กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางเขา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ 1 ตำบล 1 หมู่บ้าน NCD ปี 2564 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางเขา อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางเขา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางเขา

-

ตำบลบางเขา อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

กลุ่มโรค NCDs (Noncommunicable diseases หรือโรคไม่ติดต่อ) ยังคงเป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของโลก ทั้งในมิติของจำนวนการเสียชีวิตและภาระโรคโดยรวม โดยประเทศไทย มีอัตราการเสียชีวิตจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อต่ำสุดเมื่อเทียบในกลุ่มประเทศภูมิภาคเอเชียใต้-ตะวันออก (SEARO) จากข้อมูลปี พ.ศ.2559 โรคไม่ติดต่อยังคงเป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของประชาชนไทยทั้งในแง่ภาระโรคและอัตราการเสียชีวิตอัตราการเสียชีวิต ก่อนวัยอันควร (30-69 ปี) จากโรคไม่ติดต่อที่สำคัญ ประกอบด้วย โรคหลอดเลือดสมอง, โรคหัวใจขาดเลือด, โรคเบาหวาน, ภาวะความดันโลหิตสูง และโรคทางเดินหายใจอุดกั้นเรื้อรังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปีพ.ศ. 2557 ถึงปีพ.ศ. 2559 หลังจากนั้น มีแนวโน้มลดลงเล็กน้อยและคงที่ในปี พ.ศ. 2561 โดยโรคหลอดเลือดสมองมีอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรสูงที่สุดเท่ากับ 44.3 รายต่อประชากรแสนคน และอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรด้วยโรคหลอดเลือดสมองในผู้ชายสูงกว่าเพศหญิงจากการดำเนินงานโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางเขา ตั้งแต่ปี พ.ศ.2562 ถึงปีพ.ศ. 2563 โดยการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ในปีพ.ศ.2562 คัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน พบกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 469 คน กลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 185 คนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานจำนวน 379 คน กลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวานจำนวน 53 คน และปี พ.ศ.2563 พบกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 115 คน กลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 124 คน กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานจำนวน 392 คน กลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวานจำนวน 27 คน สาเหตุเนื่องจากกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานไม่ออกกำลังกายจำนวนร้อยละ70 พฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสมจำนวนร้อยละ60 มีภาวะเครียดจำนวนร้อยละ10และกลุ่มเสี่ยงดังกล่าวยังมีพฤติกรรมการสูบบุหรี่จำนวนร้อยละ 20 ทำให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางเขาเห็นความสำคัญในการแก้ไขปัญหาเพื่อลดและป้องกันกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน และส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือของชุมชนจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยด้วยโรคเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูงได้รับความรู้และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

 

0.00
2 เพื่อให้กลุ่มป่วยได้รับการส่งต่อพบแพทย์

 

0.00
3 เพื่อส่งเสริมการเกิดหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต้นแบบ NCD

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงรายละเอียดการดำเนินโครงการแก่เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจงรายละเอียดการดำเนินโครงการแก่เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 80 คน อัตรามื้อละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน  4,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4000.00

กิจกรรมที่ 2 ดำเนินกิจกรรมการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง 3 อ. 2 ส.

ชื่อกิจกรรม
ดำเนินกิจกรรมการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง 3 อ. 2 ส.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 70 คน อัตรามื้อละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน  3,500 บาท
  2. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 70 คน อัตรามื้อละ 50 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน  3,500 บาท
  3. ค่าวิทยากร 3 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 300 บาท เป็นเงิน    900 บาท
  4. ค่าวัสดุสำนักงาน เป็นเงิน   3,100 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11000.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพโดยอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพโดยอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าติดตามกลุ่มเสี่ยง จำนวน 70 คน อัตราครั้งละ 50 บาท  จำนวน 3 ครั้ง เป็นเงิน  10,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. มีความรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทำให้สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้เหมาะสม ส่งผลให้ไม่ป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
2. ชุมชนรับรู้ปัญหาร่วมดำเนินการแก้ไขปัญหา ส่งผลให้เกิดหมู่บ้าน NCD ต้นแบบ


>