กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สุไหงปาดี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ปี2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สุไหงปาดี

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านใหม่

นางสุดาดวง ชินกาญจน์

ศาลาเอนกประสงค์ ม.3 บ้านใหม่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในปัจจุบันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญของประเทศ สืบเนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจและสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน ทำให้วิถีชีวิตเกิดการแข่งขัน มีความเร่งรีบในชีวิต การทำงาน การบริโภคอาหารโดยไม่คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการ สิ่งอำนวยความสะดวกที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง ขาดการออกกำลังกาย ความเครียด ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นกลุ่มโรคที่มีปัจจัยสาเหตุการนำไปสู่ความพิการและการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ซึ่งโรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่นการบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการ การออกกำลังกายอย่างเหมาะสมจากการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านใหม่ ในปีงบประมาณ 2564 พบว่า ในกลุ่มเป้าหมายประชากร 35 ปีขึ้นไปที่ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน จำนวน 1441 คน ได้รับการคัดกรองร้อยละ 93.68 พบกลุ่มเสี่ยงป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 23 คนคิดเป็นร้อยละ 1.7และกลุ่มเป้าหมายประชากร 35 ปีขึ้นไปที่ได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 946 คน ได้รับการตรวจคัดกรองร้อยละ 91.23พบกลุ่มเสียงป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 89 คน คิดเป็นร้อยละ 10.31 ในปัจจุบัน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านใหม่ มีผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 190 คน ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 697 คน และยังพบผู้ป่วยใหม่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆในทุกๆปี
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านใหม่ จึงตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันและลดความเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรังดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยงลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ปี2564 ขึ้นเพื่อเป็นการกระตุ้น และส่งเสริมให้กลุ่มเสียงป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงมีความรู้ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ตามหลัก 3อ. 2ส.เพื่อลดความเสี่ยงและการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มีความรู้ ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3อ.2ส.

1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มีความรู้ ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3อ.2ส.ร้อยละ 80

80.00 60.00
2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มป่วยได้รับการติดตามดูแลรักษาและส่งต่อตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

1.ประชาชนกลุ่มป่วยได้รับการติดตามดูแลรักษาและส่งต่อตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ร้อยละ 90

100.00 2.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 31/07/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ตรวจคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิต ก่อนและหลัง

ชื่อกิจกรรม
ตรวจคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิต ก่อนและหลัง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตรวจคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตและประเมินภาวะสุขภาพเบื้องต้นก่อน-หลังการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 1.ค่าอุปกรณ์การตรวจคัดกรองสุขภาพ -ค่าเครื่องตรวจวัดความดันโลหิต จำนวน 3 เครื่องๆละ 2,500 บาท เป็นเงิน7,500 บาท -ค่าเครื่องชั่งน้ำหนัก แบบประมวณผลดัชนีมวลกาย จำนวน 1 เครื่อง เป็นเงิน 1,200บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
19 พฤษภาคม 2564 ถึง 20 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชากรกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองเบาหวานและความดันครบทุกคน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8700.00

กิจกรรมที่ 2 อบรบให้ความรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3อ 2ส

ชื่อกิจกรรม
อบรบให้ความรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3อ 2ส
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมให้ความกลุ่มเสี่ยงเรื่องโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3อ.2ส.จำนวน 50 คน
-ค่าวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 2 คน คนละ 2 ชม.จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 2,400.-บาท -ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คน x 50 บาท เป็นเงิน 2,500.บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 2 มื้อ x 25 x 50 คนเป็นเงิน 2,500.บาท
-ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดอบรม (ค่ากระเป๋าผ้า 40 บาท/สมุด 10 บาท/ปากกา 5 บาท)ชุดละ 55 บาท จำนวน 50 ชุด เป็นเงิน 2,750บาท -ค่าไวนิล 120x240 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 720 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
19 พฤษภาคม 2564 ถึง 19 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มีความรู้ ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3อ.2ส.ถูกต้องเหมาะสม
2.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สามารถนำความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3อ.2ส.ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10870.00

กิจกรรมที่ 3 อบรบให้ความรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3อ 2ส

ชื่อกิจกรรม
อบรบให้ความรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3อ 2ส
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมให้ความกลุ่มเสี่ยงเรื่องโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3อ.2ส.จำนวน 50 คน -ค่าวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 2 คน คนละ 2 ชม.จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 2,400.-บาท -ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คน x 50 บาท เป็นเงิน 2,500.บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 2 มื้อ x 25 x 50 คนเป็นเงิน 2,500.บาท
-ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดอบรม (ค่ากระเป๋าผ้า 40 บาท/สมุด 10 บาท/ปากกา 5 บาท)ชุดละ 55 บาท จำนวน 50 ชุด เป็นเงิน 2,750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 พฤษภาคม 2564 ถึง 20 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มีความรู้ ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3อ.2ส.ถูกต้องเหมาะสม
2.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สามารถนำความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3อ.2ส.ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10150.00

กิจกรรมที่ 4 ออกกำลังกายลดเสี่ยงลดโรค ด้วยยางยืด

ชื่อกิจกรรม
ออกกำลังกายลดเสี่ยงลดโรค ด้วยยางยืด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมออกกำลังกายด้วยยางยืด ค่ายางยืดจำนวน 20 ถุง ถุงละ 100 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
19 พฤษภาคม 2564 ถึง 20 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังทุกคนได้รับความรู้และแนวทางการออกกำลังกายด้วยยางยืด ประชาชนกลุ่มเสี่ยงป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้ออกกำลังกายด้วยยางยืดทุกคน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 31,720.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มีความรู้ ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3อ.2ส.
2.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สามารถนำความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3อ.2ส.ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
3.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้รับการติดตามดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง
4.ประชาชนกลุ่มป่วยไ้รับการส่งต่อรักษาอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง ตามแนวทางโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง


>