กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปันแต

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมพัฒนาศักยภาพเครือข่ายเฝ้าระวังความปลอดภัยจากการใช้กัญชาทางการแพทย์

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปันแต

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ประชาชนกลุ่มเสี่ยงจากการใช้กัญชาใต้ดิน

 

10.00

กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความสำคัญและมีนโยบายขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์จากกัญชาทางการแพทย์ โดยเป็นนโยบายเร่งรัดดำเนินการเป็นอันดับแรกๆ และเพิ่มเป็นอีกสาขาที่ 20 ในแผนพัฒนาระบบบริการ (Service Plan) เนื่องจากกัญชาถูกกำหนดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 มีข้อจำกัดในการนำมาใช้ ต้องศึกษาวิจัย จัดระบบการบริหารจัดการ รวมทั้งแก้ไขข้อกฎหมาย เพื่อให้นำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง ไม่มีผลเสียต่อสุขภาพผู้ใช้ในปัจจุบันมีการเปิดให้บริการคลินิกกัญชาทางการแพทย์ และได้ปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ(ฉ.ที่7)ปี2562 จัดกัญชาเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 7 แต่อนุญาตให้ใช้กัญชาทางการแพทย์เพื่อการดูแลรักษาผู้ป่วยและการศึกษาวิจัยได้ ซึ่งโรงพยาบาลหลายแห่งสังกัดกระทรวงสาธารณสุขได้เปิดให้บริการคลินิกกัญชาทางการแพทย์แผนปัจจุบันและแผนไทยจังหวัดพัทลุงได้ดำเนินการตามนโยบาย แต่พบว่าประชาชนบางส่วนมีโรคประจำตัวไม่เข้าข่าย ในการขอรับบริการคลินิกกัญชาของโรงพยาบาลของรัฐ สะท้อนให้เห็นว่ามีผู้ป่วยส่วนหนึ่งที่ไม่สามารถเข้าถึงกัญชาทางการแพทย์ ได้ส่งผลให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้อาจใช้กัญชานอกระบบ หรือที่เรียกว่า กัญชาใต้ดิน ซึ่งไม่สามารถทราบได้ว่าผู้ป่วยกลุ่มนี้มีความปลอดภัยหรือมีความเสี่ยงจากการใช้กัญชาใต้ดินมากน้อยเพียงใด โดยหากทราบข้อมูลดังกล่าว หน่วยงานสาธารณสุขสามารถเข้าไปดูแลความปลอดภัยได้ตรงจุดและสอดคล้องกับบริบทในชุมชน
ดังนั้นเพื่อสนับสนุนโยบายของรัฐบาลและตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการและเมื่อปีงบประมาณ 2563 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแตได้รับการคัดเลือกเป็นพื้นที่ต้นแบบในการเฝ้าระวังการใช้กัญชาทางการแพทย์ และเพื่อพัฒนาเครือข่ายให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพปันแตจึงจัดทำโครงการอบรมพัฒนาศักยภาพเครือข่ายเฝ้าระวังความปลอดภัยจากการใช้กัญชาทางการแพทย์ เพื่อเฝ้าระวังความปลอดภัยจากการใช้กัญชาทางการแพทย์และให้ประชาชนเข้าถึงการรักษาอย่างปลอดภัย พร้อมทั้งได้รับคำแนะนำอย่างถูกต้องต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพเครือข่ายเฝ้าระวังความปลอดภัยการใช้กัญชาทางการแพทย์ในชุมชน

เครือข่ายเฝ้าระวังความปลอดภัยการใช้กัญชาทางการแพทย์สามารถรายงานและให้คำแนะนำได้อย่างถูกต้องเมื่อพบการกัญชาใต้ดิน

0.00
2 1เพิ่มร้อยละของผู้ป่วยนอกได้รับบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก .2 เพื่อให้อาการปวดเข่าลดลง อย่างน้อย 1 ระดับ

ผู้เข้าอบรมผ่านการทำแบบทดสอบหลังอบรมผ่านร้อยละ 80

1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 116
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรม อบรมการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายเฝ้าระวังความปลอดภัยการใช้กัญชาทางการแพทย์ จำนวน 116 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม อบรมการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายเฝ้าระวังความปลอดภัยการใช้กัญชาทางการแพทย์ จำนวน 116 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดทำแผนโครงการ         2 ชี้แจงโครงการให้ผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบ         3. ดำเนินงานตามโครงการ         4. สรุปผลการดำเนินงาน กิจกรรม อบรมการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายเฝ้าระวังความปลอดภัยการใช้กัญชาทางการแพทย์ จำนวน 116 คน
-.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรมและผู้จัดอบรมจำนวน 120 คน x 25 บาท  x 1  มื้อ เป็นเงิน 3,000 บาท -ค่าถ่ายเอกสารสำหรับผู้เข้าร่วมการอบรม แบบทดสอบ ก่อน – หลังการอบรม จำนวน 116 คน x 4แผ่น x 0.5 บาท เป็นเงิน 232 บาท -ค่าถ่ายเอกสารสำหรับผู้เข้าร่วมการอบรม เอกสารให้ความรู้ กัญชาทางการแพทย์ จำนวน 116 คน 12 แผ่น x 0.5 บาท เป็นเงิน 696 บาท รวมเป็นเงิน จำนวน 3,928บาท (สามพันเก้าร้อยยี่สิบแปดบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เครือข่ายเฝ้าระวังความปลอดภัยการใช้กัญชาทางการแพทย์สามารถรายงานและให้คำแนะนำได้อย่างถูกต้องเมื่อพบการกัญชาใต้ดิน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3928.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 3,928.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เครือข่ายเฝ้าระวังความปลอดภัยการใช้กัญชาทางการแพทย์สามารถรายงานและให้คำแนะนำได้อย่างถูกต้องเมื่อพบการกัญชาใต้ดิน


>