กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต อบรมให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อและ โรคไม่ติดต่อที่เป็นปัญหาสำคัญ และการจัดการความเครียดในกลุ่มประชาชนผู้ด้อยโอกาส (ผู้ถูกคุมความประพฤติ)

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต อบรมให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อและ โรคไม่ติดต่อที่เป็นปัญหาสำคัญ และการจัดการความเครียดในกลุ่มประชาชนผู้ด้อยโอกาส (ผู้ถูกคุมความประพฤติ)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดยะลา

สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

กรมคุมประพฤติ มีหน้าที่ในการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดให้กลับตนเป็นคนดี และสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้กระทำความผิดคดีอาญาอื่นๆที่เกี่ยวเนื่องกับยาเสพติดมีเป็นจำนวนมาก ประกอบกับในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีอัตลักษณ์ที่แตกต่างจากพื้นที่ อีกทั้งกลุ่มผู้ติดยาเสพติดยังเป็นกลุ่มเสี่ยงในการเกี่ยวข้องกับปัญหาความไม่สงบในพื้นจังหวัดชายแดนใต้
สารเสพติดเป็นปัญหาสำคัญที่นอกจากจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้เสพโดยตรง ยังส่งผลกระทบต่อครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศเป็นอย่างมาก และถูกคุมความประพฤติและผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติด ยาเสพติด คือผู้ด้อยโอกาสประเภทหนึ่งเป็นผู้ประสบปัญหาความเดือดร้อนและได้รับผลกระทบในด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา สาธารณสุข การเมือง กฎหมาย วัฒนธรรม รวมถึงผู้ที่ขาดโอกาสที่จะเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐานของรัฐ ตลอดจนผู้ประสบปัญหาที่ยังไม่มีองค์กรหลักรับผิดชอบ อันจะส่งผลให้ไม่สามารถดำรงชีวิตได้เท่าเทียมกับผู้อื่น จากปัญหาผู้ด้อยโอกาสบางรายปิดกั้นตัวเอง เนื่องจากมองไม่เห็นโอกาสในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองในด้านต่าง ๆ ถูกกีดกัน ถูกเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม ขาดการยอมรับจากสังคม (ไม่มีตัวตน อยู่ในภาวะยากลำบาก) สังคมมีทัศนคติเชิงลบ การให้บริการของรัฐ หน่วยงานยังจำกัด ไม่ครอบคลุมมีข้อกำหนดที่กีดกัน ผู้ด้อยโอกาสมีทัศนคติเชิงลบต่อตนเอง ขาดโอกาสในการมีส่วนร่วมในการพัฒนาโดยเฉพาะการเข้าถึงการบริการทางสาธารณสุข ซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ผู้ด้อยโอกาสอาจมีปัญหาสุขภาพก่อน ระหว่างหรือหลังถูกคุมขังทั้งสุขภาพกาย สุขภาพจิตใจ อาจไม่ได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้สุขภาพไม่ดี และอาจแพร่กระจายเชื้อโรคในวงกว้างได้ในกรณีเป็นโรคติดต่อ มีภาวะซึมเศร้าจากการตีตรา ทัศนคติเชิงลบของคนในครอบครัว และสังคมส่งผลให้เกิดปัญหาซึมเศร้า ใช้ยาเสพติดซ้ำ เกิดอาชญากรรมในปี 2563 สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดยะลา มีผู้ถูกคุมความประพฤติทั้งสิ้น จำนวน 500 ราย และมีผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดทั้งสิ้น จำนวน 360 ราย ผู้ถูกคุมความประพฤติและผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดที่อยู่ในเขตเทศบาลนครยะลา มีจำนวนประมาณ 100 คน และโรคที่พบของผู้ถูกคุมความประพฤติและผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ส่วนใหญ่เป็นโรควัณโรค คิดเป็นร้อยละ 64 รองลงมา โรคปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ, กล้ามเนื้ออ่อนแรง คิดเป็นร้อยละ ๒๖ และโรคหอบหืด คิดเป็นร้อยละ 10 ตามลำดับ
จากสภาพปัญหาดังกล่าวส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่จะเกิดขึ้นในระยะยาวเพื่อพิทักษ์สิทธิ์ต่างๆที่ควรจะได้รับเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำนักงานคุมประพฤติจังหวัดยะลาได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์สร้างค่านิยมและคุณค่า เพื่อสร้างศรัทธาต่อตนเอง (self-esteem) และลดการพึ่งพิงรัฐในอนาคต จึงได้จัดโครงการนี้เกิดขึ้นเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต อบรมให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อ โรคไม่ติดต่อที่เป็นปัญหาสำคัญ และการจัดการความเครียด ในกลุ่มประชาชนผู้ด้อยโอกาสสร้างความตระหนัก ในการป้องกันโรค ลดการแพร่กระจาย เข้าถึงการรักษาได้อย่างต่อเนื่อง ลดอาการแทรกซ้อนของโรคและสามารถนำความรู้ดูแลตนเองได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้ด้อยโอกาส (ผู้ถูกคุมความประพฤติ/ผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด) มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคติดต่อ โรคไม่ติดต่อที่เป็นปัญหาสำคัญ
  1. ร้อยละของผู้เข้าร่วมไม่น้อยกว่าร้อยละ 100
  2. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคติดต่อ และโรคไม่ติดต่อที่เป็นปัญหาสำคัญ ร้อยละ 80
0.00
2 ข้อที่ 2. เพื่อให้ผู้ด้อยโอกาส (ผู้ถูกคุมความประพฤติ/ผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด) มีความรู้ในการจัดการความเครียด และส่งเสริมให้ผู้ด้อยโอกาสเห็นคุณค่าในตนเอง
  1. มีความรู้ในการจัดการความเครียด การส่งเสริมให้ผู้ด้อยโอกาสเห็นคุณค่าในตนเอง ร้อยละ 80
0.00
3 ข้อที่ 3. ส่งต่อรักษา ดูแล อย่างต่อเนื่องในระบบสาธารณสุข
  1. ผู้ด้อยโอกาส(ผู้ถูกคุมความประพฤติ/ผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด) ได้รับการส่งต่อในกรณีเจ็บป่วยโรคเรื้อรังทั้งทางสุขภาพกาย จิตใจ      ร้อยละ 80
  2. ร้อยละของผู้เข้ารับอบรมมีความพึงพอใจ ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต อบรมให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อ โรคไม่ติดต่อที่เป็นปัญหาสำคัญ และการจัดการความเครียด

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต อบรมให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อ โรคไม่ติดต่อที่เป็นปัญหาสำคัญ และการจัดการความเครียด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
31020.00

กิจกรรมที่ 2 การประชุมสรุปและประเมินผลภาวะสุขภาพของผู้ด้อยโอกาส

ชื่อกิจกรรม
การประชุมสรุปและประเมินผลภาวะสุขภาพของผู้ด้อยโอกาส
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 31,020.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เพื่อให้ผู้ด้อยโอกาส (ผู้ถูกคุมความประพฤติ/ผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด) มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคติดต่อ โรคไม่ติดต่อที่เป็นปัญหาสำคัญ
2. เพื่อให้ผู้ด้อยโอกาส (ผู้ถูกคุมความประพฤติ/ผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด) มีความรู้ในการจัดการความเครียด การส่งเสริมให้ผู้ด้อยโอกาสเห็นคุณค่าในตนเองและยอมรับโอกาสในการเข้าถึงสวัสดิการของภาครัฐเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเอง


>