กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สุไหงปาดี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรู้...สักนิดชีวิตจะปลอดภัย จากcovid-๑๙

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สุไหงปาดี

รพ.สต.บ้านใหม่

นางสาวขวัญฤทัยเอนกรัตน์

รพ.สต.บ้านใหม่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ประชาชนกลุ่มเสี่ยงขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องโรค Covid-๑๙

 

45.00
2 ประชาชนกลุ่มเสี่ยงไม่มีความตระหนักในการดูแลตนเองให้ห่างไกลจากโรค Covid-๑๙

 

30.00

จากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา๒๐๑๙ (covid-๑๙) ซึ่งมีประกาศจากกระทรวงสาธารณสุขให้เป็นโรคร้ายแรงจากการระบาดที่กำลังแพร่กระจายและยังไม่สามารถควบคุมได้ซึ่งสาเหตุการเสียชีวิตส่วนใหญ่ คือตัวไวรัส COVID-๑๙ จะทำให้เกิดการไข้สูง จาม ไอ การอักเสบของปอดและเยื้อหุ้มปอดอย่างรุนแรง ด้วยการดำเนินมาตรการการรักษาร่างกายให้แข็งแรง ออกกำลังกายเพื่อมิให้ป่วย การป้องกันตนเอง เช่น หลีกเลี่ยงการเดินทางไปในประเทศหรือสถานที่มีคนพลุกล่าน การล้างมือให้สะอาดอย่างถูกต้อง ทั้งด้วยแอลกอฮอล์เจล สบู่ การสวมหน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธีการ การไม่นำเอามือมาป้ายหรือ จับหน้า ความรู้และเข้าใจการดำเนินไปของโรค และการรับวัคซีนป้องกันโรคcovid ๑๙ จึงเป็นสิ่งสำคัญ
ปัจจุบัน จังหวัดนราธิวาสซึ่งเป็นพื้นที่เสี่ยงจากการติดต่อเขตชายแดนประเทศมาเลเซีย ซึ่งประชาชนบางส่วนยังมีการลักลอบเข้ามาทางธรรมชาติไม่ผ่านกระบวนการเข้าศูนย์กักตัว Local Quarantine และยังมีการเดินทางกลับมาจากพื้นที่เสี่ยงสีแดง ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงที่อาจเกิดการติดเชื้อและแพร่กระจายเชื้อได้ ในสถานการณ์การระบาดของจังหวัดนราธิวาสมีผู้ป่วยสะสม ๕๕ ราย และเสียชีวิต ๒ ราย และในอำเภอสุไหงปาดีพบผู้ป่วย จำนวน ๑ ราย และจากการสำรวจกลุ่มเป้าหมายกลุ่มเสี่ยงสูง ๗ กลุ่มโรคยังมีความรู้เรื่องโรคเท่าที่ควรและยังปฏิเสธการรับวัคซีน Covid –๑๙ ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านใหม่ จึงได้จัดทำโครงการเพื่อที่จะให้ความรู้เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา๒๐๑๙ (covid-๑๙) เพื่อเป็นการป้องกันตนเองของกลุ่มเสี่ยงสูงและบุคคลในครอบครัวในชุมชน ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านใหม่ และเป็นการประชาสัมพันธ์ชี้แจงถึงวัคซีนcovid-๑๙ให้กับกลุ่มเป้าหมายกลุ่มเสี่ยงสูง๗ กลุ่มโรคภายใต้ชื่อโครงการ “รู้...สักนิดชีวิตจะปลอดภัย จากcovid-๑๙” ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๔

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องโรคcovid-๑๙

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคcovid-๑๙ร้อยละ ๘๐

45.00 30.00
2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความตระหนักในการป้องกันตนเองจากโรค Covid-๑๙

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความตระหนักในการดูแลป้องกันตนเองจากโรคCovid-๑๙ ร้อยละ ๕๐

40.00 30.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 30
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 30
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 31/05/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคcovid-19

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคcovid-19
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑.ให้ความรู้แก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยง๗กลุ่มโรคเกี่ยวกับโรคไวรัสโคโรนา๒๐๑๙ (covid-๑๙)เช่น อาการแสดงของโรคการป้องกันการรักษาเป็นต้น ๒.ให้ความรู้เกี่ยวกับวัคซีน covid-๑๙ เช่นผลข้างเคียงการป้องกันเมื่อได้รับวัคซีนการปฏิบัติตัว เหตุผลของการฉีดวัคซีน เป็นต้น
๒.ออกบัตรเชิญให้แก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในการประสงค์การรับวัคซีน covid-๑๙ งบประมาณ ๑.ค่าอาหารว่างในโครงการฯจำนวน ๖๐ คน จำนวน ๖๐ คนX ๒๕ บาท x ๒ มื้อ เป็นเงิน ๓,๐๐๐ บาท ๒.ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน ๑ คน ๓ ชั่วโมง ๖๐๐ บาท เป็นเงิน ๑,๘๐๐บาท ๓.ค่าป้ายไวนิลโครงการ ๗๒๐ บาท ๔.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน ๖๐ คน จำนวน ๖๐ คนX ๕๐ บาท x ๑ มื้อเป้นเงิน๓,๐๐๐ บาท ๕.วัสดุอุปกรณ์ในการจัดประชุม ปากกา ๕x๖๐ เป็นเงิน ๖๐๐ บาท สมุด ๑๐x๖๐ เป็นเงิน ๖๐๐ บาท กระเป๋าผ้า ๓๐x๖๐ เป็นเงิน ๑,๘๐๐บาทรวม ๒,๗๐๐บาท รวมเป็นเงิน ๑๑,๒๒๐บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2564 ถึง 31 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไวรัสโครานา ๒๐๑๙ (covid-๑๙) และสามารถดูแลป้องกันตัวเอง  ปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง  พร้อมทั้งมีการยอมรับการรับวัคซีนCovid ๑๙ มากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11220.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 11,220.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ๗กลุ่มโรคมีความรู้ถึงโรคไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ สามารถปฏิบัติตัวป้องกันตนเองได้อย่างถูกต้องและมีความประสงค์ต้องการรับวัคซีนมากขึ้น


>