กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการป้องกันแก้ไขโรคไข้เลือดออก ด้วยการเฝ้าระวังและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองสระ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันแก้ไขโรคไข้เลือดออก ด้วยการเฝ้าระวังและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองสระ

รพ.สต.คลองสระ

หมู่ที่ 1 – หมู่ที่ 10 ตำบลคลองสระ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทย ในแต่ละปีมีผู้ป่วยและเสียชีวิตด้วยโรคไข้เลือดออก จำนวนมากทำให้มีการสูญเสียงบประมาณที่ใช้ในการรักษาอย่างมากมายจากรายงานสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปี พ.ศ. 2563(ข้อมูลจากระบบรายงานการเฝ้าระวังโรค 506 สำนักระบาดวิทยา ณ วันที่ 1 มกราคม ถึง วันที่ 29 กันยายน 2563) มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก (Dengue fever : DF,Dengue haemorrhagic fever : DHF, Dengue shock syndrome : DSS) สะสมรวม 109,401 รายอัตราป่วย 164.55 ต่อแสนประชากร มีผู้ป่วยเสียชีวิต 5 ราย ผู้ป่วยส่วนใหญ่ในปีนี้พบในกลุ่มเด็กเล็ก เด็กวัยเรียน และวัยผู้ใหญ่ตอนต้น
สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ปี 2563 (ข้อมูลจากระบบรายงานการเฝ้าระวังโรค 506 สำนักระบาดวิทยา ณ วันที่ 15 กันยายน 2563) ยอดผู้ป่วยสะสมรวม 319 ราย ซึ่งอัตราป่วย 30.08 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต และพบว่ามีอัตราป่วยสูงสุดในจังหวัดสุราษฎร์ธานีคือ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จำนวน 73 ราย อำเภอเมืองจำนวน 42 ราย และอำเภอบ้านนาสาร จำนวน 31 ราย ตามลำดับ และในตำบลคลองสระ มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ยืนยัน ปี 2561 จำนวน 15 ราย ซึ่งอัตราป่วย 238.47ต่อประชากรแสนคน ซึ่ง 3 ปี ย้อนหลัง ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีบทบาทหน้าที่สำคัญในการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ เป็นแกนนำหลักที่สำคัญในการขับเคลื่อนการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายและการป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน และการให้ความรู้แก่ประชาชนในการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย ตำบลคลองสระ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประกอบด้วย 10 หมู่บ้าน 2,121 ครัวเรือน และจำนวนประชากร 6,416 คนมีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านจำนวน 164 คน คิดเป็น11ต่อหลังคาเรือน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองสระร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลคลองสระจึงจัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ประจำปี ๒๕๖4 ขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายให้ชาวบ้านทุกคนตระหนักและเห็นความสำคัญของการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ ซึ่งจะไม่สามารถดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพหากไม่ได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะความร่วมมือจากอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่ต้องอาศัยความรู้และทักษะของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในพื้นที่

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อป้องกันและเฝ้าระวัง ไม่ให้มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในตำบลคลองสระ

1.อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของตำบลคลองสระไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร

0.00 3.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 163
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 6,416
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกก่อนเดินรณรงค์

ชื่อกิจกรรม
1.กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกก่อนเดินรณรงค์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในกิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลคลองสระจำนวน 1 มื้อๆมื้อละ 25 บาท จำนวน 163 คน ระยะเวลา 1 วัน                         เป็นเงิน 4,075.00      บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 1 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4075.00

กิจกรรมที่ 2 2.กิจกรรมรณรงค์การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย

ชื่อกิจกรรม
2.กิจกรรมรณรงค์การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.เดินรณรงค์กิจกรรมการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย 2. ค่าสื่อป้ายประชาสัมพันธ์ (ไวนิล) 10 ผืน ผืนละ 800 บาท เป็นเงิน8,000.00 บาท 3.ค่าถ่ายเอกสารแบบฟอร์มสำรวจลูกน้ำประจำบ้าน แผ่นละ 50 สตางค์ จำนวน 2,000 แผ่น เป็นเงิน 1,000.00บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 1 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของตำบลคลองสระไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9000.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมตรวจไขว้ลูกน้ำยุงลาย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจไขว้ลูกน้ำยุงลาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในวันออกตรวจไขว้ลูกน้ำยุงลาย จำนวน 7 ครั้งๆละ 1 มื้อๆละ 25 บาท จำนวน 163 คน                                      เป็นเงิน   28,525.00    บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
23 เมษายน 2564 ถึง 24 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ไม่มีประชาชนในตำบลคลองสระป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
28525.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 41,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ไม่มีประชาชนในตำบลคลองสระป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก


>