กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สนามชัย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลสนามชัย ประจำปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สนามชัย

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลสนามชัย

องค์การบริหารส่วนตำบลสนามชัย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลสนามชัยได้จัดตั้งขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2553 เพื่อให้ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสนามชัย ได้รับบริการส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพอย่างทั่วถึง และเพื่อสร้างหลักประกันให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ นับเป็นนวัตกรรมที่สำคัญในระบบสุขภาพของประเทศไทยในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมดูแลสุขภาพของประชาชน จากหลายภาคส่วนในสังคม โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกลไกสำคัญในการบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพ และประสานหน่วยงานองค์กร และภาคีเครือข่ายในพื้นที่เข้ามาค้นหาปัญหาและความต้องการของประชาชนร่วมวางแผนและส่งเสริมให้เกิดการร่วมดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพที่เกี่ยวกับการสร้างสุขภาพ การป้องกันโรค และการฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เพื่อให้การปฏิบัติงานด้านส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันควบคุมโรคเรื้อรังในชุมชนได้ถูกต้องมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับภารกิจที่ระบุในข้อตกลงการดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ กับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ อันจะส่งผลให้เกิดมีส่วนร่วมในการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคเรื้องรัง และการฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต ตลอดจนทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงหลักประกันสุขภาพครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายและทุกพื้นที่ต่อไป และเพื่อให้ประชาชนทุกคนในพื้นที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งด้านร่างกายและจิตใจอย่างยั่งยืน กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลสนามชัย จึงได้จัดทำโครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลสนามชัย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่ออนุมัติแผนงานหรือโครงการ หรือกิจกรรมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
  1. มีการประชุมกรรมการ เพื่อพิจารณาและติดตามงานอย่างน้อย 4 ครั้ง/ปี
  2. โครงการที่เสนอได้รับการพิจารณาอย่างน้อย  80%
0.00
2 2. เพื่อจัดซื้อวัสดุและอุปกรณ์สนับสนุนการทำงานกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลสนามชัย
  1. วัสดุและอุปกรณ์สำหรับการบริหารจัดการกองทุนฯ ถูกซื้อตามแผนงานที่วางไว้
0.00
3 3. เพื่อพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่และบุคลากรสำหรับดำเนินงานและช่วยงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ให้เกิดประสิทธิภาพ
  1. เจ้าหน้าที่และบุคลากรสำหรับดำเนินงานและช่วยงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ให้เกิดประสิทธิภาพ ได้รับการพัฒนาศักยภาพ ร้อยละ 80
0.00
4 4. เพื่อเตรียมแผนยุทธศาสตร์ / แผนสุขภาพตำบล / แผนงาน / โครงการ สำหรับปีงบประมาณ 2564
  1. มีแผนยุทธศาสตร์ / แผนสุขภาพตำบล / แผนงาน / โครงการ สำหรับปีงบประมาณ 2564
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ

ชื่อกิจกรรม
1. ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

คนละ 400 บาท จำนวน 20 คน ประชุม 4 ครั้งต่อปี

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2020 ถึง 30 กันยายน 2021
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
32000.00

กิจกรรมที่ 2 2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ

ชื่อกิจกรรม
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

มื้อละ 25 บาท  จำนวน 20 คน ประชุม 4 ครั้งต่อปี

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2020 ถึง 30 กันยายน 2021
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2000.00

กิจกรรมที่ 3 3. ประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนฯ

ชื่อกิจกรรม
3. ประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อนุกรรมการฯ คนละ 300 จำนวน 10 คน  ประชุม 3 ครั้งต่อปี

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2020 ถึง 30 กันยายน 2021
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9600.00

กิจกรรมที่ 4 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับคณะอนุกรรมการกองทุนฯ

ชื่อกิจกรรม
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับคณะอนุกรรมการกองทุนฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

มื้อละ 25 บาท  จำนวน 10 คน ประชุม 3 ครั้งต่อปี

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2020 ถึง 30 กันยายน 2021
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
650.00

กิจกรรมที่ 5 5. วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ

ชื่อกิจกรรม
5. วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กระดาษ  300  บาท ปากกา  200  บาท สมุด  500  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2020 ถึง 30 กันยายน 2021
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

กิจกรรมที่ 6 6. พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ/อนุกรรมการ/เจ้าหน้าที่หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง

ชื่อกิจกรรม
6. พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ/อนุกรรมการ/เจ้าหน้าที่หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ไปประชุม สัมมนา อบรม งานสร้างสุขภาพภาคใต้  เป็นต้น

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2020 ถึง 30 กันยายน 2021
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2000.00

กิจกรรมที่ 7 จัดทำแผนสุขภาพตำบล ปี 2565

ชื่อกิจกรรม
จัดทำแผนสุขภาพตำบล ปี 2565
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การจัดทำแผนสุขภาพตำบล ปี 2565

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2020 ถึง 30 กันยายน 2021
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 49,250.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. แผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรมที่ผ่านการอนุมัติเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
2. การรับเงินและจ่ายเงินการเก็บรักษาเงินและการจัดทำบัญชีเงินหรือทรัพย์สินของกองทุนหลักประกันสุขภาพ เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด


>