กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เทพา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการลดเสี่ยงโรคเรื้อรัง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เทพา

กองสาธารณสุข อบต.เทพา

ประชาชนเขต อบต.เทพา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละ อสม.มีความรู้ในการใช้อุปกรณ์การตรวจคัดกรองสุขภาพ

 

70.00
2 ร้อยละประชาชน อายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง

 

40.00
3 ร้อยละประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีองค์ความรู้ในการป้องกันโรคและมีความรู้ในการดูแลตนเองเมื่อป่วยและลด ภาวะแทรกซ้อน

 

60.00

ปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์และสาธารณสุขที่มีความทันสมัย อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงอัน เกิดจากนโยบายการพัฒนาประเทศของรัฐบาลในแต่ละยุคแต่ละสมัย ตลอดจนการเข้าถึงบริการของรัฐยาม เจ็บป่วยของประชาชนที่เสมอภาคและเท่าเทียมกันในโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า ทำให้สถานภาพด้าน สุขภาพและแบบแผนพฤติกรรมการเจ็บป่วยของประชาชนเปลี่ยนไป ดังจะเห็นได้จากการเจ็บป่วยด้วย โรคติดต่อที่เกิดจากตัวเชื้อโรค สิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมและสุขวิทยาส่วนบุคคลมีแนวโน้มลดลง แต่การ เจ็บป่วยด้วยโรคที่ไม่ติดต่ออันเกี่ยวเนื่องมาจากพฤติกรรมและวิถีชีวิตกลับมีแนวโน้มสูงขึ้น เช่น การเกิด โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง โรคเบาหวานและอุบัติเหตุ ที่มีอัตราการเกิดโรคเพิ่มสูงขึ้นและเป็นสาเหตุ การตายในอันดับต้นๆ ของประเทศ
โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุข เป็นกลุ่มโรคที่มีปัจจัยสาเหตุการนำสู่โรคจาก ปัจจัยเสี่ยงร่วม และเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ซึ่งโรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การ รับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ และมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม จากข้อมูลHDC ในปี ๒๕๖๒-๒๕๖๔ ตำบลเทพามีผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่จำนวน ๓๖, ๖๔ และ ๕๔ ราย ตามลำดับ มีกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานจำนวน ๗๓๘, ๑,๑๙๐ และ ๑๗๖ ตามลำดับมีกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงจำนวน ๑,๐๕๙, ๕๖๗ และ ๖๒๖ ตามลำดับ
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลเทพาจึงได้จัดทำโครงการลดเสี่ยงโรคเรื้อรัง ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้อสม.มีความรู้ในการใช้อุปกรณ์การตรวจคัดกรองสุขภาพและเพื่อให้ประชาชน อายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงรวมทั้งเพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีองค์ความรู้ในการป้องกันโรคและมีความรู้ในการดูแลตนเองเมื่อป่วยและลด ภาวะแทรกซ้อน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้อสม.มีความรู้ในการใช้อุปกรณ์การตรวจคัดกรองสุขภาพ

ร้อยละ 90 อสม.สามารถใช้อุปกรณ์การตรวจคัดกรองสุขภาพ

65.00 90.00
2 2.เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละ 90 ประชาชนเขตตำบลเทพาได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง

50.00 90.00
3 3. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีองค์ความรู้ในการป้องกันโรคและมีความรู้ในการดูแลตนเองเมื่อป่วยและลดภาวะแทรกซ้อน

ร้อยละ 85ประชาชนเขตอบต.เทพามีองค์ความรู้ในการป้องกันโรคและมีความรู้ในการดูแลตนเองเมื่อป่วยและลดภาวะแทรกซ้อน

65.00 85.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,000
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 31/05/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมการอบรมการใช้อุปกรณ์การตรวจคัดกรองสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการอบรมการใช้อุปกรณ์การตรวจคัดกรองสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑.๑ ติดต่อประสานเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ๑.๒ ประสานอสม. ๑.๓ ดำเนินการอบรมการใช้อุปกรณ์การตรวจคัดกรองสุขภาพ -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน ๑ มื้อๆละ ๒๕ บาท ๑๕๐ คน เป็นเงิน ๓,๗๕๐ บาท -ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน ๓ ช.ม.ๆละ ๕๐๐ บาทเป็นเงิน ๑,๕๐๐ บาท -ค่าวัสดุเป็นเงิน ๑,๖๕๐ บาท -ค่าไวนิลเป็นเงิน ๔๕๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 31 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7350.00

กิจกรรมที่ 2 ๒.กิจกรรมการตรวจคัดกรอง ประเมินภาวะสุขภาพ และการค้นหาผู้มีภาวะเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
๒.กิจกรรมการตรวจคัดกรอง ประเมินภาวะสุขภาพ และการค้นหาผู้มีภาวะเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๒.๑เตรียมความพร้อมของวัสดุ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์ สำหรับการตรวจคัดกรอง ๒.๒ กำหนดแผนการตรวจคัดกรอง ประเมินภาวะสุขภาพ การค้นหาผู้มีภาวะเสี่ยง ๒.๓ ดำเนินการการตรวจคัดกรอง ประเมินภาวะสุขภาพ การค้นหาผู้มีภาวะเสี่ยง ๒.๔ ส่งต่อผู้มีภาวะเสี่ยงเข้าสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม -ค่าอุปกรณ์วัดระดับน้ำตาลในเลือดจำนวน ๔๐ เครื่องๆละ ๒,๒๐๐ บาทเป็นเงิน ๘๘,๐๐๐ บาท -ค่าเครื่องวัดความดันโลหิตจำนวน ๔๐ เครื่องๆละ ๒,๕๐๐ บาทเป็นเงิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท -ค่าเครื่องชั่งน้ำหนัก จำนวน ๔๐ เครื่องๆละ ๖๕๐ บาทเป็นเงิน ๒๖,๐๐๐ บาท -ค่าไวนิลเป็นเงิน ๔๕๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 31 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
214450.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมติดตามเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิดสูง รายกลุ่ม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมติดตามเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิดสูง รายกลุ่ม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๓.๑ กำหนดแผนการติดตามเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง รายกลุ่ม ๓.๒ ประสานหน่วยงานสาธารณสุขโรงพยาบาลสาธารณสุขอำเภอ และหน่วยบริการปฐมภูมิ ๓.๓ ดำเนินการติดตามเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง รายกลุ่ม พร้อมทั้งให้ความรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จำนวน ๓ ครั้ง ในเดือนมีนาคมพฤษภาคมกรกฎาคม -ค่าแผ่นตรวจเบาหวาน(test strip) จำนวน ๑๐ กล่องๆละ ๑,๔๐๐ บาท เป็นเงิน ๑๔,๐๐๐ บาท -ค่าเข็มเจาะปลายนิ้ว จำนวน ๕ กล่องๆละ ๗๕๐ บาท เป็นเงิน ๓,๗๕๐ บาท -ค่าสำลีแอลกอฮอลจำนวน ๒ กล่องๆละ ๘๐๐ บาท เป็นเงิน ๑,๖๐๐ บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน ๑ มื้อๆละ ๒๕ บาท จำนวน ๑,๐๐๐ คน เป็นเงิน ๒๕,๐๐๐ บาท -ค่าไวนิลเป็นเงิน ๔๕๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 31 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
44800.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมสร้างแรงจูงใจ และการให้คำปรึกษารายบุคคล

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสร้างแรงจูงใจ และการให้คำปรึกษารายบุคคล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

4.๑ กำหนดแผนการสร้างแรงจูงใจ และการให้คำปรึกษารายบุคคล       4.๒ ประสานหน่วยงานสาธารณสุข  โรงพยาบาล  สาธารณสุขอำเภอ และหน่วยบริการปฐมภูมิ       4.๓ ดำเนินการสร้างแรงจูงใจ และการให้คำปรึกษารายบุคคล ค่าใช้จ่าย 0 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 266,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑.อสม.มีความรู้ในการใช้อุปกรณ์การตรวจคัดกรองสุขภาพ
๒.ประชาชน อายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
๓.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีองค์ความรู้ในการป้องกันโรคและมีความรู้ในการดูแลตนเองเมื่อป่วยและลด ภาวะแทรกซ้อน


>