กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาโงยซิแน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมและดูแลสุขภาพช่องปาก ปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาโงยซิแน

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านซีเยาะ

นางสุภาวดี ซันตายา
นางปาซียะห์ ปาจอ
นส.มารียะห์ แวดอเล๊าะ
นส.มูนา ดูซง
นางโนเรีย สะอิ

ตำบลบาโงยซิแน อำเภอยะหา จังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 มีปัญหาฟันผุ

 

41.00
2 ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ไม่มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก

 

100.00

เด็กก่อนวัยเรียน หมายถึง เด็กอายุระหว่าง 1-5 ปี เป็นวัยที่ต่อจากเด็กทารกและสิ้นสุดเมื่ออายุ 5 ปี เป็นกลุ่มช่วงอายุที่มีความสำคัญในการดูแลสุขภาพในช่องปากเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นวัยที่เริ่มมีฟันนน้ำนมขึ้น อีกทั้งเด็กกลุ่มนี้เป็นวัยที่อาจมีปัญหาโรคในช่องปาก โดยเฉพาะอยางยิ่ง คือ โรคฟันผุ โดยส่วนใหญ่เกิดจากการแปรงฟันไม่ถูกวิธี การเลือกรับประทานอาหารที่ไม่มีความเหมาะสม หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เด็กฟันผุมาจากการเลี้ยงดูของครอบครัว โดยเฉพาะในปัจจุบันมักฝึกให้ลูกดื่มนมจากขวดนม รวมถึงการปล่อยให้เด็กกินขนมกรุบกรอบและขนมหวานตามใจชอบแล้วไม่ยอมแปรงฟัน ผลกระทบจากโรคในช่องปากจะมีอาการปวดฟัน จนทำให้ไม่สามารถกินอาหารได้ตามปกติ ทำให้น้ำหนักตัวลดลง บางคนอาจถึงขั้นขาดสารอาหาร ซึ่งส่งผลต่อระดับการเจริญเติบโต พัฒนาการของกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า และช่องปาก นอกจากปัญหาด้านสุขภาพแล้ว ก็ยังอาจทำให้เกิดปัญหาด้านจิตใจและอารมณ์ เพราะเด็กฟันผุมากอาจต้องถูกถอนฟัน ทำให้ฟันแท้ที่จะขึ้นตามมาขึ้นได้ช้ากว่าปกติ หรือเกิดปัญหาฟันซ้อนเกได้ เนื่องจากฟันซี่ข้างเคียงฟันน้ำนมที่ถูกถอนล้มเอียงมาแทนที่ หรือยังอาจทำให้เด็กขาดความมั่นใจในตนเอง จากการมีฟันน้ำนมด้านหน้าสีดำคล้ำ เด็กจะไม่กล้าพูด กล้าคุย เพราะสูญเสียความมั่นใจ และเสริมสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อเอื้อต่อการดูแลสุขภาพในช่องปาก ดังนั้น เพื่อเป็นการปลูกฝังให้เด็กรักษาความสะอาดในช่องปากตั้งแต่วัยนี้ ซึ่งปัญหาโรคในช่องปากเป็นปัญหาที่ไม่ควรละเลย จึงควรสอนเด็กเรียนรู้การแปรงฟันอย่างถูกวิธี เพื่อป้องกันไม่ให้ปัญหาเรื่องฟันผุ กลายมาเป็นปัญหาในอนาคต

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 มีปัญหาฟันผุ

ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 มีปัญหาฟันผุ ลดลง

41.00 25.00
2 ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ได้รับการฝึกทักษะการแปรงฟันอย่างถูกวิธี

ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ได้รับการฝึกทักษะการแปรงฟันอย่างถูกวิธี เพิ่มขึ้น

100.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 80
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 29/10/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนการดำเนินกิจกรรม

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนการดำเนินกิจกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนการดำเนินกิจกรรม

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2565 ถึง 1 มิถุนายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดการวางแผนการดำเนินกิจกรรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริมให้ความรู้และฝึกทักษะการแปรงฟันที่ถูกวิธี

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมให้ความรู้และฝึกทักษะการแปรงฟันที่ถูกวิธี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าวิทยากร 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
ค่าโมเดลสอนแปรงฟัน 1 ชุดๆละ 1,350 บาท เป็นเงิน 1,350 บาท
ค่าชุดฝึกทำความสะอาดช่องปากแก่เด็กนักเรียน (แปรงสีฟัน+ยาสีฟัน+แก้วน้ำ) จำนวน 87 ชุด ๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 8700 บาท
ค่าสื่อภาพพลิกสุขภาพช่องปาก ขนาด A4 จำนวน 1 ชุด ๆ ละ 2,000 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท
รวมเป็นเงิน 13850 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2565 ถึง 31 ตุลาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กก่อนวัยรู้จักวิธีการแปรงฟันอย่างถูกวิธี
เกิดความตระหนักเรื่องการดูแลช่องปาก
เด็กก่อนวัยเรียนมีฟันผุลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13850.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามโครงการด้านสุขภาพในช่องปากเด็กนักเรียน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามโครงการด้านสุขภาพในช่องปากเด็กนักเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามโครงการด้านสุขภาพในช่องปากเด็กนักเรียน

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 ตุลาคม 2565 ถึง 20 ตุลาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • นักเรียนมีสุขภาพในช่องปากที่ดีขึ้น
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,850.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

เด็กก่อนวัยเรียนมีฟันผุลดลงและตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลช่องปาก


>