กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สุคิริน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

เยาวชนบ้านจุฬาภรณ์ลีนานนท์มีภูมิต้าน ห่างไกลยาเสพติดปี ๒๕๖๔

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สุคิริน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจุฬาภรณ์พัฒนา ๑๒

โครงการหมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา ๑๒ จังหวัดนราธิวาส( กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช )

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสิ่งเสพติด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละ 70 กลุ่มเป้าหมายไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับยาเสพติด (คน)

 

30.00
2 ร้อยละ 70 กลุ่มเป้าหมายไม่ได้รับรู้สถารการณ์ยาเสพติดภายในชุมชนของตนเองและสังคมภายนอกและสามารถปฏิบัติตนให้ห่างไกลยาเสพติดได้ (คน)

 

30.00

ด้วยปัจจุบันสถาณการณ์การเผยแพร่ระบาดของยาเสพติด ยังคงระดับความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลจึงกำหนดให้การป้องกันและแก้ไขยาเสพติด เป็นแนวนโยบายที่สำคัญและเร่งด่วนในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยยึดหลัก "ผู้เสพ คือ ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการบำบัดรักษา ผู้ค้า คือผู้ที่ต้องได้รับโทษตามกระบวนการยุติธรรม" ซึ่งกำหนดให้เร่งรัดปราบปรามการค้ายาเสพติด และป้องกันไม่ให้กลุ่มเสี่ยงเข้าไปเป็นเหยื่อของยาเสพติด โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม ให้ร่วมดำเนินการในลักษณะบูรณาการ ควบคู่กับมาตรการทางกฎหมาย ซึ่งจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของยาเสพติดในประเทศไทย พบว่ามีเด็กและเยาวชน จำนวนไม่น้อยที่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ทั้งเกิดจากความตั้งใจ และเกิดจากการหลงผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ อีกทั้งยังมีปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่จะทำให้เด็กและเยาวชน มีโอกาสเข้าไปติดยาเสพติดเพิ่มมากขึ้นอีก เช่น เด็กและเยาวชน เป็นวัยที่ต้องการเรียนรู้ อยากลอง ต้องการเรียกร้องความสนใจ การสร้างการยอมรับ กล้าทำในสิ่งที่ท้าทาย การชักจูง และการหลอกลวง เป็นต้น ดังนั้น เด็กและเยาวชนจำเป็นต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างเพียงพอ ต้องได้รับการถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและการรู้โทษที่ร้ายแรงของสิ่งเสพติดอย่างเหมาะสม การรู้จักการหลีกเลี่ยงสิ่งเสพติด และสิ่งสำคัญคือการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กและเยาวชน โดยผนึกกำลังทุกภาคส่วน ให้ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ และร่วมแรงร่วมใจเป็นพลังของแผ่นดิน ที่จะต่อสู้เพื่อเอาชนะปัญหายาเสพติด มัสยิดเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนและสังคม นอกจากเป็นสถานที่ในการปฏิบัติศาสนกิจและปลูกฝังคุณธรรมให้แก่เด็ก เยาวชนและประชาชนในพื้นที่แล้ว ยังมีบทบาทหน้าที่และภารกิจอีกหลายด้าน รวมทั้งการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ซึ่งเป็นภารกิจที่ทุกภาคส่วนต้องดำเนินการร่วมกัน และในสภาพปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของยาเสพติด มาในรูปแบบและวิธีต่างๆมากมาย เข้าไปสู่เด็กและเยาวชนในสถานศึกษา ต่างๆมากยิ่งขึ้น ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจุฬาภรณ์พัฒนา ๑๒ จึงมีความจำเป็นที่จะหาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดไม่ให้เกิดขึ้นในหมู่บ้าน เพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเยาวชนไทย ส่งเสริมกิจกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม จึงได้จัดทำโครงการเยาวชนบ้านจุฬาภรณ์ลีนานนท์มีภูมิต้าน ห่างไกลยาเสพติด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็ก เยาวชน มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษของยาเสพติด

ร้อยละ 80 กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษของยาเสพติด

30.00 32.00
2 เพื่อให้เด็ก เยาวชนได้รับรู้สถารการณ์ยาเสพติดภายในชุมชนของตนเองและสังคมภายนอกและสามารถปฏิบัติตนให้ห่างไกลยาเสพติดได้

ร้อยละ 80 กลุ่มเป้าหมายได้รับรู้สถารการณ์ยาเสพติดภายในชุมชนของตนเองและสังคมภายนอกและสามารถปฏิบัติตนให้ห่างไกลยาเสพติดได้

30.00 32.00
3 เพื่อให้เด็กและเยาวชน ร่วมกันป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

ร้อยละ 80 กลุ่มเป้าหมายสามารถร่วมกันป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

30.00 32.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 30
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมให้ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดและการทำกิจกรรมกลุ่มเพื่อละลายพฤติกรรม

ชื่อกิจกรรม
ประชุมให้ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดและการทำกิจกรรมกลุ่มเพื่อละลายพฤติกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมให้ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดและการทำกิจกรรมกลุ่มเพื่อละลายพฤติกรรม จำนวน 3 วัน วันที่ 18/05/64 ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม ให้ความรู้เกี่ยวกับโทษของยาเสพติด วันที่ 19/05/64 ให้ความรู้ทักษะการปฏิเสธการเสพยาและกิจกรรมกลุ่มเพื่อละลาย

กิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับ ๑.ค่าป้ายไวนิล ๑ ผืน ขนาด ๑.๒ x ๒.๔ เมตร ราคา ๗๒๐ บาท ๒.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ๒๕ บาท x ๒มื้อx ๓๐ คน x ๒ วันราคา ๓,๐๐๐บาท ๓.ค่าอาหารเที่ยง ๕๐ บาท x ๑ มื้อ x ๓๐ คน x ๒ วัน ราคา ๓,๐๐๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
18 พฤษภาคม 2564 ถึง 19 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกัยยาเสพติด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6720.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 6,720.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เด็ก เยาวชน มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษของยาเสพติดอย่างเหมาะสม
2.ลดปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติด และสามารถปฏิบัติตนให้ห่างไกลยาเสพติดได้
3.สร้างเครือข่ายความร่วมมือในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ทั้งในโรงเรียนและชุมชน


>