่เสี่ยงหรือป่วยถ้าไม่ได้รับการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสมก็อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนอาจเสียชีวิตเฉียบพลัน หรืออาจเกิดความพิการที่ไม่อาจแก้ไขได้ เช่น โรคไตวาย ตาบอดโรคหลอดเลือดสมองตีบและโรคหลอดเลือดสมองแตกได้
จากผลการดำเนินงานคัดกรองกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในประชากรกลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปีขึ้นไป ในหมู่ที่ 1 ถึง หมู่ที่ ๗ ตำบลเกตรี อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ปี 25๖๒ ผลงานการคัดกรองโรคเบาหวาน จากกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการคัดกรอง จำนวน 2,214 คน คิดเป็นร้อยละ 93.34พบกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน จำนวน ๔71 คน คิดเป็นร้อยละ 21.27 กลุ่มเสี่ยงสูงโรคเบาหวาน สงสัยป่วย จำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 0.๙9และผลการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง จากกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการคัดกรอง จำนวน 1,886 คนคิดเป็นร้อยละ 92.86 พบกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 838 คน คิดเป็นร้อยละ 41.43 กลุ่มเสี่ยงสูงโรคความดันโลหิตสูงสงสัยป่วย จำนวน 93 คน คิดเป็นร้อยละ 4.93 และในปี ๒๕๖๓ผลงานการคัดกรองโรคเบาหวาน จากกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการคัดกรอง จำนวน 2,222 คนคิดเป็นร้อยละ 91.29 พบกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน จำนวน 77 คน คิดเป็นร้อยละ 3.47 กลุ่มเสี่ยงสูงสงสัยป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 0.77 และผลงานการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง จากกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการคัดกรอง จำนวน 1,890 คน คิดเป็นร้อยละ 91 พบกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 130 คน คิดเป็นร้อยละ 6.88 กลุ่มเสี่ยงสูงสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 92 คน คิดเป็นร้อยละ 4.87และปี 2564 ผลการคัดกรองโรคเบาหวาน จากกลุ่มเป้าหมายที่คัดกรอง จำนวน 2382 คน คิดเป็นร้อยละ 95.70พบกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน 244 รายคิดเป็นร้อยละ 10.24และกลุ่มเสี่ยงสูง (สงสัยป่วย) โรคเบาหวาน 37 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.55 และผลการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงจากกลุ่มเป้าหมาย 2048 ราย คิดเป็นร้อยละ 96.33 พบเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 239 ราย คิดเป็นร้อยละ 11.67 กลุ่มเสี่ยงสูง(สงสัยป่วย) จำนวน 208 ราย คิดเป็นร้อยละ 10.16ย พบผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยงสูงโรคเบาหวาน ในปี 2562 จำนวน 4 คน ปี 2563 จำนวน 3คน ปี 2564 จำนวน 11 ราย และผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่ ในปี 2562จำนวน 8 คน ปี 2563 จำนวน 5 คน และปี 2564 จำนวน 37 รายจากข้อมูลข้างต้นพบว่า การเกิดโรคเรื้อรังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและจะเห็นว่ามีผู้ป่วยรายใหม่เกิดขึ้นจากกลุ่มเสี่ยงสูง ซึ่งโรคดังกล่าวสามารถป้องกันและหลีกเลี่ยงได้หากได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องและเหมาะสมอย่างต่อเนื่อง

ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังพะเนียด ตำบลเกตรี อ.เมือง จ.สตูล ได้ตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชนในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเสี่ยงสูงของโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง จึงจัดทำโครงการดูแลสุขภาพกลุ่มเสี่ยง เพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้ สามารถดูแลตนเอง และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดการเกิดโรคเรื้อรังได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง มีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเอง

1.ร้อยละ 90 ของประชากร กลุ่มเสี่ยงด้วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3อ 2ส ได้อย่างถูกต้อง

0.00
2 เพื่อค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ให้ได้รับการส่งต่อและรักษาอย่างเป้นระบบ

ร้อยละ 100 ของผู้ป่วยรายใหม่ได้รับการส่งต่อและรักษาตามมาตรฐาน

0.00
3 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงอายุ 35 ปี ขึ้นไป ได้คัดกรองตรวจสุขภาพต่อเนื่องซ้ำในชุมชนหลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อให้ผลการสุขภาพที่ดีขึ้นไม่กลายเป็นโรคเรื้อรัง

ร้อยละ 90 ของกลุ่มเสี่ยงสูงมีค่าระดับน้ำตาล ค่าระดับความดันโลหิตลดลงหลังจากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงแล้ว

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 160
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดเลี่ยง เลี่ยงโรค ปี 2564

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมเชิงปฏิบัติการการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดเลี่ยง เลี่ยงโรค ปี 2564
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ขั้นเตรียมการ

  • ประชุมทีมงานเพื่อวางแผนกิจกรรมในการดำเนินโครงการ
  • ร่างแบบเขียนโครงการเพื่อนำเสนอ
  • เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ
  • จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์และเอกสาร
  • มอบหมายหน้าที่การปฏิบัติงาน
  • ประชาสัมพันธ์โครงการ โดยผู้นำชุมชน,อสม. และ อบต.เกตรี
  • จัดทำทะเบียนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
  • ติดต่อกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังและประสานงานกับผู้นำชุมชน,อสม.และทุกหมู่บ้าน
  • ประชุมทีมงานเพื่อดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการก่อนและหลังทำโครงการ

ขั้นดำเนินการ

  • จัดอบรมเชิงปฏิบัติการการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดเลี่ยง เลี่ยงโรค ปี 2564 แก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยง/ปัจจัยเสี่ยงโรคเรื้อรังเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพด้วย3 อ 2 ส โรคหลอดเลือดหัวใจ/สมอง /และการปฎิบัติตัวให้เหมาะสมและเฝ้าระวังด้วยตนเองโดยใช้ปิงปอง 7 สี และนวัตกรรมอื่นๆที่มีในชุมชน
  • สาธิตและฝึกปฎิบัติการออกกำลังกาย
  • กิจกรรมเวียนฐานความรู้ แบ่งเป็น 3 ฐาน ( ฐานที่1.ความรู้เรื่องโรคและการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพModel อาหาร ฐานที่ 2. การออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างสุขภาพให้เหมาะสมกับเพศและวัย ฐานที่3.การคลายเครียด )
  • ติดตาม ประเมิน ตรวจสุขภาพกลุ่มเสี่ยงซ้ำหลังการอบรม 3 เดือน
  • ติดตามเยี่ยมบ้านกลุ่มเสี่ยงสูงที่มีปัญหาในการดูแลสุขภาพ นัดติดตามผลและส่งต่อโดยเจ้าหน้าที่ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)

ขั้นสรุปผลโครงการ

  • สรุปผลการดำเนินโครงการส่งให้กองทุนฯ อบต.เกตรี

รายละเอียดงบประมาณ

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม คณะทำงานก่อน-หลังอบรม จำนวน 40 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ25 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 คน ๆ ละ 2 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 160 คน ๆ ละ 85 บาท เป็นเงิน 13,600 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 160 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 8,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น26,000บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ 35 ปี ขึ้นไปมีพฤติกรรมบริโภคที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานเป็นผู้ป่วยรายใหม่
  • ประชาขนกลุ่มเสี่ยงอายุ 35 ปี ขึ้นไป มีความรู้เพื่อส่งเสริมและเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง ด้วย 3. อ 2 ส.
  • ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ได้รับการติดตามเพื่อตรวจสุขภาพซ้ำ ในชุมชน หลังอบรม 3 เดือน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
26000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 26,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชากรกลุ่มเสี่ยงที่พบความผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อรับการวินิจฉัย รักษาจากแพทย์ตามเกณฑ์มาตรฐาน
2.ประชากรกลุ่มเสี่ยงสูงโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของตนเอง สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเองได้ถูกต้องมากขึ้น
3.เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงอายุ 35 ปี ขึ้นไป ได้คัดกรองตรวจสุขภาพต่อเนื่องซ้ำในชุมชนหลังปรับเปลี่ยนสุขภาพ เพื่อให้ผลการสุขภาพที่ดีขึ้นไม่กลายเป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรัง


>