กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาวะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสุขภาพจิต พิชิตสุขภาพใจ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาวะ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกาวะ อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส

องค์การบริหารส่วนตำบลกาวะ อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ด้วยสถานการณ์ในปัจจุบัน ปัญหาทางสังคม เศรษฐกิจและโรคภัยต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ยากเกินกว่าที่จะสามารถปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องในการดำเนินชิวีตได้ทันท้วงที ซึ่งก่อให้เกิดความเครียดตามมา ทั้งด้านความคิดความเข้าใจ ส่งผลกระทบก่อสุขภาพจิตและสุขภาพกาย

 

25.00

จากสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้คนในชุมชนต้องเผชิญกับปัญหาในการปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องกับสังคมในปัจจุบัน ทั้งในด้านความคิด ความเข้าใจ และค่านิยมต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดความเครียด ความขับข้องใจแยกตัวออกจากสังคม ขาดสัมพันธภาพกับสมาชิกในครอบครัวท้อแท้และเบื่อหน่ายในชีวิต ประกอบกับที่ต้องเผชิญกับรูปแบบการดำเนินชีวิตแบบใหม่ ต้องออกจากงาน มีรายได้ลดลง ภาวะสุขภาพเสื่อมลงมีโรคทางกายเพิ่มมากขึ้น สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจคนในชุมชนทั้งสิ้น และหากคนในชุมชนไม่ได้รับการดูแลใจใส่จากบุคคลใกล้ชิดด้วยแล้วจะยิ่งส่งเสริมให้คนในชุมชนมีภาวะซึมเศร้าและความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองลดลงจนเกิดความรู้สึกสิ้นหวังแยกตัวออกจากสังคมเป็นผลให้เกิดความผิดปกติทางจิตใจที่รุนแรงและอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ ดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกาวะ จึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญจึงได้จัดโครงการชาวกาวะสุขภาพจิตดี เพื่อเป็นประโยชน์สุขของประชาชนในการเห็นความสำคัญถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องและถูกวิธี

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดการป่วยทางจิต ด้วยอาการซึมเศร้าและเพื่อสร้างเครือข่ายและการเชื่่อมโยงในการส่งต่อในผู้ป่วยที่มีอาการทางสุขภาพจิต

ประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองภาวะซึมเศร้าร้อยล่ะ 15

25.00 15.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน 100
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2021

กำหนดเสร็จ 30/04/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมประชาชนในพื้นที่ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช รุ่นที่ 1

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมประชาชนในพื้นที่ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช รุ่นที่ 1
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป เกี่ยวกับการสร้างเสริมการดูแลสุขภาพจิต จำนวน 2 รุ่น รุ่นละ 100 คน
โดยงบประมาณ
รุ่นที่ 1
1. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 100 คน จำนวน 100 X 50 บาท X 1 มื้อ เป็นเงิน 5,000 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คน จำนวน 100 X 25 บาท X 2 มื้อ เป็นเงิน 5,000 บาท
3. ค่าจัดซื้อวัสดุ/อุปกรณ์ ในการจัดโครงการ จำนวน 100 ชุด 100 X 30 บาท 3,000 บาท 4. ค่าวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท 6 ชั่วโมง เป็นเงิน 3,600 บาท
เป็นเงินทั้งสิ้น 16,600.- บาท(หนึ่งหมื่นหกพันหกร้อยบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.สร้างแกนนำในการดูแลสุขภาพจิตในพื้นที่
2.ลดการป่วยทางจิตด้วยอาการซึมเศร้า
3.เพื่อสร้างเครือข่ายและการเชื่อมโยงในการส่งต่อผู้ป่วยที่มีอาการทางสุขภาพจิต
4.พูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16600.00

กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมประชาชนในพื้นที่ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช รุ่นที่ 2

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมประชาชนในพื้นที่ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช รุ่นที่ 2
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป เกี่ยวกับการสร้างเสริมการดูแลสุขภาพจิต จำนวน 2 รุ่น รุ่นละ 100 คน
โดยงบประมาณ
รุ่นที่ 2
1. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 100 คน จำนวน 100 X 50 บาท X 1 มื้อ เป็นเงิน 5,000 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คน จำนวน 100 X 25 บาท X 2 มื้อ เป็นเงิน 5,000 บาท
3. ค่าจัดซื้อวัสดุ/อุปกรณ์ในการจัดโครงการ จำนวน 100 ชุด 100 X 30 บาท 3,000 บาท 4. ค่าวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท 6 ชั่วโมง เป็นเงิน 3,600 บาท
เป็นเงินทั้งสิ้น 16,600.- บาท(หนึ่งหมื่นหกพันหกร้อยบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.สร้างแกนนำในการดูแลสุขภาพจิตในพื้นที่
2.ลดการป่วยทางจิตด้วยอาการซึมเศร้า
3.เพื่อสร้างเครือข่ายและการเชื่อมโยงในการส่งต่อผู้ป่วยที่มีอาการทางสุขภาพจิต
4.พูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 33,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.สร้างแกนนำในการดูแลสุขภาพจิตในพื้นที่
2.ลดการป่วยทางจิตด้วยอาการซึมเศร้า
3.เพื่อสร้างเครือข่ายและการเชื่อมโยงในการส่งต่อผู้ป่วยที่มีอาการทางสุขภาพจิต


>