กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสร้างเสริมสุขภาพด้วยกิจกรรมสมาธิบำบัด SKT ในผู้สูงอายุชุมชนจารูนอก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

กลุ่มแกนนำสุขภาพชุมชนจารูนอก
1 นายหะมุสุไลมาน
2 น.ส.โซฟียะห์ มะ
3 น.ส.สุริยานี มะเซ็ง
4 นางมายีด๊ะ มะรือเสาะ
5 นางนาปีเซ๊าะ มะลี

ชุมชนจารูนอก เทศบาลนครยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากรายงานสถานะสุขภาพของชุมชนจารูนอก เทศบาลนครยะลา ในปี 2563 พบว่ามีจำนวนผู้สูงอายุ 237 คน ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 101 คน คิดเป็นร้อยละ 42.62 ป่วยด้วยโรคเบาหวานจำนวน 36 คน คิดเป็นร้อยละ 15.19 (ฐานข้อมูลสุขภาพจังหวัดยะลา HDC สืบค้นวันที่ 6 พ.ย. 63) สาเหตุส่วนใหญ่จากวิถีชีวิตคนในจังหวัดยะลาพบว่ามีการรับประทานอาหารไม่หลากหลาย นิยมรับประทานอาหารจำพวกแป้ง ไขมัน และน้ำตาล ส่วนผลไม้เป็นผลไม้ในท้องถิ่น เช่น ทุเรียน ลองกอง มังคุด มีการ ออกกำลังกายในระดับปานกลาง ส่วนใหญ่เป็นการออกกำลังกายโดยการปั่นจักรยาน การเดิน การวิ่ง และมีกิจกรรมเคลื่อนไหว เช่น การทำงานบ้าน การออกกำลังกายในสตรีมีข้อจำกัด โดยต้องแต่งกายมิดชิด สถานที่เป็นสัดส่วนไม่ปะปนกันระหว่างหญิงและชาย ส่งผลให้น้ำหนักตัวเกิน และอ้วนลงพุง ในผู้ชายยังพบว่าสูบบุหรี่จำนวนมากโดยเฉพาะยาสูบแบบม้วน จากวิถีการใช้ชีวิตดังกล่าว สอดคล้องกับรายงานสถานการณ์โรคไม่ติดต่อในเขตเทศบาลนครยะลาในปี 2561 - 2563 อัตราป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง 885.33, 912.89 และ 882.76 ต่อประชากรแสนคน อัตราป่วยด้วยโรคเบาหวาน 5,345.96, 5,517.09 และ 5,414.27อัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง 13,129.23 , 12,942.40 และ 13,134.22 ตามลําดับ ซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี (ฐานข้อมูล HDC จังหวัดยะลา, วันที่ 9 พฤศจิกายน 2563)
จากแนวโน้มการเกิดโรคไม่ติดต่อเพิ่มมากขึ้น ทางชุมชนจารูนอก เทศบาลนครยะลา เล็งเห็นความสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันการเกิดโรคไม่ติดต่อ ไม่ว่าจะเป็นสาเหตุการเกิด อาการ การรักษา และการปฏิบัติตนเมื่อเกิดอาการของโรคไม่ติดต่อต่างๆ ด้วยการออกกำลังกายแบบยืดเหยียด การปฏิบัติสมาธิด้วย เทคนิคการหายใจ และการควบคุมประสาทสัมผัสทางตาและหู ผสมผสานกัน เรียกว่า SKT 1-7 ซึ่งสามารถช่วยเยียวยาผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ให้มีสุขภาพที่ดีขึ้น เป็นการการฝึกประสาทสัมผัสทั้ง 6 ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น การสัมผัส และการ เคลื่อนไหวด้วย ก็จะทำให้การทำสมาธินั้นมีผลดีต่อการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง ระบบประสาท ส่วนปลาย ระบบประสาทอัตโนมัติ ระบบอารมณ์และพฤติกรรม ระบบภูมิต้านทานของร่างกาย ระบบไหลเวียนเลือด และระบบอื่นๆ ในร่างกายได้เป็นอย่างดี จึงจัดทำโครงการสร้างเสริมสุขภาพด้วยกิจกรรมสมาธิบำบัด SKT ในผู้สูงอายุชุมชนจารูนอก

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. ผู้สูงอายุในชุมชนจารูนอกมีความรู้ถึงสาเหตุ อาการ การปฏิบัติตนเมื่อเกิดอาการ และวิธีการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อ
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการตามเป้าหมายร้อยละ 100
  2. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ภายหลังการอบรม ร้อยละ 80
0.00
2 ข้อที่ 2. ผู้สูงอายุในชุมชนจารูนอกมีความรู้และสามารถปฏิบัติการใช้สมาธิบำบัด SKT
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจไม่น้อยกว่า     ร้อยละ 80
  2. ร้อยละ 80 ประชาชนมีความรู้และสามารถ ปฏิบัติการใช้สมาธิบำบัด SKT
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการ “สูงวัยแข็งแรง ปลอดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ด้วยการใช้สมาธิบำบัด SKT” และคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการ “สูงวัยแข็งแรง ปลอดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ด้วยการใช้สมาธิบำบัด SKT” และคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16310.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 เยี่ยมบ้านเพื่อประเมินติดตามพฤติกรรมสุขภาพหลังการอบรม 1 เดือนครบ 6 เดือน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 เยี่ยมบ้านเพื่อประเมินติดตามพฤติกรรมสุขภาพหลังการอบรม 1 เดือนครบ 6 เดือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,310.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนในชุมชนจารูนอกมีความรู้ถึงสาเหตุ อาการ การปฏิบัติตนเมื่อเกิดอาการ และวิธีการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อ
2. ประชาชนในชุมชนจารูนอกมีความรู้และสามารถปฏิบัติการใช้สมาธิบำบัด SKT


>