กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกตรี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสุขภาพดี วิถีอิสลาม

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกตรี

ชมรมผู้บริหารมัสยิดตำบลเกตรี

1. นายดลฮาลิม หลงหัน
2. นายอับดลรอเชด หลงหัน
3. นายหมาดอาดำ
4. นายนพดล ตาลักษณะ
5. นายและ อาดำ

อาคารเอนกประสงค์ หมู่ที่ 4 ตำบลเกตรี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพ

 

60.00

การดูแลสุขภาพและสาธารณสุขในยุคปัจจุบันนั้น ความเกี่ยวข้องระหว่างศาสนากับสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญประการหนึ่งที่มีการกล่าวถึงอยู่ไม่น้อย ดังเช่นศาสนาอิสลาม หากย้อนกลับไปพิจารณาวิถีของอิสลาม ซึ่งเป็นวิถีในการดำเนินชีวิตที่สมบูรณ์และครอบคลุมทุกๆด้าน เรื่องสุขภาพและความเจ็บป่วยนั้น อิสลามได้พูดถึงอย่างละเอียดทั้งด้านการส่งเสริม ป้องกัน บำบัดรักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพ เป็นสิ่งที่มุสลิมทุกคนต้องนำมาปฏิบัติเราจะพบว่า วิถีชีวิตประจำวันของผู้นับถือศาสนาอิสลามดำเนินไปตามหลักคำสอนของอิสลามที่ครอบคลุมทุกอย่างเกี่ยวกับชีวิตของมนุษย์ เริ่มตั้งแต่หัวใจ และจิตใจของมนุษย์จนครอบคลุมทุกส่วนของร่างกาย และสภาพแวดล้อมที่มนุษย์ใช้ชีวิตอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำหนดกรอบความสัมพันธ์อย่างเป็นระบบระหว่างสุขภาพกับศาสนพิธี หรือ “อิบาดะอ์” เช่น การละหมาด การถือศีลอด การอาบน้ำละหมาด การออกกำลังกาย โภชนาการ การพักผ่อน การป้องกัน การรักษา
การปฏิบัติตามคำสอนของอิสลามจึงเป็นการปฏิบัติดีเกี่ยวกับสุขภาพไปพร้อมกันด้วย สำหรับสุขภาพในศาสนพิธีของอิสลามนั้น เป็นทั้งกฎเกณฑ์เพื่อฝึกควบคุมร่างกายและส่งเสริมสุขภาพจิตไปพร้อมๆ กัน ในการละหมาด มุสลิมทุกคนจะทำการละหมาดภาคบังคับวันละห้าเวลา ความสะอาดถือเป็นเงื่อนไขสำคัญในการละหมาดแต่ละครั้ง คือต้องสะอาดทั้งสถานที่ เสื้อผ้าที่ใช้ รวมทั้งต้องอยู่ในสภาพที่สะอาดด้วยการอาบน้ำหรืออาบน้ำละหมาด ในการถือศีลอด ทุกๆ ปีมุสลิมจะถือศีลอดหนึ่งเดือน คือเดือนรอมฎอน จะเห็นได้ว่าศาสนาอิสลามให้ความสำคัญในการดูแลสุขภาพ ทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจ
ดังนั้นชมรมผู้บริหารมัสยิดตำบลเกตรี จึงได้ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว และยังเห็นคุณค่าของชีวิต จึงได้จัดโครงการสุขภาพดี วิถีอิสลาม เพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตใจ ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดีด้วยหลักวิถีอิสลาม

 

60.00 30.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้มีวิถีชีวิตประจำวันดำเนินไปตามหลักคำสอนของอิสลาม

 

60.00 30.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 70
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่องหลักปฏิบัติให้มีสุขภาพที่ดีด้วยหลักวิถีอิสลาม

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องหลักปฏิบัติให้มีสุขภาพที่ดีด้วยหลักวิถีอิสลาม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ขั้นเตรียมการ

  • ประชุมคณะกรรมการชมรมฯ

  • เขียนโครงการเพื่อของบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.เกตรี

  • ประชุมคณะกรรมการเพื่อมอบหมายงานต่าง ๆเพื่อจัดโครงการ

ขั้นดำเนินการ

  • อบรมให้ความรู้เรื่องสุขภาพที่ดีด้วยหลักวิธีอิสลาม

  • อบรมให้ความรู้เรื่องหลักปฏิบัติให้มีสุขภาพที่ดีด้วยหลักวิธีอิสลาม

ขั้นประเมินผล

  • สรุปและติดตามการประเมินผลการดำเนินงานโครงการ

รายละเอียดงบประมาณ

  • ค่าป้ายไวนิล 2 x 1.5 เป็นเงิน 450 บาท
  • ค่าวิทยากร 600 บาท x 4 ชั่วโมง เป็นเงิน 2,400บาท
  • ค่าเช่าเครื่องเสียง 1 วันเป็นเงิน 500 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน 85 บาท x 70 คน x 1 มื้อ เป็นเงิน 5,950 บาท
  • ค่าอาหารว่าง 25 บาท x 70 คน x 2 มื้อ เป็นเงิน 3,500 บาท
  • ค่าคู่มือจำนวน 70 ชุด ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 1,750 บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม
  • ค่าสมุดจำนวน 70 เล่ม ๆ ละ 5 บาท เป็นเงิน 350 บาท
  • ค่าปากกาจำนวน 70 ด้าม ๆ ละ 5 บาท เป็นเงิน 350 บาท
  • ค่าแฟ้มใส่เอกสาร 70 แฟ้ม ๆ ละ 15 บาท เป็นเงิน 1,050 บาท

    รวมงบปะมานทั้งสิ้น 16,300บาท (ทุกรายการสามารถถั่วเฉลี่ยกันได้)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้เรื่องหลักปฏิบัติให้มีสุขภาพที่ดีด้วยหลักวิถีอิสลาม
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,300.00 บาท

หมายเหตุ :
กำหนดการ
โครงการสุขภาพดี วิถีอิสลาม
ณ อาคารเอนกประสงค์ หมู่ที่ 4 ตำบลเกตรี
อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล

กำหนดการ
9:00 – 9:15 น. ลงทะเบียน
9:15 – 9:25 น. เปิดพิธี โดย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกตรี
9:25 – 10:30 น. รับฟังบรรยายจากวิทยากรเรื่องหลักปฏิบัติให้มีสุขภาพที่ดีด้วยหลักวิถีอิสลาม
10:30 – 10:45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10:45 – 12:00 น. รับฟังบรรยายจากวิทยากร (ต่อ)
12:00 – 13:00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13:00 – 14:45 น. รับฟังบรรยายจากวิทยากรเรื่องหลักปฏิบัติให้มีสุขภาพที่ดีด้วยหลักวิถีอิสลาม
14:45 – 15:00 น. พักรับประทานอาหารว่าง
15:00 -16.00 น. รับฟังบรรยายจากวิทยากร (ต่อ)
16:00 – 16:10 น. ปิดพิธี

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้เข้าร่วมอบรมมีสุขภาพที่ดีด้วยหลักวิถีอิสลาม
2.ผู้เข้าร่วมอบรมได้มีวิถีชีวิตประจำวันดำเนินไปตามหลักคำสอนของอิสลาม


>