กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ริโก๋

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปลูกผักและสมุนไพรเพื่อสุขภาพในสถานศึกษา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ริโก๋

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลริโก๋

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลริโก๋ อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เด็กและเยาวชนเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าและความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในอนาคตแต่ในปัจจุบันเด็กในวัยก่อนเรียนและในวัยเรียนอยู่ในภาวะความเสี่ยงทางด้านสุขภาพอย่างน่าเป็นห่วงทั้งนี้เนื่องจากเด็กต้องบริโภคอาหาร พืช ผัก และผลไม้ที่ไม่ปลอดภัย ทำให้มีการสะสมสารพิษภายในร่างกายเป็นระยะเวลานานอาจก่อให้เกิดภาวะความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยและการเกิดโรคชนิดต่างๆได้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการและการเจ็บป่วยโดยไม่จำเป็นและปัญหาอื่นๆในบริบทของสังคมไทยที่ส่งผลกระทบต่อเด็กทั้งโดยทางตรงและทางอ้อมซึ่งเป็นการบั่นทอนทรัพยากรมนุษย์ระยะยาวแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาภาวะความเสี่ยงด้านสุขภาพต้องให้กระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย ที่กระตุ้นให้เด็กเยาวชนและประชาชนเห็นคุณค่าและความสำคัญของการดูแลรักษาสุขภาพสามารถปฎิบัติได้จริงในชีวิตประจำวันนอกจากการสร้างมาตรการป้องกันและการบังคับใช้กฎหมายการส่งเสริมกิจกรรมทางสุขภาพที่มีความหลากหลายวิธีควบคู่กันไปจะช่วยสร้างโอกาสให้สุขภาพเด็กไทยได้รับการคุ้มครองอย่างปลอดภัยศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลริโก๋เห็นความสำคัญของการปลูกผักปลอดสารพิษรับประทานเอเด็กงซึ่งมีความปลอดภัยจากสารเคมีจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพด้วยการปลูกผักปลอดสารพิษขึ้นเพื่อส่งเสริมและให้ความรู้ในการบริโภคผักปลอดสารพิษ เพื่อพิชิตโรคและเป็นการให้ชุมชนหันกลับมาดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงในการป้องกันโรค

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กนักเรียนและผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปลูกผักสมุนไพรเพื่อสุขภาพ

เด็กนักเรียนมีภาวะโภชนาการปกติ ร้อยละ 90

0.00
2 เพื่อให้เด็กนักเรียนและผู้ปกครองตระหนักถึงความสำคัญของการใช้ชีวิตที่พอเพียงตามแนวทางพระราชดำริ

 

0.00
3 เพื่อให้สถานศึกษาเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับชุมชน เป็นต้นแบบในการนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 116
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ เรื่อง ผักสมุนไพรเพื่อสุขภาพ ให้กับผู้ปกครอง

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ เรื่อง ผักสมุนไพรเพื่อสุขภาพ ให้กับผู้ปกครอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 จัดกิจกรรมปลูกผักและสมุนไพรเพื่อสุขภาพในสถานศึกษา

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมปลูกผักและสมุนไพรเพื่อสุขภาพในสถานศึกษา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน สำหรับกลุ่มเป้าหมายและผู้ดำเนินงาน จำนวน 150 คนๆ ละ 75 บาท เป็นเงิน 11,250 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับกลุ่มเป้าหมายและผู้ดำเนินงานจำนวน 150 คนๆ ละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 7,500 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
  • ค่าป้ายโครงการ เป็นเงิน 3,000 บาท
  • ค่าจัดทำสื่อ/บอร์ดกิจกรรม เป็นเงิน 5,000 บาท
  • ค่าวัสดุประกอบโครงการ (เมล็ดพันธุ์/กล้าพันธุ์, ดิน, แกลบ, ป้ายชื่อต้นไม้ ฯลฯ) เป็นเงิน 15,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
45350.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 45,350.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กนักเรียนและผู้ปกครองทุกคนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการปลูกผักและสมุนไพรเพื่อสุขภาพมากขึ้น
2. เด็กนักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนรู้จักรับประทานอาหารที่ปลอดจากสารพิษทำให้มีภาวะสุขภาพที่ดี
3. เด็กนักเรียนผู้ปกครองตระหนักถึงความสำคัญของการใช้ชีวิตอย่างพอเพียงตามแนวทางพระราชดำริ
4. สามารถส่งเสริมอาชีพเพิ่มรายได้และลดรายจ่ายในครัวเรือน
5. สถานศึกษาสามารถเป็นต้นแบบในการเรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้กับเด็กเล็กผู้ปกครอง ตลอดจนชุมชน


>